อุยกูร์ : จีนทดลองซอฟต์แวร์เอไอตรวจจับอารมณ์ชนกลุ่มน้อยมุสลิม

Loading

  “รัฐบาลจีนใช้ชาวอุยกูร์เป็นตัวทดลองในการทดลองต่าง ๆ ราวกับหนูที่ใช้ในห้องแล็บ” นี่คือความเห็นของวิศวกรซอฟต์แวร์คนหนึ่งที่ให้สัมภาษณ์ในรายการพาโนรามา (Panorama) ของบีบีซีภายใต้เงื่อนไขว่าจะไม่เปิดเผยตัวตนของเขา โดยระบุว่าทางการจีนได้ทำการทดลองระบบกล้องที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ และเทคโนโลยีจดจำใบหน้าเพื่อตรวจจับอารมณ์ของผู้คนกับชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมอุยกูร์ ในเขตปกครองตนเองซินเจียง วิศวกรรายนี้เปิดเผยว่า มีการติดตั้งระบบดังกล่าวตามสถานีตำรวจในเขตปกครองตนเองซินเจียง ซึ่งมีชาวอุยกูร์อาศัยอยู่ราว 12 ล้านคน และพวกเขามักตกอยู่ภายใต้การสอดส่องอย่างใกล้ชิดจากทางการ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของ “ศูนย์ปรับทัศนคติ” ที่องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่าเป็นสถานกักกันที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงและมีชาวอุยกูร์ถูกคุมขังอยู่กว่า 1 ล้านคน รัฐบาลจีนยืนกรานมาตลอดว่าการสอดส่องเป็นเรื่องจำเป็นในภูมิภาคนี้ เพราะกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ต้องการก่อตั้งรัฐของตนเองได้สังหารประชาชนไปหลายร้อยคนในเหตุก่อการร้าย     กล้องตรวจจับอารมณ์ วิศวกรซอฟต์แวร์ที่ให้ข้อมูลกับบีบีซี ระบุว่าไม่ต้องการเปิดเผยชื่อและบริษัทที่ทำงานอยู่ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม เขาได้โชว์รูปถ่าย 5 รูปของผู้ถูกคุมขังชาวอุยกูร์ ซึ่งเขาอ้างว่าได้ทดสอบระบบกล้องตรวจจับและจดจำอารมณ์กับคนกลุ่มนี้ วิศวกรรายนี้เล่าว่าเขาได้ติดตั้งกล้องชนิดนี้ที่สถานีตำรวจในเขตปกครองตนเองซินเจียง “เราตั้งกล้องตรวจจับอารมณ์ห่างจากผู้ถูกทดลอง 3 เมตร มันคล้ายกับเครื่องจับเท็จแต่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่ามาก” เขาเล่าว่าเจ้าหน้าที่ใช้ “เก้าอี้หน่วงเหนี่ยว” ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายตามสถานีตำรวจทั่วประเทศจีน “ข้อมือคุณจะถูกล็อกอยู่กับที่ด้วยเครื่องยึดที่เป็นโลหะ เช่นเดียวกับที่ข้อเท้าของคุณ”       วิศวกรผู้นี้ยังแสดงหลักฐานการฝึกฝนให้เอไอตรวจจับและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสีหน้าและรูขุมขนที่เกิดขึ้นภายในเสี้ยวนาที เขาอธิบายการทำงานของระบบว่า ซอฟต์แวร์จะนำข้อมูลที่ได้มาประมวลแล้วสร้างเป็นแผนภูมิวงกลม เพื่อบ่งชี้ถึงอารมณ์ของผู้ถูกทดสอบ โดยส่วนสีแดงสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกเชิงลบหรือความวิตกกังวล เขาระบุว่า ซอฟต์แวร์มีเป้าหมายในการ…

