พบมัลแวร์ใหม่บน Android หลบเลี่ยงการตรวจจับจาก Antivirus ได้

Loading

    ใครที่ใช้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ตอนนี้ต้องระวังตัวให้ดี เพราะมีมัลแวร์ใหม่บน Android หลบเลี่ยงการตรวจจับจาก Antivirus ได้ โดยมันพุ่งเป้าที่ข้อมูลสำคัญๆ อย่างข้อมูลธนาคาร รวมถึงล็อกไฟล์เพื่อเรียกค่าไถ่ได้   ผู้เชี่ยวชาญจาก CloudSEK ได้ออกมาเตือนภัยคุกคามใหม่บนแอนดรอนด์ที่มีชื่อว่า Daam มันเป็นมัลแวร์ที่ออกแบบมาให้จู่โจมได้ทั้งสมาร์ทโฟนและพีซีที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows (แต่ส่วนใหญ่พบบนมือถือมากกว่า)   ความสามารถของมันคือ สามารถแอบบันทึกเสียงจากมือถือโดยที่เจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว แอบอ่านบันทึกการโทร ขโมยรายชื่อติดต่อ แม้แต่การใช้งานการโทรผ่านแอปอย่าง WhatsApp ก็ยังบันทึกได้ นั่นหมายความว่าถ้าเราเผยข้อมูลระหว่างคุยสาย เช่น ข้อมูลธนาคาร ก็อาจจะโดนขโมยข้อมูลได้อย่างง่ายดาย   มัลแวร์ตัวนี้แพร่กระจายมาจากการโหลดแอปจากเว็บภายนอกที่ไม่ใช่ Play Store ดังนั้น การป้องกันตัวเบื้องต้นก็คือ อย่าโหลดแอปจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ Play Store ต่อมาคือการอ่านรีวิวของคนที่โหลดไปก่อนหน้านี้ รวมถึงอัปเดตระบบความปลอดภัยให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเสมอ         ที่มา The Sun         —————————————————————————————————————————————— ที่มา…

McAfee พบมัลแวร์ขโมยข้อมูลที่ฝังตัวอยู่ในแอป Android ที่มียอดดาวน์โหลดรวมกันทะลุ 100 ครั้ง

Loading

    นักวิจัยไซเบอร์จาก McAfee พบฐานข้อมูลของมัลแวร์ที่ทางทีมงานเรียกว่า Goldoson แฝงอยู่ในแอปบน Android กว่า 60 แอป ยอดดาวน์โหลดรวมกันกว่า 100 ล้านครั้ง   แอปแฝง Goldoson สามารถพบได้ใน Play Store ของ Google และ OneStore ร้านคู่แข่งในเกาหลีใต้   McAfee เผยว่า Goldoson มีความสามารถในการขโมยข้อมูลในอุปกรณ์ที่ตัวมันไปติดตั้งอยู่ รวมถึงข้อมูลที่อยู่ในระบบไวไฟ และบลูทูธ ที่อุปกรณ์เหล่านี้เชื่อมต่ออยู่ด้วย   Goldoson ยังสามารถคลิกโฆษณาในพื้นหลัง โดยไม่จำเป็นต้องให้เจ้าของอุปกรณ์อนุญาตก่อน เป้าหมายหลักของมัลแวร์ชนิดนี้เป็นชาวเกาหลีใต้   สำหรับแอปที่มี Goldoson ซ่อนอยู่โดยที่ผู้พัฒนาไม่รู้แบ่งตามจำนวนยอดดาวน์โหลด ได้แก่ L.POINT with LPAY, Swipe Brick Breaker และ Money Manager Expense & Budget…

วิธีบล็อก Pop up และโฆษณาใน Chrome บนมือถือ Android

Loading

  วิธีบล็อก Pop up และโฆษณาใน Chrome บนมือถือ Android   โดยเว็บไซต์และแอปส่วนใหญ่พึ่งพาการโฆษณาเพื่อได้รายได้ แต่โฆษณาบางอย่างอาจสร้างความรำคาญหรือเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ Pop up โฆษณาที่ปรากฏบนแอปบ่อยครั้ง อาจทำให้ประสบการณ์การใช้งานบนโทรศัพท์ Android เสียไป โดยคุณสามารถตั้งค่าเพื่อป้องกันโฆษณาบนมือถือ Android ดังนี้   บล็อก Pop up และโฆษณาใน Chrome บนมือถือ Android   คุณสามารถตั้งค่านี้เพื่อบล็อก Pop up ยกเลิกการ redirect ไปยังเว็บอื่น และปิดโฆษณาบน Google Chrome โดยความจริงแล้ว คงทราบกันดีว่า Chrome มี Pop up ในตัวและตัวบล็อกโฆษณาเพื่อปิดใช้งานโฆษณาที่รบกวนได้ด้วย ลองทำตามขั้นตอนดังนี้   iT24Hrs   เข้าไปที่ …. เลือก การตั้งค่า เลือก…

