ออสซี่ผนึกอินโดนีเซีย ไฟเขียวกองทัพสองฝ่ายใช้พื้นที่ของอีกชาติได้

Loading

ออสซี่ผนึกอินโดนีเซีย ไฟเขียวกองทัพสองฝ่ายใช้พื้นที่ของอีกชาติได้
ออสซี่ผนึกอินโดนีเซีย – วันที่ 20 ส.ค. รอยเตอร์รายงานว่า ทางการออสเตรเลียและอินโดนีเซียบรรลุความร่วมมือด้านความมั่นคงระดับสนธิสัญญาที่จะส่งผลให้กองทัพของทั้งสองฝ่ายสามารถปฏิบัติภารกิจในดินแดนของอีกฝ่ายได้

ออสเตรเลียเตรียมออกกฎหมายจำกัดการแบ่งปันเทคโนโลยีกับต่างชาติ ยกเว้นชาติ AUKUS

Loading

ออสเตรเลียเตรียมออกกฎหมายที่เพิ่มการจำกัดการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีระหว่างเอกชนและมหาวิทยาลัยกับต่างชาติ ยกเว้นสมาชิก AUKUS ที่ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ร่างกฎหมายฉบับนี้กำหนด 3 ฐานความผิดทางอาญา โดยจำกัดการแบ่งปันเทคโนโลยีด้านการป้องกันประเทศไปยังบุคคลต่างชาติทั้งที่อยู่ภายในและนอกออสเตรเลีย

ฮือฮายิ่งกว่า 007! นักธุรกิจออสซี่ชื่อดังชวดประกันตัว หลังแอบขายความลับเทคโนโลยี AUKUS ให้สปายปักกิ่ง เพิ่งกลับเข้าประเทศหลังอาศัยในจีนนานหลายสิบปี

Loading

    เอเจนซีส์ – นักธุรกิจออสเตรเลียชื่อดังโดนศาลซิดนีย์ปฏิเสธประกันตัวหลังถูกจับคดีแอบขายข้อมูลลับเทคโนโลยี AUKUS ให้สายลับจีน โดนจับเมื่อวันศุกร์ (14 เม.ย.) พบรับซองเงินสดจากสปายสายลับชาวจีนเพื่อแลกเปลี่ยนกับรายงานเปิดเผยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแคนเบอร์ราและชาติพันธมิตร เพิ่งกลับเข้าแดนจิงโจ้ปีนี้หลังอาศัยในจีนนานหลายสิบปี อื้ออึงยิ่งกว่าเจมส์ บอนด์ 007 เจ้าตัวพบสายลับจีนที่รู้จักผ่านเว็บไซต์ LinkedIn ตามคาเฟ่และภัตตาคารที่ปลอดลูกค้านับครั้งไม่ถ้วนทั่วเมืองเซี่ยงไฮ้   CNN สื่อสหรัฐฯ รายงานวานนี้ (17 เม.ย.) ว่า อเล็กซานเดอร์ เซอร์โก (Alexander Csergo) นักธุรกิจออสเตรเลียโดนจับกุมในวันศุกร์ (14) ที่เพิ่งผ่านมา คดีแอบให้ข้อมูลลับเทคโนโลยี AUKUS กับสายลับจีน   โดยสื่อออสซี่ 9news รายงานเพิ่มเติมว่า ชายผู้นี้ที่เป็นนักธุรกิจและได้รับการศึกษาดีรับซองเงินสดเพื่อแลกเปลี่ยนกับรายงานเปิดเผยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียและชาติพันธมิตรต่าง ๆ ของออสเตรเลีย   เป็นที่น่าทึ่งเพราะพบว่าเขาอาศัยอยู่ในแดนมังกรมานานหลายสิบปี แต่เพิ่งกลับเข้าออสเตรเลียเมื่อต้นปีนี้พร้อมกับ “ลิสต์ของที่ต้องการ” เกี่ยวข้องกับความลับข่าวกรองออสเตรเลียที่เซอร์โกถูกคนติดต่อ 2 คนร้องขอ ศาลซิดนีย์ได้รู้ว่า เซอร์โกถูกต้องสงสัยมาตั้งแต่ปี 2021 ว่าเป็นสายลับให้กระทรวงความมั่นคงของจีน   คนทั้งสองนี้รู้จักในชื่อ…

เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ดีกว่าเรือดำน้ำธรรมดาอย่างไร และใครมีเรือดำน้ำนิวเคลียร์บ้าง

Loading

  เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดมีกลุ่มพันธมิตรที่สำคัญเรียกว่า AUKUS ซึ่งเป็นสนธิสัญญาความมั่นคงอินโด-แปซิฟิกฉบับใหม่ เพื่อจัดตั้ง “พันธมิตรไตรภาคีด้านความมั่นคง” ระหว่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย   พูดกันง่ายๆ คือการรวมกลุ่มกัน 3 ประเทศ เพื่อต่อต้านสาธารณรัฐประชาชนจีนที่อ้างสิทธิเอาทะเลจีนใต้แทบทั้งทะเลเป็นของจีนนั่นเอง เพราะอังกฤษและสหรัฐอเมริกาสัญญาจะช่วยออสเตรเลียสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่ทางออสเตรเลียแสดงความตั้งใจที่จะสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ถึง 8 ลำ โดยจะสร้างที่เมืองแอดิเลดของออสเตรเลียนั่นเอง   จากการที่มีข้อตกลงที่อังกฤษและสหรัฐอเมริกาสัญญาว่าช่วยออสเตรเลียสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์นี่เอง ทำให้ออสเตรเลียแจ้งไปยังทางฝรั่งเศสเพื่อยกเลิกสัญญาที่ออสเตรเลียจ้างให้ฝรั่งเศสสร้างเรือดำน้ำธรรมดาจำนวน 12 ลำ เป็นเงินกว่า 56,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย   ทั้งๆ ที่ออสเตรเลียว่าจ้างฝรั่งเศสให้สร้างเรือดำน้ำดีเซล 12 ลำ ให้กองทัพเรือออสเตรเลียเพื่อทดแทนเรือดำน้ำฝูงปัจจุบันที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลที่จะถึงกำหนดปลดระวางใน พ.ศ.2569 โดยที่ฝรั่งเศสชนะการประมูลเหนือเยอรมนีและญี่ปุ่นสำหรับโครงการสร้างเรือดำน้ำดีเซล 12 ลำ ใน พ.ศ.2559   แต่ออสเตรเลียก็เบี้ยวเอาดื้อๆ แต่ในที่สุดก็คงถูกปรับหลายเงินอยู่ แต่ผู้เสียหายหนักก็คือฝรั่งเศสนั่นเอง เพราะถูกออสเตรเลียเทเสียกลางคันหากหยุดสร้างก็เสียดายเงินทุนที่ลงไปแล้ว หากสร้างต่อไปก็ไม่เป็นประโยชน์นอกจากจะเกลี้ยกล่อมขายต่อให้ประเทศไทยได้บ้างเท่านั้น   เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์นั้นไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงเลยตลอดอายุการทำงาน 25 ปี ของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์สามารถดำน้ำอยู่ที่ระดับความลึกได้ยาวนานเป็นเดือนโดยไม่ต้องขึ้นสู่ผิวน้ำ ภายในเรือยังมีอุปกรณ์การสร้างออกซิเจนจากน้ำทะเล และมีพื้นที่กว้างขวางสำหรับการเก็บเสบียงอาหาร และน้ำจืด  …

