อินโดนีเซียเตือนภัย “ภูเขาไฟอากุง” อาจระเบิดบนเกาะบาหลี

Loading

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียและประเทศใกล้เคียงมีคำเตือนไปยังสายการบินต่างๆ ที่จะเดินทางผ่านภูเขาไฟอากุง (Agung) บนเกาะบาหลี หลังจากภูเขาไฟแห่งนี้ปล่อยควันไฟและเถ้าถ่านสูงกว่า 6,000 เมตร ทางการอินโดฯ ได้เพิ่มระดับการเตือนภัยของภูเขาไฟอากุงเป็น “ระดับสีแดง” ซึ่งเป็นระดับสูงสุด แต่สนามบินนานาชาติของบาหลียังคงเปิดให้บริการตามปกติ อย่างไรก็ตาม สายการบินบางแห่ง รวมทั้ง AirAsia Garuda และ Virgin Australia ต่างประกาศยกเลิกเที่ยวบินที่เข้าและออกจากเกาะบาหลี ตั้งแต่วันอาทิตย์ โดยผู้โดยสารสามารถขอค่าตั๋วคืนได้ตามระเบียบข้อบังคับของแต่ละสายการบิน เกาะบาหลีคือแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอินโดนีเซีย แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมายังเกาะแห่งนี้เกือบ 5 ล้านคน แต่ธุรกิจต่างๆ เริ่มซบเซาตั้งแต่เดือนกันยายน เมื่อภูเขาไฟอากุงเริ่มการปะทุรอบใหม่ ———————————————————- ที่มา : VOA Thai / พฤศจิกายน 27, 2017 Link : https://www.voathai.com/a/indonesia-bali-volcano-tourism/4137323.html

‘Big Data’ หลอมรวมกับ ‘Big Brother’: ระบบให้คะแนนประชาชนโดยรัฐบาลจีน

Loading

     จากข่าวเรื่องที่ทางการจีนกำลังวางแผนระบบ ‘ให้คะแนน’ ประชาชนของตัวเอง ฟังดูเหมือนฝันร้ายจากนิยายวิทยาศาสตร์ดิสโทเปีย แต่ในยุคสมัยที่ข้อมูลของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตถูกเก็บอย่างกว้างขวางบวกกับรัฐบาลอำนาจนิยมที่มองประชาชนเป็น ‘เด็กๆ’ แบบจีนแล้ว ก็น่าประเมินว่าแผนการนี้จะสร้างหายนะต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวหรือแม้กระทั่งหายนะต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปหรือไม่      11 พ.ย. 2560 ทางการจีนมีแผนออกระบบที่เรียกว่า ‘ระบบเครดิตทางสังคม’ ภายในปี 2563 ซึ่งเป็นระบบการให้คะแนนประชาชนกว่า 1,300 ล้านคนในประเทศ      คะแนนดังกล่าวคือคะแนนที่จะระบุว่ารัฐบาลเชื่อถือประชาชนคนนั้นมากขนาดไหน มีการวัดคะแนนพวกนี้ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ในโลกออนไลน์ของแต่ละบุคคล นั่นหมายความว่าถ้าหาก         คุณซื้อของบางอย่างที่รัฐบาลไม่ชอบ หรือเล่นเกมมากเกินไปหน่อย รัฐบาลก็อาจจะหาเรื่องลดคะแนนคุณได้ ระบบการตรวจสอบเรื่องพวกนี้ง่ายขึ้นในยุคสมัย ‘บิ๊กเดตา’ ที่บรรษัทไอทีใหญ่ๆ มักจะเก็บข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ต่างๆ ของผู้คนบนโลกอินเทอร์เน็ตเพื่อหาเหตุทางการค้า แต่ในคราวนี้รัฐบาลจีนกำลังจะนำมาใช้กับการให้คะแนนตัวบุคคลซึ่งอาจจะส่งผลต่อชีวิตส่วนตัวของพวกเขา อย่างการพิจารณาเข้าเรียนที่ใด หรือการจะได้ทำงานที่ใดด้วย หรือแม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างจะมีคนยอมเป็นแฟนด้วยหรือไม่ถ้าหากพวกเขามีคะแนนเท่านี้      แผนการนี้มีระบุอยู่ในเอกสารของคณะรัฐมนตรีเผยแพร่ออกมาในปี 2557 ทางการจีนอ้างว่าพวกเขาต้องการสร้างวัฒนธรรมแห่ง ‘ความจริงใจ’ แต่หลายคนไม่มองเช่นนั้น    …

