อื้ออึง! นิวยอร์กไทม์สแฉ “เครื่องสแกนไบโอเมตริก” เร่ขายบน eBay ราคาไม่ถึง $200 ซุกข้อมูลอ่อนไหวกองทัพสหรัฐฯ จำนวนมาก

Loading

  เอเจนซีส์ – หนังสือพิมพ์ชื่อดังสหรัฐฯ รายงานเครื่องสแกนไบโอเมตริกที่ขายผ่าน eBay ปรากฏพบข้อมูลสำคัญที่อ่อนไหวของกองทัพสหรัฐฯ จำนวนมากอยู่ในเมมโมรีการ์ด ทั้งชื่อบุคคล ภาพถ่าย ลายพิมพ์นิ้วมือ ส่วนใหญ่จากอิรักและอัฟกานิสถาน พบตอลิบานมีเครื่องแบบนี้เหมือนกัน   Engadget สื่อเชี่ยวชาญอุปกรณ์ไฮเทคของสหรัฐฯ รายงานเมื่อวานนี้ (27 ธ.ค) ว่า นักวิจัยชาวเยอรมัน ที่ได้ซื้อเครื่องสแกนไบโอเมตริก (Biometric) ซึ่งเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลทางชีวภาพ เป็นต้นว่า ลายนิ้วมือ หรือม่านตา จากเว็บไซต์ eBay ชื่อดัง แต่ต้องตกตะลึงเมื่อพบว่าภายในเมมโมรีการ์ดมีข้อมูลสำคัญที่อ่อนไหวของกองทัพสหรัฐฯ ถูกเก็บอยู่ในนั้น อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สรายงานครั้งแรกในวันอังคาร (27)   ข้อมูลอ่อนไหวที่ถูกพบเป็นต้นว่า ชื่อบุคคล คำอธิบายเกี่ยวกับบุคคลนั้น ภาพถ่าย ลายพิมพ์นิ้วมือ ม่านตา ส่วนใหญ่มาจากอิรักและอัฟกานิสถาน และมีเป็นจำนวนมากทำงานให้กองทัพสหรัฐฯ ซึ่งอาจถูกใช้เพื่อเล่นงานได้หากว่าข้อมูลตกอยู่ในมือคนร้าย อ้างอิงจากรายงาน   กลุ่มนักวิจัยเยอรมนีชื่อ Chaos Computer Club ภายใต้การนำ มาตเทียส มาร์กซ์ (Matthias Marx)…

อุปกรณ์ไบโอเมทริกซ์ที่ขายอยู่บน eBay มีข้อมูลทางทหารของกองทัพสหรัฐฯ

Loading

  กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากเยอรมนีที่ใช้ชื่อว่า Chaos Computer Club นำโดย มัตเทียส มาร์กซ์ (Mathias Marx) พบว่าอุปกรณ์รับข้อมูลไบโอเมทริกซ์ที่ซื้อมาจาก eBay มีข้อมูลละเอียดอ่อนทางทหารของสหรัฐอเมริกาอยู่ในนั้นด้วย   Chaos Computer Club ซื้ออุปกรณ์ในลักษณะนี้มา 6 ชิ้น ส่วนใหญ่มีราคาไม่ถึง 200 เหรียญ (ราว 6,925 บาท) เหตุที่ทางกลุ่มซื้ออุปกรณ์เหล่านี้มาก็เนื่องจากมีรายงานของ The Intercept ที่ระบุว่ากลุ่มตาลีบันยึดอุปกรณ์เหล่านี้ได้จากกองทัพสหรัฐฯ   ข้อมูลที่ Chaos Computer Club พบในอุปกรณืนี้มีทั้งข้อมูลลายนิ้วมือ ผลสแกนม่านตา รูปถ่าย ชื่อ และรายละเอียดของบุคคลที่ส่วนใหญ่มาจากอิรักและอัฟกานิสถาน มีจำนวนถึง 2,632 ราย ในจำนวนนี้หลายคนทำงานให้กับกองทัพบกสหรัฐฯ   เมื่อวิเคราะห์ลงไปยังพบอีกว่าอุปกรณ์เหล่านี้ถูกนำไปใช้ในหลายพื้นที่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง อาทิ กันดะฮาร์ ในอัฟกานิสถาน และจอร์แดน ในระหว่างช่วงปี 2012 – 2013  …

