Apple สั่งบล็อก “Clearview AI” ฐานละเมิดกฎซอฟต์แวร์

Loading

เขียนโดย :   Talil เมื่อไม่กี่วันมานี้ Apple ได้มีการประกาศสั่งบล็อกแอปฯ ‘Clearview AI’ เทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพราะละเมิดกฎโปรแกรมซอฟต์แวร์ของบริษัท โดย Clearview AI ที่ให้บริการแอปฯ เฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย รวมถึงองค์กรบางรายเท่านั้น เช่น Macy’s, Walmart และ Wells Fargo ได้ใช้ใบรับรองระดับองค์กรทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ได้โดยไม่ผ่าน App Store โดยทำผิดกฎของ Apple ที่จำกัดให้ผู้ใช้เข้าถึงซอฟต์แวร์เฉพาะบุคคลภายในองค์กรที่กำหนดเท่านั้น ขณะที่ปกติแล้วเทคโนโลยีการจดจำใบหน้าขั้นสูงของ Clearview AI ผู้ใช้ iPhone ทั่วไปจะเข้าถึงไม่ได้ แต่ลองนึกภาพว่าเราเดินอยู่ในที่สาธารณะ และมีคนแปลกหน้าเดินสวนกับคุณ จนกระทั่งเขาหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาถ่ายรูปคุณ ก่อนจะอัพโหลดรูปนั้นลงในแอปฯ เพื่อให้แมตช์กับฐานข้อมูล จนสามารถพบข้อมูลของคุณบนสื่อโซเชียลมีเดีย พบแอคเคาท์  Facebook , instagram หรืออื่นๆ จากนั้นตามด้วยชื่อจริง ที่อยู่ ซึ่งหลังจากนั้นมันจะเป็นอย่างไรต่อ ? แน่นอนว่ามันคือหายนะ เพราะนั่นอาจหมายถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นตามมาในภายหลัง “เพื่อความปลอดภัย” หรือ “รุกล้ำความเป็นส่วนตัว” สำหรับ ‘Clearview AI’ เป็นเทคโนโลยีจดจำใบหน้าที่ถูกพัฒนาโดยบริษัทสตาร์ทอัพเล็กๆ ในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดย “ฮอน ทอน-แทต” หนุ่มหน้าตาดี อดีตนายแบบเชื้อสายเวียดนาม ซึ่งได้รับเงินทุนจากอภิมหาเศรษฐีคนหนึ่งในสหรัฐอเมริกา…

เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่

Loading

จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ทำให้เกิดเทคโนโลยีหนึ่ง ก็คือ การจดจำใบหน้า แม้ภาครัฐอ้างว่าจะใช้เพื่อป้องกันภัยจากการก่อการร้ายหรืออาชญากรรม แต่ประชาชนกลับมองว่านี้อาจลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของตัวเอง เพระาไม่สามารถตรวจสอบการเข้าถึงได้ รัฐนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันมาใช้ โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องและป้องกันภัยจากการก่อการร้ายและอาชญากรที่พัฒนาขึ้นทุกวัน แต่ประชาชนทั่วไปรู้สึกว่า สิทธิขั้นพื้นฐานของพวกเขากำลังถูกลิดรอน เพราะไม่สามารถตรวจสอบหน่วยงานรัฐได้ว่าเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวมากน้อยเพียงใด โปรแกรมหนึ่งที่กำลังถูกพูดถึงคือ โปรแกรมจดจำใบหน้า หรือ face-recognition technology ซึ่งหน่วยงานความมั่นคงนำมาใช้เพื่อช่วยให้สืบหาตัวคนร้ายได้รวดเร็วฉับไวมากยิ่งขึ้น ทางการของเกาะฮ่องกง นำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับกลุ่มผู้ประท้วง เพื่อหาทางจัดการทางกฎหมายกับผู้ประท้วงที่ฮ่องกง เริ่มมาตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคม 2562 ในช่วงแรกการชุมนุมเป็นไปอย่างสงบ ก่อนที่เหตุการณ์จะเริ่มรุนแรงในเวลาต่อมา หลายต่อหลายครั้งทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและตำรวจ ต้นตอเริ่มแรกของการประท้วงมาจากความไม่พอใจร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งผู้ชุมนุมมองว่า รัฐบาลจีน กำลังแทรกแซงสิทธิเสรีภาพของชาวฮ่องกง การประท้วงยืดเยื้อข้ามปี เพราะผู้ประท้วงต้องการเรียกร้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป โดยระบุว่ารัฐบาลฮ่องกงไม่ได้ทำตามคำมั่นสัญญาเกี่ยวกับสิทธิดังกล่าว นับตั้งแต่จีนได้เข้าปกครองฮ่องกงในปี 2540 ว่ากันว่า ตอนนี้ทั้งสองฝ่ายพยายามยั่วยุกัน โดยทางการฮ่องกงเชื่อว่า หากปล่อยให้มีการประท้วงต่อไปเรื่อยๆ ผู้ประท้วงเองจะเลิกราไปเอง ส่วนผู้ประท้วงก็พยายามยั่วยุ เพื่อให้ทางการหมดความอดทน ครั้งหนึ่งมีการเผยแพร่ภาพหนึ่งในโลกออนไลน์ที่เข้าใจว่า เป็นภาพของผู้ประท้วงชาวฮ่องกงคาดศีรษะด้วยอุปกรณ์ดิจิทัล ประกอบด้วยจอโปรเจ็คเตอร์ ซึ่งจะฉายเป็นภาพบุคคลอื่นบนใบหน้าของคนๆ นั้น เพื่อพรางตัวไม่ให้โปรแกรมจดจำใบหน้าจำได้ แต่ต่อมามีการเปิดเผยว่า ภาพดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่คิดค้นโดย จิง ไซ หลิว นักศึกษาของ Utrecht School of the Arts…

