ครั้งแรกของโลก ยุโรปเสนอกฎกำกับดูแล AI สร้างขอบเขตการใช้งานให้ไม่กระทบสิทธิพลเมือง

Loading

  สหภาพยุโรป เสนอร่างข้อกำหนดควบคุมการใช้ AI โดยจะเป็นนโยบายแรกของโลกในการกำกับดูแลและกำหนดขอบเขตของบริษัทว่าสามารถใช้ AI ได้ถึงระดับไหน เนื่องจาก AI ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งการคุกคามความเป็นส่วนตัว และความโน้มเอียง   ตัวร่างข้อกำหนดความยาว 108 หน้า แบ่งความเสี่ยง AI เป็น 4 ขั้น ความเสี่ยงระดับที่ยอมรับไม่ได้ เช่น AI ที่รัฐบาลใช้กำหนดคะแนนความประพฤติของประชาชน เป็นต้น ซึ่งยุโรปจะแบนการใช้อัลกอริทึมพวกนี้ทั้งหมด ความเสี่ยงสูง เช่น AI ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายและการระบุตัวตนทางชีวภาพ ทางคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่า เทคโนโลยีในกลุ่มนี้ต้องอยู่ภายใต้การกำกับตั้งแต่ขั้นฝึกระบบเลย AI ที่มีความเสี่ยงจำกัด เช่น แชทบอท ตัวร่างระบุให้บริษัทเปิดเผยใช้ชัดว่าผู้ใช้กำลังคุยกับ AI เพื่อให้ผู้ใช้ตัดสินใจเองว่าอยากคุยต่อหรืออยากคุยกับคนมากกว่า AI ความเสี่ยงต่ำ เช่น ระบบกรองสแปม ในเอกสารไม่ได้ระบุวิธีการกำกับดูแล No Description วัตถุประสงค์ของร่างข้อกำหนดคือ ให้แน่ใจว่า AI ที่ใช้ในตลาดมีความปลอดภัย และเคารพหลักสิทธิขั้นพื้นฐาน และให้มีกฎหมายที่แน่นอน เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนพัฒนา AI…

นักวิทย์สหรัฐฯค้นพบวัสดุชีวสังเคราะห์ เชื่อมเอไอ กับสมองคน

Loading

นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯค้นพบวัสดุชีวสังเคราะห์สำหรับเคลือบส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถนำไปฝังในอวัยวะภายในของคนได้ เป็นการปูทางสู่เทคโนโลยีไซบอร์ก เชื่อมปัญญาประดิษฐ์เข้ากับสมองคนในอนาคต นักวิทยาศาสตร์ด้านวัสดุศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ ในสหรัฐฯ ค้นพบวัสดุเคลือบทำจาก “พอลิเมอร์ชีวสังเคราะห์” สำหรับใช้ในการเคลือบแผงวงจรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถฝังเข้าไปในอวัยวะภายในอย่างสมองของคนได้ โดยไม่เกิดรอยขีดข่วนและไม่รบกวนการส่งคลื่นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับร่างกายของคน ซึ่งนับเป็นการแก้ปัญหาสำหรับการฝังวัสดุอิเล็กทรอนิกส์อย่างทองคำ ซิลิคอน และโลหะ เข้ากับอวัยวะภายในของคนโดยไม่เกิดรอยแผลบนเนื้อเยื่อ เพื่อที่จะได้มีเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ากับมนุษย์ ในอนาคตมนุษย์จะสามารถใช้สมองสั่งการการทำงานของระบบเอไอได้ นายเดวิด มาร์ติน หัวหน้าทีมวิจัยเปิดเผยการค้นพบครั้งนี้ในการประชุมฤดูใบไม้ร่วง “เวอร์ชวล มีทติ้ง แอนด์ เอ็กซ์โป” ของสมาคมเคมีอเมริกัน โดยระบุว่า วัสดุเคลือบนี้ชื่อว่า “พอลิ(3,4-เอทิลีนไดออกซีไทโอฟีน)” (poly(3,4-ethylenedioxythiophene) หรือ PEDOT ซึ่งขั้นต่อไปจะมีการทดสอบการใช้งานอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์เคลือบวัสดุชีวเคมีที่ถูกฝังในสิ่งมีชีวิตต่อไป โดยบอกว่าที่ผ่านมามีหลายบริษัทใหญ่อย่าง “กลาโซ่ สมิธ ไคลน์” (Glaxo Smith Kline) และ “นิวรัลลิงค์” (Neuralink) ของนายอีลอน มัสก์ ที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีไซบอร์ก โดยเชื่อว่าการค้นพบครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ได้อย่างน่าทึ่ง. —————————————————— ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ / 20 สิงหาคม 2563 Link…

หน้ากากป้องกันโควิด-19 สร้างความท้าทายใหม่ให้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า