ความหมายของ AUKUS

Loading

  ก่อนจะเขียนอื่นใดทั้งหมดต่อไป ขอส่งกำลังใจให้ฝรั่งเศสในวาระที่ได้ประจักษ์ความหมายในการเป็นพันธมิตรกับประเทศเจ้ามหาอำนาจและประเทศลูกคู่ที่พูดภาษาอังกฤษเออออกันด้วยความเข้าอกเข้าใจ แม้พวกเขาจะพูดกันเป็นคนละสำเนียง และอยู่ห่างไกลกันคนละฟากสมุทร การประจักษ์แบบนี้จะทำให้ฝรั่งเศสและสหภาพยุโรปคิดอ่านกันอย่างไรต่อไปเกี่ยวกับการจัดการความมั่นคงและการจัดการอุตสาหกรรมภาคความมั่นคงของยุโรปภายหลัง Brexit และ AUKUS ก็น่าคิดและน่าติดตามอยู่มาก   การถอดความหมายของ AUKUS –ความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงระหว่างพันธมิตร 3 ฝ่ายใหม่ล่าสุดระหว่างออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา— ทำได้หลายทาง ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีท่านผู้รู้และชำนาญการให้ความเห็นไว้มากแล้ว ในที่นี้เลยจะขอหลบมาให้ความหมายแนวครูพักลักจำจากปรมาจารย์สายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (IR) ที่รุ่นเก่ารุ่นใหม่ชุมนุมคับคั่งอยู่ในสหรัฐฯ และอังกฤษมากหน้าหลายตา   เมื่อเป็นการเขียนแบบครูพักลักจำ ส่วนแสดงทฤษฎีจะมีน้อย จะหนักไปในส่วนเสนอทิฐิแทน ซึ่งบางทีก็เป็นทิฐิมานะ ท่านที่ไม่คุ้นภาษาพระ ทิฐิมานะคือการยึดมั่นในสถานะของตัวว่าอยู่เหนือคนอื่น ยึดมั่นในความคิดเห็นของตัวว่าถูกต้องกว่าของใครหมด แต่จะเป็นมิจฉาหรือสัมมาแบบไหน หรือเป็นทิฐิมานะของใคร ภาษาการทูตท่านให้รักษาความแนบเนียนไม่กล่าวโทษหรือก้าวล่วงใครออกมาชัดแจ้ง ส่วนการปาดหน้าเค้กหรือหยิบชิ้นปลามันที่พวกเดียวกันถือไว้ไปต่อหน้าต่อตาโดยไม่เจรจากับเขาดี ๆ อันนี้ต้องไปถามจากผู้เป็นเจ้ามหาอำนาจและบริวารว่ากลายเป็นแบบแผนพึงประพฤติมาแต่เมื่อใด   ท่านแต่ก่อนมาจนถึงรุ่น Susan Strange ปรมาจารย์ IR ฝั่งอังกฤษสายเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศสอนว่า วิธีการตามหาความหมายของเรื่องใดก็ตาม อย่างง่ายที่สุดและควรทำก่อนอื่นใดถ้าหากทำได้ คือถามหาว่า ใครได้ประโยชน์? / cui bono? และการตามหาว่าใครได้ประโยชน์ชัดเจนที่สุดก็คือ การตามจากเงิน พอเห็นการโยกย้ายถ่ายเทของเงินจากไหนไปไหนโดยผลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น…

สหรัฐฯ พร้อมเปิดรับชาติยุโรปเสริมความมั่นคงในอินโด-แปซิฟิก

Loading

  นานาชาติจับตาความร่วมมือทางการทหารครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย โดยทั้งสองชาติ ประกาศจะมอบเทคโนโลยีเรือดำน้ำนิวเคลียร์ให้ ส่งผลให้ออสเตรเลียต้องฉีกสัญญาสร้างเรือดำน้ำที่ทำไว้ร่วมกับฝรั่งเศสสิ่งที่เกิดขึ้นสร้างความไม่พอใจให้ฝรั่งเศส และล่าสุดสหรัฐฯ เผยยังคงเปิดรับทุกโอกาสที่จะสร้างความมั่นคงในอินโด-แปซิฟิกร่วมกับชาติยุโรป ภาพการแถลงข่าวของสามผู้นำประเทศ ได้แก่ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ, บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร และสกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ประกาศความร่วมมือที่จะสร้างความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ในโครงการที่ชื่อว่า ออคัส ซึ่งทั้งสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรจะแบ่งปันเทคโนโลยีมากมาย ตั้งแต่ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีควอนตัม และระบบการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ รวมถึงเทคโนโลยีทางการทหารขั้นสูงที่สุด นั่นคือ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์     หลังการประกาศความร่วมมือทางการทหารระหว่างสหรัฐฯ สหราชอาณาจักรและออสเตรเลียออกมามีหลายประเทศไม่พอใจ เช่น จีน ซึ่งก็เข้าใจได้ แต่ที่น่าสนใจคือ มีพันธมิตรหลักของสหรัฐฯ อย่างฝรั่งเศสออกมาแสดงความหงุดหงิดด้วย ฟลอเรนส์ พาร์ลีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสเปิดแถลงข่าวทันที ระบุว่า เหมือนถูกแทงข้างหลัง เหตุใดฝรั่งเศสจึงไม่พอใจ เพราะก่อนหน้านี้ คื อเมื่อปี 2016 ออสเตรเลียตกลงและทำสัญญากับฝรั่งเศสไว้แล้ว ว่าจะให้ฝรั่งเศสสร้างเรือดำน้ำให้ 12…