วิธีตรวจสอบมือถือ Android ถูกแฮกหรือไม่ พร้อมวิธีแก้ไขและป้องกันมือถือ Android ถูกแฮก

Loading

  วิธีตรวจสอบมือถือ Android ถูกแฮกหรือไม่ จะรู้ได้อย่างไรว่าถูกแฮก หากสมาร์ทโฟนของคุณทำงานผิดปกติ คุณสามารถใช้วิธีนี้ตรวจหามัลแวร์ แอปหลอกลวง และปัญหาอื่นๆ กับอุปกรณ์ของคุณ นอกจากนี้ มีแนวทางแก้ไขและป้องกันไม่ให้ถูกแฮกได้อีก   วิธีตรวจสอบมือถือ Android ถูกแฮกหรือไม่ ลองสังเกตดังนี้   1.แบตหมดไว มีบางแอปใช้พลังงานแบตมากเกินไป ผิดปกติ ให้เข้าไปที่ Settings > Battery > Battery usage แล้วดูว่ากราฟลดลงมากผิดปกติมั้ย และแอปไหนใช้พลังงานแบตมากที่สุด   อย่างไรก็ตามหากคุณติดตั้งแอปทั่วไปละก็ Google มีระบบรักษาความปลอดภัยในชื่อ Google Play Protect ใน Android เตือนคุณโดยอัตโนมัติถึงแอปที่ติดมัลแวร์ ในสถานการณ์สมมตินี้ คุณอาจมีคีย์ล็อกเกอร์หรือไวรัสซ่อนชื่อไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกพบ ดังนั้นก็น่ากังวลมาก คุณสามารถลองรีบูตโทรศัพท์ บังคับปิดแอปต้องสงสัย หรือถอนการติดตั้งแอปทั้งหมดหากเป็นไปได้   2.เจอแอปที่เราไม่ได้ดาวน์โหลดติดตั้งเอง แก้ได้ด้วยให้ทำการถอนแอปนั้นออกเฉพาะแอปที่น่าสงสัยจริงๆที่ไม่ใช่มาจากผู้ผลิตมือถือ มีแอปมากมายที่ติดตั้งมาล่วงหน้าโดยผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการโทรศัพท์ และไม่เป็นอันตราย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณใช้ความระมัดระวังเกี่ยวกับการลบแอปที่สงสัยออก   3.การใช้ข้อมูลเน็ตสูงผิดปกติ จากแอปแปลก…

นักวิจัยเผยว่าแอปบนมือถือจำนวนมากถูกแฮ็กเกอร์เข้าแทรกซึม

Loading

  HUMAN Security บริษัทด้านไซเบอร์พบว่าแอปพลิเคชันจำนวนเกือบ 90 แอปที่ให้เปิดให้บริการอยู่บนระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ถูกแฮ็กเกอร์เข้าควบคุมเพื่อแฝงโฆษณาปลอมเพื่อใช้ทำเงิน   ในจำนวนนี้มีถึง 80 แอปที่อยู่บน Android และอีก 9 แอปอยู่บน iOS ทั้งหมดนี้มียอดดาวน์โหลดรวมกันมากกว่า 13 ล้านครั้ง มีทั้งเกม แอปพักหน้าจอ หรือแม้แต่แอปกล้อง   HUMAN พบว่าแฮ็กเกอร์สามารถเข้าควบคุมแอปเหล่านี้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ส่วนตัวในหลายรูปแบบด้วยกัน ตั้งแต่การปลอมเป็นแอปอื่น การแฝงโฆษณาปลอมเพื่อหลอกทำเงินจากเจ้าของโฆษณา และการนำข้อมูลการกดปุ่มในแอปเพื่อไปหลอกระบบว่าเป็นการกดดูโฆษณาของผู้ใช้   HUMAN เรียกกระบวนวิธีการแฮ็กนี้ว่า Scylla ซึ่งมีความซับซ้อนอย่างมาก และเชื่อว่าเหล่าแฮ็กเกอร์ผู้อยู่เบื้องหลังน่าจะกำลังพัฒนากลวิธีให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น   ทั้งนี้ ทาง HUMAN ระบุว่ากำลังทำงานร่วมกับ Google และ Apple อย่างใกล้ชิดเพื่อจัดการลบแอปเหล่านี้ออกจากแพลตฟอร์มของแต่ละเจ้าต่อไป   อย่างไรก็ดี แม้จะมีการนำแอปเหล่านี้ออกจากแพลตฟอร์มไปแล้ว แต่ผู้ใช้งานที่ดาวน์โหลดแอปเข้าไปในอุปกรณ์ของตัวเองยังมีความเสี่ยงอยู่จนกว่าจะลบแอปออกจากเครื่องไป   ผู้ใช้สามารถเข้าไปตรวจสอบแอปที่มีความเสี่ยงได้ที่นี่     ที่มา…