Loading

A software engineer tests a facial recognition program that identifies people when they wear a face mask at the development lab of the Chinese electronics manufacturer Hanwang Technology in Beijing as the country is hit by an outbreak of the novel coronav หน้ากากเป็นอุปกรณ์ป้องกันการระบาดของโควิด-19 ที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันการสวมใส่หน้ากาก กลับสร้างปัญหาชวนปวดหัวใหม่ ให้กับระบบจดจำใบหน้า หรือ facial recognition technology ผลการศึกษาล่าสุดของสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ ของสหรัฐฯ (National Institute…

บอสตันออกกฎห้ามหน่วยงานของเมืองและตำรวจใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า

Loading

บอสตัน เมืองหลวงของรัฐแมสซาชูเซตส์ในสหรัฐฯ ออกกฎห้ามหน่วยงานของเมืองใช้งานระบบจดจำใบหน้าอย่างเป็นทางการ จากมติการลงคะแนนเป็นเอกฉันท์โดยสมาชิกสภาเมืองทั้งหมด 13 คน ตามกฎหมายของเมืองบอสตันนี้ คือกำหนดห้ามหน่วยงานของเมืองรวมถึงตำรวจใช้ระบบรู้จำใบหน้า ซึ่งรวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้จากบุคคลที่สามด้วย โดยจะมีข้อยกเว้นเฉพาะกรณีเกี่ยวกับอาชญากรรมบางกรณีเท่านั้น Michelle Wu หนึ่งในสมาชิกสภาเมืองบอสตันระบุว่า บอสตันไม่ควรจะใช้เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการแบ่งแยก ซึ่งจะเป็นภัยคุกคามต่อความเป็นส่วนตัวและสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้อาศัยในเมือง ปัจจุบัน ระบบรู้จำใบหน้ายังมีปัญหาเรื่องความแม่นยำขึ้นกับสีผิวอยู่มาก โดยงานวิจัยเมื่อ 2 ปีที่แล้วของ MIT พบว่าโปรแกรมรู้จำใบหน้าที่พร้อมใช้งานกันในเชิงพาณิชย์มีปัญหาเรื่องการระบุผู้หญิงผิวดำไม่แม่นยำมากถึง 34.7% ————————————————- ที่มา : Blognone / 25 มิถุนายน 2563 Link : https://www.blognone.com/node/117125

การต่อต้านข้อมูลบิดเบือน (disinformation): ทางเลือกนโยบายที่เหลืออยู่

Loading

ที่มาภาพ: GLOBSEC Strategic Communication Programme https://counterdisinfo.org/ Written by Kim การรณรงค์ (หาเสียง) ด้วยข้อมูลบิดเบือน (disinformation) สร้างผลกระทบอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่การเปลี่ยนผลการเลือกตั้งไปจนถึงกระตุ้นการก่อความรุนแรง ภาครัฐและเอกชนรวมทั้งรัฐบาลสหรัฐฯและบริษัทสื่อสังคม (social media) เพิ่งเริ่มต้นใช้กลยุทธ์ต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือน ซึ่งนำไปสู่การตอบสนองทีละน้อย ทั้งนี้ การตอบสนองการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มาพร้อมกับ “infodemic”[1] จะต้องพิจารณาอย่างครอบคลุมรวมถึงการใช้กฎหมายใหม่และการคว่ำบาตรตลอดจนขยายทรัพยากรขององค์กร เพื่อจัดการความท้าทายของข้อมูลบิดเบือน อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไม่ใช่ยาครอบจักรวาล จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ประชาชนจะต้องเสริมสร้างทักษะความรู้ของตัวเองเกี่ยวกับดิจิตอลและสื่อด้วย[2]           การเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนถือเป็นภัยคุกคามเสถียรภาพและสันติภาพระหว่างประเทศ การรณรงค์อย่างซับซ้อนเพื่อสร้างอิทธิพลต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2016 ของรัสเซีย บ่งชี้ถึงการเป็นภัยคุกคามอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีสมคบคิดที่ถูกผลักดันทางออนไลน์ (โลกเสมือนจริง) สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ในโลกกายภาพ ล่าสุดที่ลอสแอนแจลิส วิศวกรรถไฟชื่อ Eduardo Moreno เจตนาทำให้รถไฟตกรางเพื่อขัดขวางความพยายามของรัฐบาลในการต่อสู้กับ COVID-19 โดย Moreno เชื่อว่า เรือโรงพยาบาล (the Mercy) ของกองทัพเรือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการยึดครองประเทศของรัฐบาล นอกเหนือจากการปรับใช้ทฤษฎีสมคบคิดและ deepfakes (วิดิโอดัดแปลงด้วยปัญญาประดิษฐ์) เพื่อจัดการความเชื่อของปัจเจกบุคคล บริษัทสื่อสังคมซึ่งเป็นสมรภูมิสำคัญของสงครามข้อมูลบิดเบือนได้ใช้วิธีไม่คงเส้นคงวาในการต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือนและ deepfakes โดย Twitter ดำเนินการเชิงรุกด้วยการห้ามโฆษณาทางการเมือง แต่ตัดสินใจติดธง (ไม่ลบ) deepfakes ทางการเมือง ในทางกลับกัน Facebook ประกาศว่าจะไม่ลบโฆษณาทางการเมืองที่ทราบว่าเป็นข้อมูลผิด ปัญหาเหล่านี้ทวีความรุนแรงเมื่อเกิดการระบาดของ COVID-19 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) เรียกว่า infodemic           รัฐบาลประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯมีนโยบายตอบโต้ข้อมูลบิดเบือนค่อนข้างช้า…

