สหรัฐฯถอนตัวยุโรปปั่นป่วน

Loading

  ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ / ทหารประชาธิปไตย แม้ว่าจุดร้อนแรงของสงครามจะอยู่ที่ตะวันออกกลาง เมื่ออิสราเอลเปิดฉากโจมตีกาซาครั้งใหญ่ แม้ในช่วงที่กำลังมีการเจรจาหยุดยิง โดยมีสหรัฐฯเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะมีผลทำให้การหยุดยิงต้องพังทลายลง และถ้าสหรัฐฯยังไม่สามารถหยุดยื้อเนทันยาฮู ในการก่อการร้ายได้ สงครามคงยืดเยื้อบานปลายไปสู่การโจมตีอิหร่าน โดยฝ่ายเนทันยาฮู จะพยายามชักจูงให้ทรัมป์เข้าร่วมปฏิบัติการ ทั้งๆที่อิหร่านมิได้เป็นภัยคุกคามสหรัฐฯเลย แต่เป็นภัยคุกคามอิสราเอลในประเด็นนี้จึงชี้ชัดได้ว่าสหรัฐฯมิได้ทำเพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯตามคำขวัญของทรัมป์ America First แต่กลายเป็น Israel First   ในอีกสมรภูมิขณะที่ทรัมป์มีแนวทางที่จะถอนตัวจากความขัดแย้งในยุโรป โดยเฉพาะต้องการยุติความขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย นับเป็นแนวทาง American First โดยแท้จริง   ทั้งนี้เพราะทรัมป์ตระหนักว่าสหรัฐฯ ไม่อาจเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งใน 3 สมรภูมิ คือ ยุโรป ตะวันออกกลาง และจีนได้ในคราวเดียวกัน ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ในทางยุทธศาสตร์พบว่า จีนคือภัยคุกคามอันดับหนึ่งของสหรัฐฯ ทั้งในแง่การทหาร เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ส่วนรัสเซียเป็นเพียงภัยคุกคามทางทหารในระยะสั้น จึงตัดสินใจถอนกำลังและการสนับสนุนทางการเงินและอาวุธ อันเป็นการถอนทางยุทธศาสตร์ เพื่อนำเอาสรรพกำลังไปเสริมสร้าง ความเข้มแข็งด้านสนามหลังบ้าน คือ ลาตินอเมริกา และอีกส่วน คือ การปิดล้อมจีนที่สหรัฐฯ ถือเป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่ง  …

ระบบกฎหมายระหว่างประเทศ เกราะป้องกันสงคราม

Loading

    ระบบกฎหมายระหว่างประเทศ เกราะป้องกันสงคราม – สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้คร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 11 ล้านชีวิต และสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพียง 20 ปี ได้สังหารชีวิตมนุษย์ไประหว่าง 45-65 ล้านคน แถมด้วยระเบิดนิวเคลียร์ขนาดเล็กอีก 2 ลูกที่ทิ้งลงที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบทเรียนให้โลกเรียนรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อสันดานของประเทศมหาอำนาจแบบดั้งเดิมบวกกับอาวุธที่ทำลายล้างมวลมนุษย์อย่างสูงอย่างอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งย่อมหมายความถึงความพินาศฉิบหายอย่างสุดที่จะจินตนาการได้     หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี ค.ศ.1945 โลกได้เรียนรู้บทเรียนราคาแพงว่าการขาดระบบกฎหมายระหว่างประเทศที่เข้มแข็งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความขัดแย้งที่คร่าชีวิตผู้คนนับสิบล้าน การก่อตั้งสหประชาชาติ (UN) และสนธิสัญญาสำคัญ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ (UN Charter) ได้วางรากฐานให้กับระบบกฎหมายระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายป้องกันสงครามและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ   ถึงแม้ว่าระบบนี้จะไม่สมบูรณ์แบบ และหลายครั้งถูกละเมิดโดยมหาอำนาจ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันสามารถรักษาสันติภาพระหว่างมหาอำนาจมาได้กว่า 80 ปีแล้ว โดยเฉพาะการป้องกันสงครามโลกครั้งที่ 3 ซึ่งหากเกิดขึ้นก็อาจเป็นจุดจบของอารยธรรมมนุษย์   ความเปราะบางของกฎหมายระหว่างประเทศในทางปฏิบัติจะมีลักษณะที่เปราะบาง เพราะไม่มี “ตำรวจโลก” คอยบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศโดยตรง การเคารพหรือไม่เคารพกฎหมายเหล่านี้ขึ้นอยู่กับเจตจำนงของรัฐและแรงกดดันจากประชาคมระหว่างประเทศ บ่อยครั้งที่มหาอำนาจเช่นสหรัฐอเมริกา…

อ่านความคิดสหรัฐอเมริกา The Return of Trump ชะตากรรมอาเซียนจะเป็นอย่างไร?

