‘กทพ.-บช.ก’ จับมือเชื่อมข้อมูลแบบเรียลไทม์สกัดอาชญากรรมบนทางด่วน

Loading

  ‘กทพ.’จับมือ ‘ตำรวจสอบสวนกลาง’ลุยเชื่อมข้อมูลผู้ใช้ทางด่วนกับแบบเรียลไทม์ เดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อตรวจสอบป้องกันปราบปรามอาชญากรรม สร้างความมั่นคง–ปลอดภัยให้ประชาชน   22 พ.ย.2565-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์และแลกเปลี่ยนข้อมูลในระบบสารสนเทศ   ระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่า ความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นเป็นมิติใหม่ในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องแบบเรียลไทม์   ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยให้กับประชาชน เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีด้านความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงยกระดับการให้บริการประชาชนของทั้ง 2 หน่วยงาน เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและประเทศชาติ โดย กทพ. จะทำการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ใช้ทางพิเศษและข้อมูลอื่นๆ จากฐานข้อมูลระบบจราจรอัจฉริยะที่มีอยู่ในระบบสารสนเทศ ได้แก่ ฐานข้อมูลระบบจราจรอัจฉริยะ (ITS Center) ฐานข้อมูลระบบ Data Exchange Center และฐานข้อมูลระบบ Automatic Lane Control   อย่างไรก็ตามขณะที่ บช.ก. จะจัดให้มีมาตรการในการปกป้องคุ้มครองข้อมูลดังกล่าวมิให้ถูกละเมิด เป็นไปตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูลอาชญากรรม…

อย่าละเลย “บิ๊กดาต้า” ปรับระบบบริหารประเทศ

Loading

  รัฐบาลไทยมีความพยายามที่จะนำบิ๊กดาต้ามาใช้ประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ดูเหมือนว่ายังไม่เทียบเท่าในต่างประเทศ ที่ใช้การประมวลผลบิ๊กดาต้าช่วยวิเคราะห์นโยบายสาธารณะต่าง ๆ ได้ผลมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สามารถวัดผลได้ดี   โลกปัจจุบันถูกขับเคลื่อนด้วยบิ๊กดาต้าไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจหรือภาครัฐ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจมีความชัดเจนและให้ความสำคัญมานานแล้วในการกำหนดแผนธุรกิจที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลด้วยเครื่องมือต่าง เช่น ปัญญาประดิษฐ์ และในปัจจุบันที่ธุรกรรมต่าง ๆ ถูกดำเนินการผ่านออนไลน์ยิ่งทำให้ข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจมีเพิ่มขึ้นมาก จึงไม่แปลกใจที่บรรดาบิ๊กคอร์ปต่างลงทุนอย่างเต็มที่กับระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้น   สถานการณ์ดังกล่าวได้นำมาสู่โอกาสทางธุรกิจมหาศาลทั้งผู้ใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้า รวมถึงผู้ที่ลงทุนระบบจัดเก็บข้อมูลตลอดทั้งซัพพลายเชนไปจนถึงการให้บริการในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการลงทุนดังกล่าว จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าบิ๊กดาต้าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ และเกิดการแบ่งชิงบิ๊กดาต้าผ่านกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดในหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้บริโภคยอมเปิดเผยข้อมูลหรือจัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้มีการนิยามว่าบิ๊กดาต้า เป็นอีก 1 เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก   การบริหารราชการแผ่นดินยุคใหม่ในหลายประเทศล้วนใช้บิ๊กดาต้าในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นนโยายเกี่ยวกับสาธารณสุข การศึกษา การคมนาคม การบริหารจัดการน้ำ การบริหารจัดการพลังงาน การบริหารด้านการคลัง การจัดเก็บภาษี รวมไปถึงการจัดการข้อมูลด้านความมั่งคงของประเทศหรือการทหาร เพราะช่วยให้รัฐบาลคาดการณ์และวิเคราะห์ข้อมูลได้แม่นยำมากขึ้น และนำไปสู่การบริหารจัดการงบประมาณให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด   รัฐบาลไทยมีความพยายามที่จะนำบิ๊กดาต้ามาใช้ประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งถือว่าเป็นทิศทางที่ดีที่การดำเนินการหลายส่วนนำบิ๊กดาต้ามาใช้ แต่ดูเหมือนว่ายังไม่เทียบเท่าเหมือนในต่างประเทศ ในขณะที่การจะก้าวไปสู่จุดดังกล่าวจะต้องมีการปฏิรูปข้อมูลภาครัฐเข้าสู่ดิจิทัล โดยเฉพาะการสร้างคลาวด์ของภาครัฐที่ใช้งานร่วมกันที่นอกจากจะเป็นการรวมข้อมูลไว้ด้วยกันแล้วยังช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างระบบจัดเก็บข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน เพื่อใช้เครือข่ายการประมวลผลร่วมกันได้   หากการประมวลผลบิ๊กดาต้าของภาครัฐมีความสมบูรณ์ก็จะทำให้วิเคราะห์ได้ว่านโยบายสาธารณะแต่ละนโยบายได้ผลมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สามารถวัดผลได้ดี ยกตัวอย่างการที่รัฐบาลกำลังผลักดันนโยบายประกันรายได้ข้าวปี 2565 ซึ่งเป็นปีที่ 4 ใช้วงเงินประกันราคาข้าวรวมกับโครงการที่เกี่ยวข้อง 150,000…

‘กำหนดเป้าหมาย – เตรียมคน – เตรียมจัดการ’ 3 ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการทำ Big Data