2 แอปอันตราย จ้องดูดเงินคริปโต ซ่อนมัลแวร์ ลวงผู้ใช้แอนดรอยด์

Loading

  งานเข้ารัว ๆ Android เจอศึกหนัก พบอีก 2 แอปอันตราย เข้าข่ายกระจายมัลแวร์ SharkBot โทรจันที่มุ่งเป้าขโมยข้อมูลเข้าระบบของแอปสกุลเงินดิจิทัล คริปโตเคอเรนซี   ล่าสุดมีข้อมูลว่าผู้ใช้หลายพันคนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง ทันทีที่ Google ออกมาแนะนำให้ผู้ใช้ลบแอปที่ได้รับผลกระทบ ออกจากเครื่องทันที เพื่อป้องกันไม่ให้แฮกเกอร์เข้าถึงบัญชีของเหยื่อได้   SharkBot ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2018 แต่ล่าสุดกลับมาโผล่บน Google Play โดยซ่อนอยู่ในแอปที่ชื่อว่า “Mister Phone Cleaner” และ “Kylhavy Mobile Security” ที่ขายเรื่องป้องกันภัยจากไวรัส   แต่เมื่อใครก็ตามที่เผยติดตั้งแอปอันตราย 2 ตัวนี้ลงในเครื่อง แอปจะล่อลวงให้ดาวน์โหลดเวอร์ชันป้องกันมัลแวร์ปลอม ที่แฝงอันตรายตามมาด้วย   Google แนะนำให้ผู้ใช้แอนดรอยด์ลบแอปออกจากเครื่องทันที ตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ของ Fox-IT ผู้ค้นพบได้รายงานไว้   โดยพฤติกรรมของ Sharkbot จะทำให้สมาร์ทโฟนติดไวรัสเมื่อดาวน์โหลดลงเครื่อง และจ้องขโมยเงินจากบัญชีธนาคารออนไลน์ของผู้ใช้ Android และสร้างหน้าเข้าสู่ระบบปลอม เพื่อให้แฮกเกอร์ขโมยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านได้…

ลบด่วน แอปอันตราย ฝังมัลแวร์ จ้องเล่นงานมือถือ Android

Loading

  แอปที่เผลอลงไว้ อาจเป็นอันตรายแบบไม่รู้ตัว ใครใช้มือถือ Android ต้องระวัง เพราะถึงแม้จะดาวน์โหลดแอปจาก Google Play Store ที่ดูน่าเชื่อถือ แต่ก็ยังไม่รอดภัยไซเบอร์ ที่แฝงตัวมาในรูปแบบแอปพลิเคชั่น ล่อลวงให้โหลดลงเครื่อง   บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ Pradeo ออกมาระบุว่า พบมัลแวร์ Joker ที่ฝังอยู่ในแอปพลิเคชันที่เป็นอันตราย ถึง 4 ตัว ที่พบได้ใน Google Play Store หากเจอ แนะนำให้ลบทิ้งในทันที   1. แอปส่งข้อความ SMS อัจฉริยะ Smart SMS messages   2. แอปเครื่องวัดความดันโลหิต Blood Pressure Monitor   3. แอปโปรแกรมแปลภาษาด้วยเสียง Voice Languages Translator   4. แอปส่งSMS ข้อความด่วน Quick…