‘แบงก์-ตำรวจ-ธปท.’ ประเดิมเทรนด์เอไอตรวจจับใบหน้า

Loading

เนคเทคเปิดเวทีวิชาการตั้งโจทย์สงสัยหัวข้อ “เทคโนโลยีรู้จำใบหน้า ประเทศไทยพร้อมใช้แล้วจริงหรือ” ดึงนักการธนาคาร ธปท. นักกฎหมายและนักเทคโนโลยี ขึ้นเวทีแชร์ประสบการณ์ที่ได้ใช้เทคโนโลยีนี้ในการทำงาน เนคเทคเปิดเวทีวิชาการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเอไอ “ระบบรับรู้จำใบหน้า” มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการยืนยันตัวตน เพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจและสร้างมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัย ธปท.เปิดแซนด์บอกซ์การใช้ไบโอเมตทริกซ์ตรวจสิทธิหรือแสดงตน ด้านนักกฎหมายแนะเพิ่มความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล สร้างการยอมรับจากผู้ใช้งาน ระบบรับรู้จำใบหน้า (Face Recognition) เป็นเทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์สำหรับตรวจสอบและระบุตัวตนของบุคคล โดยเปรียบเทียบลักษณะใบหน้าจากฐานข้อมูลภาพใบหน้า ผ่านการวิเคราะห์และประมวลผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่ประยุกต์ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในทุกแวดวง เนื่องจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยืนยันตัวตน ทำให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกมากขึ้น สายการเงินใช้ยืนยันตัวตน การใช้งานของ “ระบบรับรู้จำใบหน้า” ในมุมมองของภาคธนาคารอย่าง ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Principal Visionary Architech บริษัท กสิกร แล็บส์ จำกัด ในเครือของธนาคารกสิกรไทย ที่ถูกสะท้อนออกมาในการสัมมนาภายใต้หัวข้อ “เทคโนโลยีรู้จำใบหน้า ประเทศไทยพร้อมใช้แล้วจริงหรือ” ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2562 เนคเทค กล่าวว่า เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการให้บริการลูกค้าในวงการธนาคาร ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เริ่มวิจัยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับเดโม่ในบริษัทผ่าน Face Pay ในการจ่ายเงินโดยใช้ใบหน้าของผู้มาใช้บริการแทนกระเป๋าสตางค์ ระบบจะรู้ได้ทันทีว่าบุคคลนั้นมีชื่อว่าอะไร และลิงค์กับบัญชีโดยอัตโนมัติ ถือเป็นกระบวนการที่ง่ายต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่โดยใช้เทคนิค ‘ดีพ เลินนิ่ง’ (Deep Learning)…