Deepfake แบบใหม่ ใช้ AI ขยับปากตามเสียงพากย์ได้แล้ว

Loading

  Flawless บริษัทสตาร์ตอัปที่พัฒนาด้าน AI ได้พัฒนาเทคโนโลยี Deepfake แบบใหม่ ที่สามารถปรับภาพปากของนักแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวูดต้นฉบับ สามารถขยับตามปากตามเสียงที่ถูกพากย์ทับในภาษาอื่น ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงภาพยนตร์ได้มากขึ้น โดยปกติแล้ว เทคโนโลยี Deepfake จะถูกนำมาใช้ในการนำใบหน้าของบุคคลอื่นมาซ้อนทับกับใบหน้าของนักแสดงในภาพยนตร์ได้อย่างแนบเนียน แต่ Flawless ได้เน้นการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้เฉพาะกับองค์ประกอบของปากเท่านั้น โดยการนำเอาภาพยนตร์หรือซีรีส์ที่ถูกพากย์เสียงทับใหม่สำหรับฉายในต่างประเทศ มาผสานการทำงานเข้ากับซอฟต์แวร์ของ Flawess ซึ่งโมเดล AI ของ Flawless จะสร้างภาพการเคลื่อนไหวของริมฝีปากขึ้นมาให้ตรงกับภาษาที่พากย์ทับเข้ามา และวางภาพริมฝีปากใหม่นี้ลงบนใบหน้าของนักแสดงในภาพยนตร์นั้น ๆ ได้อย่างสมจริง     Nick Lynes ผู้ร่วมก่อตั้ง Flawless ได้กล่าวกับเว็บไซต์ TheVerge ว่า “บางครั้งในการชมภาพยนตร์ที่ถูกพากย์เสียงทับมาใหม่ ก็จะสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวของปากที่ไม่ตรงกับเสียงพากย์ ซึ่งทำให้ผู้ชมลดทอนการแสดงของนักแสดงคนนั้น ๆ ลงไปด้วย ระบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่นี้จะเข้ามาช่วยให้ผู้ชมยังคงเห็นการแสดงของนักแสดงจากภาพยนตร์ต้นฉบับไปพร้อมกับเสียงพากย์ใหม่ได้อย่างลงตัว” แม้ว่าผลลัพธ์จะยังไม่ถือได้ว่ามีประสิทธิภาพเต็ม 100% แต่ก็ได้ผลที่น่าประทับใจ โดยเห็นได้จากตัวอย่างที่เป็นฉากหนึ่งจากภาพยนตร์คลาสสิกอย่าง A Few Good Men เมื่อปี 1992…

ธนาคารสหรัฐฯ ใช้ปัญญาประดิษฐ์ จับตาลูกค้าและพนักงาน

Loading

  ธนาคารอเมริกันหลายๆ แห่งเริ่มใช้ซอฟต์แวร์เฝ้าระวังและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิชั่นเพื่อคอยจับตาดูผู้คนที่มาใช้บริการของตน คอมพิวเตอร์ วิชั่นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำความเข้าใจกับโลกที่เรามองเห็น จากการตรวจสอบของสำนักข่าวรอยเตอร์พบว่าซอฟต์แวร์ดังกล่าวนี้ถูกใช้เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับลูกค้า เพื่อเฝ้าดูพนักงาน และเพื่อตรวจดูผู้คนที่นอนหลับอยู่ใกล้ๆ เครื่องถอนเงินอัตโนมัติหรือตู้ ATM ธนาคารต่างๆ เช่น City National Bank of Florida และ JPMorgan Chase & Co ได้ทดลองใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าและปัญญาประดิษฐ์ (AI) แล้ว การเติบโตของเครื่องมือ AI ในอุตสาหกรรมการธนาคารอาจส่งสัญญาณการแพร่กระจายของเทคโนโลยีนี้ไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย Bobby Dominguez หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัยข้อมูลของธนาคาร City National Bank กล่าวว่าการที่สามารถเปิดใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนด้วยเทคโนโลยีจดจำใบหน้าได้นั้นก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีนี้ และว่าในเมื่อเราก็ใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้กับโทรศัพท์มือถืออยู่แล้ว เราก็น่าจะนำมาใช้ในโลกความจริงได้ Dominguez กล่าวต่อไปว่าธนาคาร City National จะเริ่มทดลองใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าในปีหน้าเพื่อระบุลูกค้าและพนักงาน โดยเขาได้เพิ่มซอฟต์แวร์ที่สามารถค้นหารายชื่อบุคคลควรระวังของรัฐบาลไว้ด้วย อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีจดจำใบหน้าได้สร้างความกังวลด้านสิทธิพลเมืองในหมู่คนจำนวนมาก โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการจับกุมผู้บริสุทธิ์ที่เทคโนโลยีนี้ได้ระบุตัวผิดๆ ซอฟต์แวร์ดังกล่าวถูกใช้อย่างไม่เป็นสัดส่วนในชุมชนที่ยากจนและเป็นชนกลุ่มน้อย นักวิจารณ์กล่าวอีกว่าเทคโนโลยีนี้ยังส่งผลให้สูญเสียความเป็นส่วนตัวอีกด้วย ในปีนี้ที่เมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน ห้ามไม่ให้ธุรกิจต่างๆ ใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าในที่สาธารณะ และ Rite…