คนไทยนิยมใช้ “ไบโอเมทริกซ์” ยืนยันตัวตน เชื่อปลอดภัยกว่าใส่รหัส PIN

Loading

  มาสเตอร์การ์ด เผยงานวิจัยผู้บริโภคชาวไทยเกือบ 80% ยืนยันตัวบุคคลผ่านระบบ “ไบโอเมทริกซ์” เพราะเชื่อว่าปลอดภัยกว่ากรอกรหัส (PIN) แต่ยังกังวลผู้ให้บริการทำข้อมูลรั่วไหล   มาสเตอร์การ์ด เปิดเผยผลวิจัย Mastercard New Payments Index 2022 พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยเกือบ 80% ยอมรับว่าการใช้ข้อมูลไบโอเมทริกซ์ (Biometric) หรือ การเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลสำหรับยืนยันตัวตน เช่น การสแกนลายนิ้วมือ การยืนยันลักษณะบนใบหน้า มีความปลอดภัยสูงกว่าวิธีการอื่น ๆ เช่น การกรอกรหัส PIN อย่างไรก็ตามราว 79% มีความวิตกกังวลว่าอาจมีองค์กรธุรกิจต่าง ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลไบโอเมทริกซ์ของตนเองได้     โดยข้อมูลล่าสุดทั้งในด้านพฤติกรรม ทัศนคติ และความชื่นชอบด้านการใช้จ่าย จากผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคของ Mastercard’s second annual New Payments Index แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวไทยมากถึง 50% ใช้ระบบไบโอเมทริกซ์ในการซื้อสินค้าและบริการเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งมีอัตราเกือบเทียบเท่าค่าเฉลี่ยของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกซึ่งอยู่ที่ 53% ที่ใช้ระบบนี้ในการซื้อสินค้าและบริการในช่วงเวลาเดียวกัน…

เท็กซัสฟ้อง Google เก็บข้อมูล Biometric ทั้งใบหน้าและเสียงโดยขอความยินยอมไม่ครบถ้วน

Loading

  เท็กซัสฟ้อง Google เก็บข้อมูล Biometric ทั้งใบหน้าและเสียงโดยขอความยินยอมไม่ครบถ้วน   Ken Paxton อัยการสูงสุดรัฐเท็กซัสยื่นฟ้อง Google กล่าวหาว่าบริษัทละเมิดกฎหมายรัฐโดยการเก็บข้อมูลชีวมิติ (biometric) ซึ่งนับเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวที่ต้องขออนุญาตผู้ใช้แยกจากการขอข้อมูลส่วนบุคคลปกติ   คำฟ้องระบุว่า Google ใช้ฟีเจอร์ใน Google Photos, Google Assistant และผลิตภัณฑ์กลุ่ม Nest เพื่อเก็บข้อมูลใบหน้าและการจดจำเสียงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อย่างครบถ้วน และยังนำข้อมูลไปใช้สำหรับจุดประสงค์ทางการค้า เช่น การพัฒนาอัลกอริธึมของปัญญาประดิษฐ์หรือการขายพื้นที่จัดเก็บข้อมูล   คำฟ้องกล่าวว่า การกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดกฎหมาย Capture or Use of Biometric Identifier Act ที่ควบคุมการเก็บข้อมูลชีวมิติ ได้แก่ การสแกนม่านตา, ลายนิ้วมือ, ลักษณะเสียง (voiceprint), ภาพมือหรือใบหน้า โดยองค์กรที่จะเก็บข้อมูลต้องแจ้งผูใช้ และต้องทำลายข้อมูลเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง   ทางฝั่ง Google ออกมาโต้แย้งว่า Google Photos เป็นบริการที่ทำให้ผู้ใช้จัดการรูปภาพได้ง่ายขึ้น และผู้ใช้สามารถปิดการใช้งานได้ง่าย…