‘ไอบีเอ็ม’ ยุติพัฒนา-จำหน่ายเอไอ ‘จดจำใบหน้า’ ชี้แฝงอคติเหยียดสีผิว

Loading

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า “ไอบีเอ็ม” บริษัทผู้ผลิตและให้บริการคอมพิวเตอร์ระดับโลกประกาศยุติการจัดจำหน่ายและการพัฒนา “เทคโนโลยีจดจำใบหน้า” (facial recognition) ของบริษัท รวมถึงเรียกร้องรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาหยิบยกเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การอภิปรายอย่างเร่งด่วน เพื่อปฏิรูปกฎหมายควบคุมการใช้งานเทคโนโลยีนี้โดยเจ้าหน้าที่ ให้ปราศจากการเหยียดสีผิวและเป็นธรรมทางเชื้อชาติ โดยนายอาร์วินด์ คริชนา ซีอีโอของไอบีเอ็มได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐสภาสหรัฐระบุว่า บริษัทต้องการทำงานร่วมกับฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อหารือถึงแนวทางด้านกฎหมายในการสร้างความเป็นธรรมและความเหมาะสมในการใช้งานเทคโนโลยีจดจำใบหน้า รวมถึงการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม การตัดสินใจของไอบีเอ็มที่จะยุติธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีจดจำใบหน้าครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางการประท้วงที่ยังคงลุกลามบานปลายจากกรณีของนายจอร์จ ฟลอยด์ ชายชาวผิวสีที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่งผลให้ประเด็นเรื่องปฏิรูปองค์กรตำรวจของสหรัฐ และการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเชื้อชาติสีผิวกลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ ขณะที่ กระแสการวิพากษ์วิจารณ์ต่ออคติที่แฝงอยู่ในเทคโนโลยีจดจำใบหน้ามีมาโดยตลอด โดยข้อมูลงานวิจัยของ “จอย โบโอแลมวินี” นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ผู้ก่อตั้งสมาคมอัลกอริทึมมิกจัสติซ (Algorithmic Justice League) ระบุว่า เทคโนโลยีดังกล่าวของบางบริษัทแสดงให้เห็นถึงอคติทางเชื้อชาติสีผิวและอคติทางเพศอย่างชัดเจน ซึ่งคนบางกลุ่มเห็นว่า ไม่ควรจำหน่ายเทคโนโลยีนี้ให้กับหน่วยภาครัฐ เพื่อรักษาความปลอดภัยของความเป็นส่วนตัวและสิทธิพลเมือง จดหมายของนายคริชนาระบุว่า “ไอบีเอ็มคัดค้านและไม่ยินยอมให้มีการใช้เทคโนโลยีใด ๆ รวมถึงเทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพื่อการสอดแนมประชาชน การเหยียดเชื้อชาติ การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยม หลักการความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของเรา เราเชื่อว่าขณะนี้เป็นวาระแห่งชาติที่จะเริ่มอภิปรายในประเด็นว่า ควรใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าในหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหรือไม่และอย่างไร” นายคริชนาเข้ารับตำแหน่งซีอีโอของไอบีเอ็มในเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบคลาวด์เซอร์วิสของบิรษัทมากขึ้น แต่ก็ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากในสำนักงานด้วย โดยขณะนี้บริษัทมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ราว 135,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าธุรกิจเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจะไม่ใช่ธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับไอบีเอ็มมากนัก แต่การตัดสินใจครั้งนี้ก็สร้างความตื่นตัวในประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเชื้อชาติให้กับรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของไอบีเอ็ม “ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เป็นเครื่องมืออันทรงพลัง ที่สามารถช่วยให้ผู้บังคับใช้กฎหมายดำเนินการรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผู้จำหน่ายและผู้ใช้งานระบบเอไอมีความรับผิดชอบที่จะต้องดำเนินการทดสอบอคติที่แฝงอยู่ในระบบเอไอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประยุกต์ใช้กับการบังคับใช้กฎหมาย…