วิธีตั้งค่าไม่รับข้อความจากคนที่ไม่ใช่เพื่อนบนไลน์ ป้องกันมิจฉาชีพและผู้ไม่หวังดี

Loading

  วิธีตั้งค่าไม่รับข้อความจากคนที่ไม่ใช่เพื่อนบนไลน์ หลายท่านอาจเห็นข้อความจากคนไม่รู้จักส่งเข้ามาใน LINE จนต้อง block หลายครั้ง บทความนี้เลยนำเสนอวิธีง่ายๆที่จะเห็นเฉพาะข้อความของเพื่อนที่รับแอดบน LINE เท่านั้น ลองทำตามได้เลยทั้งบน iOS และ Android   วิธีตั้งค่าไม่รับข้อความจากคนที่ไม่ใช่เพื่อนบนไลน์ ป้องกันมิจฉาชีพและผู้ไม่หวังดี   เปิดแอป LINE แตะที่ หน้าหลัก แล้วเลือกไอคอน ตั้งค่า   เลือก ความเป็นส่วนตัว จากนั้นแตะเปิดที่ ปฎิเสธการรับข้อความ   ผลที่ได้คือ คนที่ไม่ได้เป็นเพื่อนใน LINE จะไม่สามารถส่งข้อความมาหาเราได้ วิธีนี้ช่วยได้มากในการป้องกันจากกลุ่มไม่หวังดีหรือมิจฉาชีพที่หลอกลวงใน LINE     บทความโดย  ทีมข่าวไอที 24 ชั่วโมง อ้างอิง  LINE help       ———————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :         …

ผู้เชี่ยวชาญพบแอปแฝงมัลแวร์เข้ายึดเราเตอร์ Wi-Fi ที่จะพาทุกคนที่เชื่อมต่ออยู่ไปยังเว็บปลอม

Loading

  Kaspersky บริษัทด้านไซเบอร์พบแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ Android ที่แฝงมัลแวร์เข้าแฮกเราเตอร์ Wi-Fi ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของเหยื่อ   มัลแวร์ตัวนี้มีหลายชื่อ ตั้งแต่ Wroba.o, Agent.eq, Moqhao และ XLoader ที่เมื่อถูกดาวน์โหลดเข้าไปยังอุปกรณ์ของเหยื่อแล้วจะพยายามเชื่อมต่อไปยังเราเตอร์ Wi-Fi ที่อุปกรณ์นั้น ๆ เชื่อมต่ออยู่ โดยพยายามเดาชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของเราเตอร์ หากทำสำเร็จก็จะเปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์ DNS เป็นไปตัวที่แฮกเกอร์ควบคุมอยู่   ซึ่งจะทำให้เวลาที่ผู้ใช้ที่เชื่อมต่อกับเราเตอร์นั้นอยู่ (รวมถึงผู้ใช้ที่ไม่ได้มีมัลแวร์ตัวดังกล่าวอยู่ในอุปกรณ์ด้วย) พยายามเข้าชมเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม จะถูกพาไปยังหน้าเว็บไซต์ปลอมที่ดูคล้ายของจริงแทน   ตัวอย่างเช่น หากจุดเชื่อมต่อ Wi-Fi ในคาเฟ่แห่งหนึ่งถูกเข้าแฮกด้วยมัลแวร์ตัวนี้ ลูกค้าคาเฟ่ที่เชื่อมต่อกับ Wi-FI ตัวนี้อยู่และพยายามจะเชื่อมต่อไปยัง Facebook ก็จะถูกพาไปยังหน้าเพจ Facebook ปลอมที่จะหลอกเอาข้อมูลล็อกอินแทน   Kaspersky เชื่อมว่าผู้อยู่เบื้องหลังแอปนี้คือกลุ่มแฮกเกอร์ที่ชื่อว่า Roaming Mantis   อย่างไรก็ดี Kaspersky ไม่ได้ให้ชื่อแอปที่แฝงมัลแวร์ชนิดนี้ไว้ แต่เผยว่ามียอดดาวน์โหลดอย่างน้อย 46,000 ครั้งในญี่ปุ่น…