งานเข้า แฮ็กเกอร์จีน เจาะ ISP สหรัฐ เข้าถึงระบบ ดักฟังข้อมูล

Loading

มีรายงานว่าแฮ็กเกอร์จีนได้เจาะระบบผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) รายใหญ่ 3 รายในสหรัฐฯ คือ AT&T, Lumen และ Verizon โดยสามารถเข้าถึงระบบดักฟังข้อมูลที่สร้างไว้เพื่อหน่วยงานรัฐใช้ในการสืบสวนตามคำสั่งศาล (backdoor)

Google เตือน พบแฮ็กเกอร์ใช้ไฟล์ PDF ติดรหัสผ่าน หลอกเหยื่อเพื่อแพร่กระจายมัลแวร์

Loading

สำนักข่าว Fox News ได้รายงานว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์ Coldriver ซึ่งได้รับการหนุนหลังจากทางการรัสเซียนั้นได้ทำการโจมตีเหยื่อด้วยการส่งไฟล์ PDF ที่เข้ารหัสผ่านไว้

Unit 42 พบการฝังตัวของแฮ็กเกอร์ต่อโครงข่ายของรัฐบาลอิหร่าน

Loading

    ทีม Unit 42 ของ Palo Alto Networks พบว่าแฮกเกอร์ที่มีชื่อเรียกว่า BackdoorDiplomacy (หรือ Playful Taurus) ก่อเหตุโจมตีทางไซเบอร์ต่อองค์กรรัฐบาลอิหร่านในช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงปลายเดือนธันวาคม 2022   Unit 42 ได้เฝ้าดูการที่โดเมนของรัฐบาลอิหร่านพยายามเชื่อมต่อไปยังโครงสร้างพื้นฐานมัลแวร์ที่ทาง BackdoorDiplomacy สร้างไว้   BackdoorDiplomacy เป็นกลุ่มแฮกเกอร์ที่เชื่อกันว่ามาจากจีน โดยมีอีกหลายชื่อ อาทิ APT15, KeChang, NICKEL, และ Vixen Panda ที่ผ่านมามีประวัติปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์แบบฝังตัวต่อรัฐบาลในทวีปอเมริกา แอฟริกา และตะวันออกกลาง ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา   สำหรับการโจมตีล่าสุดนั้น Unit 42 พบการใช้ Backdoor (ช่องทางลัดเข้าไปยังระบบเป้าหมาย) ในการโจมตีหน่วยงานรัฐบาลในอิหร่าน   โดยจากการติดตามดู 4 องค์กรอิหร่าน อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ และองค์กรทรัพยากรธรมชาติ พบว่า…

แฮ็กเกอร์จากจีนออกอาละวาดด้วยการซ่อนมัลแวร์ไว้ในโลโก้ Windows

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์จาก Symantec พบปฏิบัติการไซเบอร์จากจีนที่ซ่อนมัลแวร์ไว้ในโลโก้ Windows ของคอมพิวเตอร์ที่ใช้   กลุ่มแฮ็กเกอร์นี้มีชื่อเรียกขานว่า Witchetty ที่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ Cicada (อีกชื่อหนึ่งคือ APT10) กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่มีรัฐบาลจีนหนุนหลัง และยังน่าจะเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร TA410 ที่เคยโจมตีบริษัทพลังงานของสหรัฐอเมริกา   Witchetty เริ่มปฏิบัติการซ่อนมัลแวร์มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ โดยมุ่งเป้าไปที่ 2 ประเทศในตะวันออกกลาง ในจำนวนนี้มีการโจมตีตลาดหุ้น   สำหรับวิธีการปฏิบัติการของ Witchetty กระทำโดยเทคนิกที่เรียกว่าวิทยาการอำพรางข้อมูล (Steganography) ซึ่งเป็นการซ่อนข้อมูลลับไว้ในภาพหรือข้อความอื่นในการซ่อน Backdoor (หรือทางลัดในการเข้าถึงอุปกรณ์หรือระบบเครือข่าย) ที่เข้ารหัสด้วยวิธีการ XOR ลงในปุ่ม Start   การซ่อนมัลแวร์ไว้ในภาพมักจะเล็ดลอดการตรวจจับของซอฟต์แวร์ Anti-Virus ไปได้ เนื่องจากมักไม่ค่อยตรวจหาไวรัสจากรูปภาพ   โดย Backdoor ตัวนี้จะเป็นช่องทางให้กลุ่มแฮ็กเกอร์เจาะเข้าไปดูไฟล์ข้อมูล เปิดปิดโปรแกรม ดาวน์โหลดมัลแวร์ลงบนเครื่องของเหยื่อเพิ่มเติม เข้าไปแก้ไข Windows Registry หรือแม้แต่ทำให้อุปกรณ์ของเหยื่อเป็นเซิร์ฟเวอร์สำหรับการแฮ็กเหยื่อรายต่อ ๆ ไป    …

ผ่าพิษสง มัลแวร์ ตัวแสบ!! แห่งยุคดิจิทัล

Loading

  สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอ็ตด้า เผยแพร่ข้อมูล ระบุ พิษสงของ “มัลแวร์” โปรแกรมประสงค์ร้าย ถูกเขียนขึ้นหวังเข้าทำอันตรายกับข้อมูลในระบบ ทั่วโลกต้องสูญเสียเม็ดเงินให้กับมัลแวร์ “ตัวแสบ” ของยุคนี้ไปอย่างมหาศาล   “มัลแวร์” (MALWARE) หรือ “ไวรัสคอมพิวเตอร์” ย่อมาจาก MALicious และ SoftWARE หมายถึง โปรแกรมประสงค์ร้ายที่ถูกเขียนขึ้นมา เพื่อทำอันตรายกับข้อมูลในระบบ เช่น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติ ขโมยหรือทำลายข้อมูลหรืออาจจะเปิดช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาควบคุมเครื่องของเราได้   ประเภทของมัลแวร์ เช่น   Virus (ไวรัส) สามารถแพร่กระจายตัวเองไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านไฟล์ที่ส่งต่อกันระหว่างเครื่อง เมื่อมันแอบเข้ามายังคอมพิวเตอร์ได้แล้ว มันก็จะเข้าไปก่อกวนการทำงานจนทำให้เกิดผลเสียต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ เหมือนเวลาที่เราป่วยเพราะไวรัส ร่างกายของเราก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่เท่าเดิม คอมพิวเตอร์เองก็เช่นเดียวกัน   Worm (เวิร์ม) สามารถแพร่กระจายตัวเองไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เองโดยอัตโนมัติ คล้ายกับตัวหนอนที่ชอนไชไปยังเส้นทางต่าง ๆ จนทำให้เครือข่ายล่มหรือใช้งานไม่ได้   Trojan (โทรจัน) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกเราว่า…