จีนสร้างฐานข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฝึก “AI” รู้จักรุ่นเครื่องบิน ตรวจจับเรือรบ

Loading

  กลุ่มสื่อต่างประเทศ รายงาน (1 พ.ค.) สภาบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) เปิดเผยว่า “FAIR1M” ฐานข้อมูลภาพการสำรวจระยะไกลความละเอียดสูงชุดใหม่ มีขนาดใหญ่กว่าชุดข้อมูลที่คล้ายกันที่ใช้ในประเทศอื่น ๆ หลายสิบหรือหลายร้อยเท่า ศาสตราจารย์ฟู่ คุน Fu Kun นักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบันวิจัยข้อมูลการบินและอวกาศของสถาบันในปักกิ่งได้รับเงินทุนจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ในการใช้ดาวเทียมสังเกตการณ์ “Gaofen” สร้างฐานข้อมูลที่มีภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงมากกว่า 15,000 ภาพ โดยมีฉากประกอบข้อมูล 1 ล้านภาพ ซึ่งเทียบกับฐานข้อมูล VEDAI ของฝรั่งเศสซึ่งมีเพียงประมาณ 3,600 ภาพ ฐานข้อมูล FAIR1M มีข้อมูลโดยละเอียดของสถานที่มากกว่าล้านแห่งในประเทศจีน และสามารถรู้จักข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพ เช่น ลักษณะเครื่องบินแต่ละรุ่น และสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเรือรบกับเรือโดยสาร ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ทหารใช้ดาวเทียมสอดแนมเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวต่าง ๆ จนเมื่อในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การพัฒนาเทคโนโลยี AI อย่างรวดเร็ว ทำให้ภาคเอกชนสามารถนำข้อมูลดาวเทียมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เช่น การนับจำนวนรถบรรทุกสินค้าบนท้องถนนในเมือง หรือแม้แต่ในระดับประเทศ ก็สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานได้…

ครั้งแรกของโลก ยุโรปเสนอกฎกำกับดูแล AI สร้างขอบเขตการใช้งานให้ไม่กระทบสิทธิพลเมือง