Loading

  หากเทียบกับในอดีตแล้ว ข้อมูลที่ถูกผลิตขึ้นในปัจจุบันนั้นมีทั้งรายละเอียด รูปแบบ และปริมาณที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ความเปลี่ยนแปลงนี้ได้เปิดประตูมากมายให้กับธุรกิจในการเพิ่มประสิทธิภาพ แก้ปัญหา และสร้างโอกาสใหม่ๆ ในตลาดแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ในบทความนี้เราได้สรุปมุมมองจาก ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิด้าน Digital Transformation สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ถึงปัจจัยที่จะกำหนดความสำเร็จของธุรกิจในการนำข้อมูลไปใช้ เวลาเปลี่ยน ข้อมูลเปลี่ยน ข้อมูลนั้นเป็นสิ่งที่มีมานานแล้วในโลก และก่อนการเกิดของคำว่า Big Data ธุรกิจจำนวนมากก็มีการนำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินการเสมอ แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันคือเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ทำให้เกิดข้อมูลรูปแบบใหม่ๆที่จะช่วยบอกเล่าเรื่องราวให้กับธุรกิจได้มากกว่าเดิม เช่น ข้อมูลจากเครือข่ายโซเชียล ที่สามารถช่วยให้ธุรกิจเข้าใจในตัวลูกค้าได้มากขึ้น นอกจากรูปแบบข้อมูลที่แตกต่างและละเอียดขึ้นแล้ว การประมวลผลข้อมูลยังมีความซับซ้อนและ “เก่ง” ขึ้น ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม เช่น การใช้เทคนิค AI และ Machine Learning เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ใครๆ ก็อยากใช้ข้อมูล แต่ข้อมูลไม่ใช่คำตอบของทุกอย่าง ความสามารถของข้อมูลนั้นมีมากและช่วยธุรกิจได้จริง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าคำว่า Big Data หรือศัพท์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับข้อมูลจะได้รับความสนใจจากธุรกิจอย่างรวดเร็ว ทว่าหนึ่งมุมมองที่บิดเบือนไปคือการมุ่งหวังว่าพอนำข้อมูลเข้ามาใช้แล้ว ปัญหาจะหมดไป หรือธุรกิจจะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว จากมุมมองของ…

เคาะงบ 6,200 ล้านบาท ตั้ง ‘คลาวด์กลางภาครัฐ’ เปลี่ยนผ่านสู่ ‘รัฐบาลดิจิทัล’

Loading

  วันที่ 29 มีนาคม 2565 นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มี ‘คลาวด์กลางภาครัฐ’ และให้ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการ   นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี   เนื่องมาจากการควบรวมกิจการและได้รับไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ทั้งหมด ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 พร้อมเห็นชอบกรอบงบประมาณรายจ่ายผูกพันต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2566-2568 จำนวนเงินปีละ 2,072.14 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 6,216.4245 ล้านบาท โดยมีประมาณการรายจ่าย ดังนี้     Update…

Big Data Is A Big Problem : เปลี่ยนดีเอ็นเอให้เป็นฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล

Loading

By : sopon supamangmee | Feb 18, 2020 เคยมีคำถามกันบ้างไหมครับเวลาอัพโหลดรูปภาพบนเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือลงวิดีโอไว้บนยูทูบแล้วรูปไปอยู่ที่ไหน? เราใช้บริการเหล่านี้ในชีวิตประจำวันจนแทบไม่เคยตั้งคำถามหรือคิดถึงมันเลยด้วยซ้ำ หลายคนก็อาจจะตอบว่าก็คงไปอยู่บนคลาวน์ “ที่ไหนสักแห่งหนึ่ง” ที่มีพื้นที่มากมาย ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ก็ไม่ถูกซะทีเดียว เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไฟล์หรือข้อมูลเหล่านี้แม้ว่าจะอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ใช่ปึกกองกระดาษเหมือนหนังสือเล่ม หรือม้วนวิดีโอ แต่ว่าไฟล์ดิจิทัลเหล่านี้ก็ยังต้องการพื้นที่สำหรับจัดเก็บที่เรียกว่า ‘data center’ หรือ ศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ตึกที่เต็มไปด้วยเซิร์ฟเวอร์หลายพันหลายหมื่นตัว (มีการประมาณการจาก Gartner ว่าในปี 2016 กูเกิลมีเซิร์ฟเวอร์กว่า 2.5 ล้านตัวใน data center ของตัวเองทั่วโลก) ไฟล์ดิจิทัล แต่พื้นที่จัดเก็บนั้นไม่สามารถเป็นดิจิทัลได้ ไม่ใช่แค่ยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิลเท่านั้นที่มี data center ขนาดเท่าสนามฟุตบอลกระจายอยู่ทั่วโลก บริษัทอื่นๆ อย่างเน็ตฟลิกซ์, ไลน์, วอทส์แอป, ทวิตเตอร์, แอมะซอน ฯลฯ หรือเรียกได้ว่าผู้ให้บริการออนไลน์ทุกเจ้าจะต้องมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ด้วยกันทั้งนั้น ทุกครั้งที่มีการส่งอีเมล แชร์รูปบนเฟซบุ๊ก สตรีมเน็ตฟลิกซ์ ค้นหาบนกูเกิล ​เซิร์ฟเวอร์เหล่านี้แหละที่ทำงานอยู่เบื้องหลังตลอดเวลา มีการคาดการณ์ว่าข้อมูลออนไลน์จะเติบโตจาก 33 ZB…