จีนห้ามใช้งานชิปของ ‘อินเทล’ และ ‘AMD’ สำหรับคอมพิวเตอร์ของรัฐ

Loading

รัฐบาลจีนประกาศแนวทางการปฏิบัติงานที่มีจุดประสงค์เพื่อหยุดการใช้ชิปประมวลผลความจำซึ่งผลิตโดยบริษัทอินเทล (Intel) และบริษัท AMD ของสหรัฐฯ ในคอมพิวเตอร์และระบบเซิร์ฟเวอร์ของรัฐ ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ ไฟแนนเชียล ไทมส์ ในวันอาทิตย์

รัฐบาลสหรัฐฯ ออกข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับการขายชิปเซตให้กับรัสเซียและจีน

Loading

  ผู้ผลิตชิปเซตชั้นนำของโลกทั้งอินวิเดียและเอเอ็มดี กล่าวถึงการจำกัดการขายชิปเซตที่มีความสลับซับซ้อนให้กับรัสเซียและจีน ซึ่งเป็นความพยายามครั้งล่าสุดของรัฐบาลสหรัฐฯ   ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ออกข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับการขายชิปเซตที่มีความสลับซับซ้อนทางเทคโนโลยีบางรุ่นให้กับรัสเซียและจีน   คำสั่งบริหารของปธน.ไบเดน ส่งผลให้ชิปเซตกราฟิกระดับไฮเอนด์ ที่ผลิตและจำหน่ายโดยเอเอ็มดี (AMD) และอินวิเดีย (Nvidia) จะไม่ถูกปล่อยไปยังคู่ขัดแย้งทางการเมืองของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยง่าย ผู้ขายจำเป็นต้องขอใบอนุญาตส่งออกสำหรับการขายชิปเซต ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ มีความตั้งใจที่จะให้ชิปเซตระดับสูงเหล่านี้ ไม่ถูกนำไปใช้ทางการทหารของประเทศรัสเซีย และจีน   ในอดีตผลิตภัณฑ์ในส่วนชิปเซตกราฟิกระดับไฮเอนด์ มักถูกนำไปใช้สำหรับการพัฒนาวิดีโอเกม เพื่อให้ภาพที่ได้มีความสมจริงมากที่สุด แต่ในช่วง 10 ปีหลังสุด ชิปเซตกราฟิกระดับสูงหลายรุ่น ได้ถูกนำไปใช้กับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ และการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์   ในเวลาเดียวกัน ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ในหลายประเทศก็ถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนาอาวุธทางการทหาร หรือในประเทศจีน ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้สอดส่องพลเมืองของตัวเอง ด้วยการระบุใบหน้าในภาพวิดีโอ เป็นต้น   ก่อนหน้านี้ อินวิเดีย มีลูกค้าจำนวนมากทั้งในประเทศจีน และรัสเซีย แต่จากการที่ รัสเซีย เข้าบุกรุกยูเครน จึงทำให้อินวิเดีย ไม่ได้ขายชิปเซตให้กับรัสเซียอีกแล้ว ซึ่งส่งผลให้อินวิเดียสูญเสียรายได้ราว 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสล่าสุด   ทางด้านเอเอ็มดี ยอมรับว่า…

แฮ็กเกอร์อ้างลอบขโมยข้อมูลจาก AMD ออกมาได้ถึง 450 GB

Loading

Credit: ShutterStock.com   มีเหตุการณ์กลุ่มแฮ็กเกอร์นามว่า RansomHouse ได้ออกประกาศว่าตนมีข้อมูลจาก AMD ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ในมือกว่า 450 GB พร้อมประกาศขายต่อ   เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากลุ่มคนร้าย RansomHouse ได้ประกาศขายข้อมูลบริษัทที่มีอักษรย่อ 3 ตัวขึ้นด้วยตัว ‘A’ ผ่านเทเลแกรม วานนี้กลุ่มดังกล่าวได้เผยชื่อเต็มๆว่าเป็น AMD โดยอ้างว่ามีข้อมูลขนาด 450 GB ซึ่งคนร้ายชี้ว่าพาร์ทเนอร์ของตนได้เข้าถึงระบบเครือข่ายของ AMD ได้เมื่อปีก่อนและข้อมูลถูกขโมยมาได้วันที่ 5 มกราคม 2022 และเป็นวันสุดท้ายที่เข้าถึง AMD ได้   RansomHouse ยังปฏิเสธว่าไม่ได้มีการใช้แรนซัมแวร์กับ AMD และไม่ประสงค์ที่จะติดต่อเรียกค่าไถ่ AMD เพราะคงช้าเอาไปขายต่อดีกว่า โดยคนร้ายอ้างว่าข้อมูลครอบคลุมถึงงานวิจัยและการเงิน แต่ก็ไม่ยอมแชร์หลักฐานใดๆเพิ่ม นอกจากไฟล์บางส่วนที่พิสูจน์ว่าเข้าถึง Windows Domain อย่างไฟล์ .CSV ที่รวบรวมอุปกรณ์กว่า 70,000 ตัวในเครือข่ายของ AMD ที่มีรายการ Credential ของ User…