Loading

  สหภาพยุโรป เสนอร่างข้อกำหนดควบคุมการใช้ AI โดยจะเป็นนโยบายแรกของโลกในการกำกับดูแลและกำหนดขอบเขตของบริษัทว่าสามารถใช้ AI ได้ถึงระดับไหน เนื่องจาก AI ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งการคุกคามความเป็นส่วนตัว และความโน้มเอียง   ตัวร่างข้อกำหนดความยาว 108 หน้า แบ่งความเสี่ยง AI เป็น 4 ขั้น ความเสี่ยงระดับที่ยอมรับไม่ได้ เช่น AI ที่รัฐบาลใช้กำหนดคะแนนความประพฤติของประชาชน เป็นต้น ซึ่งยุโรปจะแบนการใช้อัลกอริทึมพวกนี้ทั้งหมด ความเสี่ยงสูง เช่น AI ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายและการระบุตัวตนทางชีวภาพ ทางคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่า เทคโนโลยีในกลุ่มนี้ต้องอยู่ภายใต้การกำกับตั้งแต่ขั้นฝึกระบบเลย AI ที่มีความเสี่ยงจำกัด เช่น แชทบอท ตัวร่างระบุให้บริษัทเปิดเผยใช้ชัดว่าผู้ใช้กำลังคุยกับ AI เพื่อให้ผู้ใช้ตัดสินใจเองว่าอยากคุยต่อหรืออยากคุยกับคนมากกว่า AI ความเสี่ยงต่ำ เช่น ระบบกรองสแปม ในเอกสารไม่ได้ระบุวิธีการกำกับดูแล No Description วัตถุประสงค์ของร่างข้อกำหนดคือ ให้แน่ใจว่า AI ที่ใช้ในตลาดมีความปลอดภัย และเคารพหลักสิทธิขั้นพื้นฐาน และให้มีกฎหมายที่แน่นอน เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนพัฒนา AI…

นักวิทย์สหรัฐฯค้นพบวัสดุชีวสังเคราะห์ เชื่อมเอไอ กับสมองคน

Loading

นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯค้นพบวัสดุชีวสังเคราะห์สำหรับเคลือบส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถนำไปฝังในอวัยวะภายในของคนได้ เป็นการปูทางสู่เทคโนโลยีไซบอร์ก เชื่อมปัญญาประดิษฐ์เข้ากับสมองคนในอนาคต นักวิทยาศาสตร์ด้านวัสดุศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ ในสหรัฐฯ ค้นพบวัสดุเคลือบทำจาก “พอลิเมอร์ชีวสังเคราะห์” สำหรับใช้ในการเคลือบแผงวงจรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถฝังเข้าไปในอวัยวะภายในอย่างสมองของคนได้ โดยไม่เกิดรอยขีดข่วนและไม่รบกวนการส่งคลื่นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับร่างกายของคน ซึ่งนับเป็นการแก้ปัญหาสำหรับการฝังวัสดุอิเล็กทรอนิกส์อย่างทองคำ ซิลิคอน และโลหะ เข้ากับอวัยวะภายในของคนโดยไม่เกิดรอยแผลบนเนื้อเยื่อ เพื่อที่จะได้มีเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ากับมนุษย์ ในอนาคตมนุษย์จะสามารถใช้สมองสั่งการการทำงานของระบบเอไอได้ นายเดวิด มาร์ติน หัวหน้าทีมวิจัยเปิดเผยการค้นพบครั้งนี้ในการประชุมฤดูใบไม้ร่วง “เวอร์ชวล มีทติ้ง แอนด์ เอ็กซ์โป” ของสมาคมเคมีอเมริกัน โดยระบุว่า วัสดุเคลือบนี้ชื่อว่า “พอลิ(3,4-เอทิลีนไดออกซีไทโอฟีน)” (poly(3,4-ethylenedioxythiophene) หรือ PEDOT ซึ่งขั้นต่อไปจะมีการทดสอบการใช้งานอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์เคลือบวัสดุชีวเคมีที่ถูกฝังในสิ่งมีชีวิตต่อไป โดยบอกว่าที่ผ่านมามีหลายบริษัทใหญ่อย่าง “กลาโซ่ สมิธ ไคลน์” (Glaxo Smith Kline) และ “นิวรัลลิงค์” (Neuralink) ของนายอีลอน มัสก์ ที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีไซบอร์ก โดยเชื่อว่าการค้นพบครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ได้อย่างน่าทึ่ง. —————————————————— ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ / 20 สิงหาคม 2563 Link…