สนามบินดูไบเริ่มใช้วิธี ‘ตรวจม่านตา’ แทนหนังสือเดินทาง

Loading

    ที่สนามบินดูไบ ผู้โดยสารสามารถใช้ม่านตาเพื่อยืนยันตัวตนโดยไม่จำเป็นต้องแสดงเอกสารใดๆ ระบบดังกล่าวเปิดตัวขึ้นในขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ยังคงต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด -19 ซึ่งรัฐบาลยกให้โครงการนี้เป็นเครื่องมือในการช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เพราะวิธีดังกล่าวช่วยให้ผู้โดยสารไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ระบบสแกนม่านตานี้ใช้ biometric หรือชีวมิติ ซึ่งได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อมูลทางชีวภาพที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลเพื่อระบุตัวตน ทั้งนี้ระบบจดจำใบหน้าก็เป็นการใช้ไบโอเมตริกรูปแบบหนึ่ง ระบบดังกล่าวใช้วิธีการคล้ายกับที่ใช้ในเทคโนโลยีการพิมพ์ลายนิ้วมือ สนามบินดูไบใช้อุปกรณ์ในการสแกนม่านตาซึ่งเป็นส่วนที่มีสีของดวงตา โดยการให้ผู้โดยสารมองตรงเข้าไปในกล้องเพื่อให้สามารถรวบรวมข้อมูลทางชีวภาพได้ การใช้ระบบสแกนม่านตานั้นแพร่หลายมากขึ้นทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความแม่นยำของเทคโนโลยีจดจำใบหน้า ไบโอเมตริกของม่านตาถือว่าเป็นระบบที่เชื่อถือได้มากกว่าระบบที่สแกนใบหน้าของผู้คนจากระยะไกล ในสนามบินดูไบซึ่งเป็นสนามบินที่พลุกพล่านที่สุดในโลกสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ ผู้โดยสารจะเดินเข้าเครื่องสแกนม่านตาหลังจากเช็คอินแล้ว หลังจากที่มองเข้าไปในกล้องพวกเขาก็จะสามารถผ่านจุดตรวจหนังสือเดินทางได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที โดยที่ไม่ต้องพกบัตรเดินทางกระดาษหรือใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ใดๆ เจ้าหน้าที่ในดูไบกล่าวว่าการสแกนดังกล่าวนี้จะเชื่อมต่อข้อมูลม่านตาของบุคคลกับฐานข้อมูลการจดจำใบหน้าของ UAE ทำให้ผู้โดยสารไม่ต้องใช้เอกสารในการเดินทาง ระบบนี้เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทสายการบิน Emirates และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของดูไบ เจ้าหน้าที่กล่าวอีกว่าระบบจะช่วยให้ผู้โดยสารผ่านกระบวนการอัตโนมัติตั้งแต่การเช็คอินไปจนถึงการขึ้นเครื่องบินได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย พลตรี Obaid Mehayer Bin Suroor รองอธิบดีกองอำนวยการทั่วไปด้านถิ่นที่อยู่และกิจการต่างประเทศของดูไบบอกกับ The Associated Press ว่าการสแกนม่านตานี้เป็นระบบอัจฉริยะที่ใช้เวลาเพียงห้าถึงหกวินาที อย่างไรก็ตาม ผู้คนยังหวั่นเกรงว่าเทคโนโลยีนี้จะทำให้สูญเสียความเป็นส่วนตัวเช่นเดียวกันกับระบบจดจำใบหน้า ทั้งนี้ UAE ได้เผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนานาชาติเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการสอดส่องนักข่าวและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ในคำชี้แจงสิทธิส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบไบโอเมตริก Emirates ระบุไว้ว่าทางสายการบินเชื่อมโยงใบหน้าของผู้โดยสารกับข้อมูลระบุตัวบุคคลอื่นๆ รวมถึงหนังสือเดินทางและข้อมูลเที่ยวบิน นอกจากนี้ยังเสริมว่าข้อมูลดังกล่าวสามารถเก็บไว้ได้ตราบเท่าที่มีความจำเป็นตามสมควรสำหรับวัตถุประสงค์ในการรวบรวมข้อมูล นอกจากนี้ในเว็บไซต์ของ Emirates ยังระบุด้วยว่าข้อมูลไบโอเมตริกที่รวบรวมทั้งหมดจะถูกจัดเก็บไว้ในสารบบ…

แนวทางการปฎิบัติสำหรับการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลชีวภาพ (Biometrics) โดย ดร.มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม

Loading

บทความนี้เรียบเรียง สรุป (และอธิบายขยายความเพิ่มเติม) จากเอกสาร Guidelines on processing of personal data through video devices Version 2.0 (เผยแพร่เมื่อ มกราคม 2020) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเอกสารแนะนำการทำงานเกี่ยวกับกล้อง CCTV และข้อมูล Biometrics (ข้อมูลชีวมิติ/ชีวภาพ) การเรียบเรียงเอกสารฉบับนี้ ไม่ใช่การแปลตรง ๆ แต่เป็นการเขียนสรุปความ และเรียบเรียงขึ้นใหม่ในสำนวนและภาษาของผู้เขียนเอง คำอธิบายและตัวอย่างบางส่วนมิได้มาจากเอกสารข้างต้นที่อ้างถึง แต่หยิบยกจากประสบการณ์และความรู้ของผู้เขียนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื้อหาในหัวข้อแรก “พื้นฐานความเข้าใจเบื้องต้น” ที่อธิบายเพื่อปูพื้นฐานให้ผู้อ่านเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ และข้อมูลส่วนบุคคล ว่าเชื่อมโยงไปที่ Biometrics อย่างไร เพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านติดตามทำความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น 1. พื้นฐานความเข้าใจเบื้องต้น ข้อมูลชีวภาพ ใน พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  เทียบได้กับคำว่า Biometric ใน GDPR (General Data Protection Regulation) ทั้งนี้…