ม็อบปะทะตำรวจปราบจลาจลหน้าสถานทูตสหรัฐ ในกรุงมะนิลา ประท้วง “ทรัมป์” เยือนฟิลิปปินส์

Loading

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ชาวฟิลิปปินส์หลายร้อยคนรวมตัวกันบริเวณหน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ จะเดินทางถึงประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ในวันเดียวกัน และเป็นประเทศสุดท้ายของการทัวร์เอเชียของทรัมป์ รายงานระบุว่า กลุ่มผู้ประท้วงพากันถือป้าย “Dump Trump” และ “Down with U.S. Imperialism” เพื่อแสดงการต่อต้านจักรวรรดิของทรัมป์ และระบุว่าทรัมป์จะเดินทางมาฟิลิปปินส์เพื่อทำข้อตกลงที่ไม่มีความยุติธรรมต่อฟิลิปปินส์ และมีรายงานการปะทะกันกับเจ้าหน้าที่ปราบจลาจล จนเกิดความวุ่นวายขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องฉีดน้ำเพื่อสลายกลุ่มผู้ชุมนุม ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์จะเป็นประเทศสุดท้ายของการทัวร์เอเชียของประธานาธิบดีทรัมป์ หลังเสร็จสิ้นการเยือน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และเวียดนาม โดยมีรายงานว่า ทรัมป์จะพบหารือกับประธานาธิบดีโรดริโก ดูแตร์เต ของฟิลิปปินส์ ที่กรุงมะนิลา ซึ่งบรรดากลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างพยายามเรียกร้องให้ทรัมป์กดดันนายดูแตร์เต เกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน อันเกิดจากนโยบายกวาดล้างยาเสพติดของผู้นำฟิลิปปินส์ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วหลายพันคน แต่นายดูแตร์เตเชื่อว่า ทรัมป์จะไม่นำเรื่องดังกล่าวขึ้นมาพูดคุยกันระหว่างการเดินทางเยือนครั้งนี้ ————————————————- ที่มา : มติชนออนไลน์ / 12 พฤศจิกายน 2560…

โรงไฟฟ้าถ่านหินระเบิดในอินเดียตายสยองอย่างน้อย 16 ศพ บาดเจ็บนับร้อย

Loading

เอเอฟพี/รอยเตอร์ – เกิดเหตุระเบิดที่โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินแห่งหนึ่งของอินเดียในวันพุธ (1พ.ย.) เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 16 รายและบาดเจ็บราว 100 คน ขณะที่ตำรวจเตือนว่ายอดตายอาจพุ่งสูงกว่านี้ เนื่องจากหลายคนอาการสาหัส เหตุระเบิดเกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในรัฐอุตตรประเทศ ทางเหนือของอินเดีย ที่บริหารงานโดยเนชันแนล เทอร์มอล พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งมีรัฐเป็นเจ้าของ “มีผู้เสียชีวิต 10 รายและราว 40-50 คนบาดเจ็บสาหัส ยอดเสียชีวิตอาจสูงกว่านี้” จากการเปิดเผยของ อานันด์ คูมาร์ อธิบดีกรมตำรวจในลัคเนา เมืองเอกของรัฐอุตตรประเทศ อย่างไรก็ตามรอยเตอร์อ้างคำสัมภาษณ์ของนายอาวิน คูมาร์ ข้าราชการสูงสุดของรัฐที่ดูแลเรื่องการรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อย เผยว่า “มีผู้เสียชีวิตราว 16 คนและบาดเจ็บราว 90-100 คน สืบเนื่องจากเหตุระเบิด” ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าอะไรคือต้นตอของการระเบิด แต่ผู้ปฏิบัติงานของรัฐเผยว่ากำลังเร่งมือภารกิจกู้ภัย หลังเคราะห์ร้ายเกิดอุบัติเหตุในหม้อน้ำที่โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ส่วนรายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์เผยให้เห็นภาพรถฉุกเฉินหลายคันกำลังรุดไปยังสถานที่เกิดเหตุ โยคี อาทิตยนาถ มุขมนตรีรัฐอุตตรประเทศ แสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตและเสนอมอบเงินชดเชยรายละ 200,000 รูปี (ราว100,000บาท) อุบัติเหตุในสถานที่ทำงานเกิดขึ้นบ่อยครั้งในอินเดีย ขณะที่การไร้มาตรฐานด้านความปลอดภัยและไม่เคร่งครัดในการบังคับใช้กฎระเบียบต่างๆ มักนำมาซึ่งเหตุเสียชีวิตอันน่าสยดสยองของพวกคนงาน ขณะเดียวกันระบบจ่ายไฟฟ้าของอินเดีย ก็เกิดอุบัติเหตุซ้ำซาก…