Google ปิดทาง ห้ามพัฒนาแอปบันทึกเสียงคุยโทรศัพท์

Loading

  Google ปรับนโยบายใหม่ ปิดทางห้ามพัฒนาแอปบันทึกเสียงคุยโทรศัพท์ ส่วนแอปที่ออกมาก่อนหน้านี้ อีกในไม่ช้าจะไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป   ทาง Android Police รายงานว่า นักพัฒนาแอป Call Record ACR ได้ทำการโพสต์ใน Reddit ถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายของ Play Store โดยในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมานั้นทาง Google ได้ประกาศว่าแอปบนระบบปฏิบัติการ Android นั้นจะถูกห้ามใช้งาน Accessibility API สำหรับช่วยให้ผู้พิการช่วยบันทึกเสียง พราะมันไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อให้อัดเสียงคุยโทรศัพท์   ทาง Google บอกว่าฟีเจอร์นี้ออกแบบมาสำหรับผู้พิการ แต่หลายคนกลับใช้งานผิดวัตถุประสงค์หลัก โดยกฎใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 พฤษภาคมนี้ ซึ่งจะตรงกับการจัดงาน developer conference วันแรก         นอกจากนั้นยังมีการประกาศเรื่องนี้ผ่าน webinar สำหรับนักพัฒนา โดยให้เหตุผลว่าการบันทึกเสียงนั้นเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล รวมถึงผิดกฎหมายในหลายประเทศ ส่วนแอปไหนที่ยังเปิดใช้งานอยู่จะต้องแจ้งและต้องได้รับความยินยอมก่อนบันทึกเสียงหรือใช้วิธีอื่นในการบันทึกเสียงแทน   ทาง Google ยังอนุญาตให้บันทึกเสียงผ่านแอป…

เตือนแอปอันตรายบน Android หลอกขโมยรหัสผ่าน Facebook

Loading

credit : Pradeo   ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยบนมือถือ Pradeo ได้ออกเตือนพบแอปพลิเคชันอันตรายบน Play Store ที่มีการดาวน์โหลดไปแล้วกว่าแสนครั้ง   แอปพลิเคชัน ‘Craftsart Cartoon Photo Tools’ โฆษณาตัวเองว่าใช้สำหรับแปลงรูปภาพให้เป็นการ์ตูน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ารูปภาพโปรไฟล์แบบนี้ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง แต่นักวิจัยจาก Pradeo พบว่าแอปกลับแฝงมาด้วยโทรจัน FaceStealer โดยที่คนร้ายอาศัยการแก้ไขแพ็กเกจและ inject โค้ดอันตรายไปยังแอปอื่นๆด้วย เพื่อให้รอดพ้นจากการตรวจตราของ Play Store   เมื่อติดตั้งแล้วแอปจะไม่ทำงานอะไรให้จนกว่าผู้ใช้จะผ่านหน้าล็อกอินของ Facebook หากเหยื่อหลงเชื่อคนร้ายก็จะได้ Credentials ของเราไปนั่นเองโดยการอัปโหลดไปยังเซิร์ฟเวอร์ควบคุม หากล็อกอินเสร็จแล้วแอปก็จะมีความสามารถเพียงแค่รับรูปผู้ใช้ส่งไปยัง URL ‘http://color.photofuneditor.com/’ ซึ่งแปลงภาพส่งกลับมาแสดงในแอปให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดหรือส่งให้เพื่อน ด้วยความที่ไม่ได้มีอะไรดีเลย รีวิวใน Play Store จึงมีแต่คนต่อว่า   จุดสังเกตของแอปมีหลายจุดคือโดยฟังก์ชันแล้วไม่จำเป็นต้องขอให้ล็อกอิน Facebook ก็ได้ แต่แอปกลับยืนกรานให้เป็นขั้นแรก ซึ่งเหยื่อหลายคนคงหลงเชื่อ อีกด้านคือคอมเม้นต์จากผู้ใช้ว่าห่วยมาก แถมข้อมูลนักพัฒนายังน่าสงสัยหลายส่วน สุดท้ายแล้ว Pradeo ได้แจ้งไปยัง Google…