Loading

ท่าทีอันเกรี้ยวกราดของ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่แสดงต่อ โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน และสายตาชาวโลก เมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา ณ ทำเนียบขาว สะท้อนถึงจุดยืนและท่าทีของ “สหรัฐอเมริกา” ในภาคต่อของการดำรงตำแหน่งสมัยที่ 2 ได้เป็นอย่างดีภายใต้มหากาพย์ The Return of Trump

โฟกัสโลกรอบสัปดาห์ : America First? เมื่อทรัมป์มองกาซา เป็นริเวียร่าแห่งตะวันออกกลาง

Loading

ประธานาธิบดีทรัมป์ได้เสนอให้สหรัฐเป็นเจ้าของฉนวนกาซา และให้ชาวปาเลสไตน์ย้ายถิ่นฐานออกจากฉนวนกาซาอย่างถาวร เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ให้กลายเป็นริเวียร่าแห่งตะวันออกกลาง หลังฉนวนกาซาได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการทำสงครามระหว่างกลุ่มฮามาสและกองทัพอิสราเอลนาน 15 เดือน

จากคลองปานามาถึงกาซา ถอดรหัสนโยบายทรัมป์และนัยต่อโลก

Loading

การกลับมาของ โดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงกระเพื่อมไปทุกมิติ ตั้งแต่ภูมิรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจ การค้าโลก ความมั่นคง เทคโนโลยี ไปจนถึงสิ่งแวดล้อมและมิติทางสังคม จากอ่าวเม็กซิโก (ที่เวลานี้เปลี่ยนชื่อเป็นอ่าวอเมริกา) สู่คลองปานามาในอเมริกาใต้ กรีนแลนด์ในอเมริกาเหนือและยุโรป ไปจนถึงฉนวนกาซาในตะวันออกกลาง

คุยการเมืองเรื่องทรัมป์ เทรดวอร์และระเบียบโลกใหม่ กับศ.ดร. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี

Loading

    “กรุงเทพธุรกิจ” ชวนพูดคุยกับ ศ. ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองระหว่างประเทศอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ถึงผลของการกลับมาของทรัมป์ที่มีต่อระเบียบโลกและประชาธิปไตยสหรัฐ   การกลับมาของ “โดนัลด์ ทรัมป์” ในฐานะว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐจากพรรครีพับลิกันสร้างทั้งความตระหนักและตระหนกให้กับประชาคมโลกโดยเฉพาะประเด็นนโยบาย America First ที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกครั้งใหญ่   ว่ากันว่าภายใต้การนำของทรัมป์ สหรัฐมีแนวโน้มที่จะถอยห่างจากบทบาทผู้นำโลกเสรีที่เคยดำรงมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยหันมาเน้นการเจรจาแบบทวิภาคีที่มุ่งผลประโยชน์ระยะสั้นมากกว่าการรักษาพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาว การถอนตัวจากข้อตกลงระหว่างประเทศสำคัญๆ อย่างความตกลงปารีสและองค์การอนามัยโลกในสมัยแรก สะท้อนให้เห็นถึงท่าทีที่เปลี่ยนไปของมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก   ขณะเดียวกัน การที่ทรัมป์มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำประเทศที่นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จำนวนหนึ่งมองว่ามิได้ยึดถือหลักการประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย จีน หรือเกาหลีเหนือ ก็ส่งสัญญาณว่าสหรัฐอาจไม่ได้ยึดมั่นในอุดมการณ์ดังกล่าวเหมือนในอดีต (?) การเมืองระหว่างประเทศกำลังเคลื่อนไปสู่ยุคที่ความสัมพันธ์ “ส่วนตัว” ระหว่างผู้นำมีความสำคัญมากกว่าค่านิยมร่วมหรือผลประโยชน์ระยะยาวของประเทศ   นอกจากนี้ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานะความเป็นประชาธิปไตยของสหรัฐเอง หลังจากที่ทรัมป์ปฏิเสธผลการเลือกตั้งในปี 2020 จนนำไปสู่เหตุการณ์จลาจลที่รัฐสภาในวันที่ 6 ม.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดของประชาธิปไตยอเมริกัน การแบ่งขั้วทางความคิดที่รุนแรงขึ้น ประกอบกับวิธีการหาเสียงที่เน้นการโจมตีคู่แข่งและการสร้างความเกลียดชัง ทั้งหมดล้วนส่งผลให้สถาบันจัดอันดับประชาธิปไตยระดับโลกจัดให้สหรัฐเป็นเพียง “ประชาธิปไตยที่บกพร่อง”   แม้ว่าทรัมป์จะยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่ทิศทางนโยบายต่างประเทศที่เขาวางไว้ก็มีความเป็นไปได้ว่าทั้งโลกกำลังจะเข้าสู่ยุคใหม่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะซับซ้อนและไม่แน่นอนมากขึ้น…