เอกสารลับเผยสหรัฐฯ รู้เรื่องสังหารหมู่ที่อินโดนีเซีย แต่ปิดปากเงียบ

Loading

มีการเปิดเผยเอกสารลับ 39 ฉบับที่เก็บรักษาไว้โดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐฯ ซึ่งเอกสารทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ชี้ว่า รัฐบาลสหรัฐฯได้รับรู้และติดตามเหตุการณ์สังหารหมู่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์และฝ่ายซ้ายในอินโดนีเซียนับล้านคน เมื่อช่วงระหว่างปี 1965-1966 แต่เลือกที่จะเงียบเฉย ไม่ได้แสดงท่าทีอย่างใดต่อโศกนาฏกรรมดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการสังหารหมู่ครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งแห่งศตวรรษที่ 20 เอกสารลับที่ถูกเปิดเผยในครั้งนี้ รวมถึงโทรเลขและรายงานข่าวกรองทางการทูตหลายฉบับ จากสถานทูตสหรัฐฯในกรุงจาการ์ตาและสถานกงสุลสหรัฐฯในอินโดนีเซียในช่วงสงครามเย็น ระหว่างปี 1964-1968 โดยโครงการคลังเอกสารความมั่นคงของชาติแห่งมหาวิทยาลัย จอร์จ วอชิงตัน ในสหรัฐฯ เป็นผู้ผลักดันให้มีการเปิดเผยเอกสารดังกล่าวสู่สาธารณะ ฝรั่งเศสเผยเอกสารลับชี้เหตุประหาร “มาตา ฮารี” เมื่อ 100 ปีก่อน อินโดนีเซียยอมรับคำขอโทษจากออสเตรเลีย หลังไม่พอใจหลักสูตรฝึกทหาร เหตุสังหารหมู่ครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงสิ้นเดือนกันยายน ปี 1965 หลังมีผู้พยายามก่อรัฐประหารและได้สังหารนายพลในกองทัพอินโดนีเซียไป 6 ราย ความพยายามก่อรัฐประหารที่ล้มเหลวทำให้กองทัพลงมือกวาดล้างขบวนการฝ่ายซ้ายอย่างรุนแรง โดยมีกลุ่มองค์กรอิสลามที่ทรงอิทธิพลเข้าร่วมด้วย สถิติของทางการอินโดนีเซียระบุว่า มีผู้เสียชีวิตไปอย่างน้อย 500,000 คนในการกวาด รายงานทางโทรเลขฉบับหนึ่งจากเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯในจังหวัดชวาตะวันออก ลงวันที่ 28 ธันวาคม ปี 1965 ระบุว่ามีการนำตัวเหยื่อที่จะถูกสังหารออกจากเขตชุมชน เพื่อนำไปฆ่าแล้วฝังดินไว้ แทนที่จะนำไปทิ้งลงน้ำอย่างที่เคยทำมา รวมทั้งมีการนำตัวเหยื่อไปให้กลุ่มพลเรือนบางส่วนสังหารอีกด้วย เอกสารอีกฉบับหนึ่งที่เลขานุการเอกของสถานทูตสหรัฐฯในขณะนั้นรวบรวมไว้ ซึ่งลงวันที่ 17 ธันวาคม…