ความสับสนระหว่าง “กระเป๋าเงินดิจิทัล” และ “เงินดิจิทัล”

Loading

  หลังจากการเลือกตั้งไปกว่า 100 วัน ในที่สุดเราก็ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่โดยมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล พร้อมนโยบายเด่น “ดิจิทัลวอลเล็ต” หรือ “กระเป๋าเงินดิจิทัล” ที่เคยประกาศไว้ช่วงหาเสียง …คนทั่วไปอาจยังสับสนกับคำว่า “กระเป๋าเงินดิจิทัล กับ เงินดิจิทัล”   หลังจากการเลือกตั้งไปกว่า 100 วัน ในที่สุดเราก็ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่โดยมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล พร้อมกับนโยบายเด่น “ดิจิทัลวอลเล็ต” หรือ “กระเป๋าเงินดิจิทัล” ที่เคยประกาศไว้ในช่วงหาเสียง   สื่อหลายแห่งหรือแม้แต่นักการเมืองต่างก็ใช้คำพูดที่แตกต่างกัน บ้างก็บอกว่าแจก “เงินดิจิทัล” บ้างก็เรียกว่า แจก “กระเป๋าเงินดิจิทัล” แต่เสมือนว่าทุกคนเข้าใจคล้าย ๆ กันว่าจะได้เงินจำนวน 10,000 บาท ที่อยู่ในรูปของดิจิทัล โดยทีมพรรคเพื่อไทยก็บอกว่า จะใช้เทคโนโลยี บล็อกเชน ที่มีความปลอดภัยสูงมาช่วยพัฒนาระบบดังกล่าว   คนทั่วไปก็อาจจะยังสับสนกับคำว่า “กระเป๋าเงินดิจิทัล กับ เงินดิจิทัล” ทั้ง ๆ ที่สองคำนี้แตกต่างกันมากพอควร ถ้าเราลองนึกถึงกระเป๋าเงินปกติที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำ ก็คงพอเข้าใจว่าเป็นอุปกรณ์ที่เราใช้ในการเก็บเงินสด บัตรเครดิต บัตรโดยสารรถ หรือบัตรประจำตัวต่าง ๆ…

ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย สิ่งสำคัญของการใช้เทคโนโลยี

Loading

    ตอนนี้เทคโนโลยี อย่าง AI, Blockchain และ Cloud เข้ามามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ดังนั้น ความเป็นส่วนตัวและการป้องกันความปลอดภัย จึงเป็นสิ่งที่ตามมา ซึ่งเทคโนโลยีถ้าไม่มีการให้ความรู้กับผู้ใช้งาน ก็จะไร้ประโยชน์   ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กล่าวในงาน Digital Life Forum 2023 : นวัตกรรม เปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนโลก จัดขึ้นโดย สปริงนิวส์ ว่า บทบาทของเราทำหน้าที่ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ผมอยากให้สิ่งที่ Drive คือความต้องการของคน เพราะเทคโนโลยีดียังไงแต่ไม่มีคนใช้ มันก็ไปไม่รอด เราพยายามผลักดัน SME ให้เทคโนโลยี ซึ่งจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีใช้เวลาน้อยลงในการเปลี่ยนวัฎจักร ซึ่งโควิดมาความต้องการเปลี่ยนก็ทำให้เทคโนโลยีเปลี่ยน ยกตัวอย่าง เวลาเราขึ้นตึกแล้วต้องแลกบัตรประชาชน เราก็กลัวข้อมูลรั่วไหล ก็ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ     ปัจจุบันเรื่องของ Data มีความสำคัญและมี Value มาก ดังนั้นจึงมีเทคโนโลยีเกี่ยวกับ…

“บล็อกเชน” ป้องกันการโกงเลือกตั้งได้จริงหรือ!?”

Loading

  “การเลือกตั้ง” นั้นเป็นหนึ่งในกระบวนการในระบบประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้ประชาชนนั้นสามารถมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเทศด้วยการเข้าคูหาเพื่อเลือกตัวแทนเข้าสู่สภา ซึ่งทำให้การเลือกตั้งกลายเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทยรอคอยและคาดหวังว่าจะเห็นประเทศไปในทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเราจะได้เห็นข้อครหารวมไปถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้งล่วงหน้าจนก่อให้เกิดการล่ารายชื่อถอนถอน กกต. เลยทีเดียว   ซึ่งเหตุการณ์ความไม่พอใจในลักษณะนี้รวมไปถึงความผิดพลาดในการทำงานที่เกิดขึ้นจริงนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่เป็นการเกิดขึ้นซ้ำ ๆ มาหลายครั้งและในแต่ละกรณีก็มีความละเอียดอ่อนไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดแนวคิดว่าหากเรานำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาบริหารและจัดการในระบอบการเลือกตั้งจะแก้ปัญหาได้หรือไม่!?   นายพีรพัฒน์ หาญคงแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุน (CIO) บริษัท คริปโตมายด์ แอดไวเซอรี่ จำกัด ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกของไทยภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ความเห็นถึงการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้ รวมถึงประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้   การเลือกตั้งด้วยระบบ Blockchain จะแก้ปัญหาได้หรือเปล่า?   เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) นั้นเป็นระบบฐานข้อมูลที่ไม่สามารถแก้ไขและเปลี่ยนแปลงได้ทำให้มันดูเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเลือกตั้ง แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีประเทศไหนบนโลกที่ทำการเลือกตั้งสาธารณะด้วยระบบ Blockchain หรือแม้แต่ระบบดิจิทัลทั่วไปเลย   สาเหตุสำคัญคือในกระบวนการเลือกตั้งนั้นมีหลายองค์ประกอบมาก การใช้ระบบ Digital หรือแม้แต่ Blockchain นั้นเป็นการแก้ไขปัญหาได้เพียงบางส่วนเท่านั้นเช่นการแก้ปัญหาด้าน Software แต่ในกระบวนการเลือกตั้งนั้นยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีก  …

วิธีแจ้งเบาะแสยาเสพติดด้วยระบบ Blockchain ไม่ต้องเผยตัวตน ได้รางวัลนำจับเป็นสกุลเงินดิจิทัล

Loading

    วิธีแจ้งเบาะแสยาเสพติดด้วยระบบ Blockchain ไม่ต้องเผยตัวตน รับรางวัลนำจับเป็นสกุลเงินดิจิทัล ประชาชนกล้าแจ้งเบาะแสมากขึ้น ชี้ ระบบมีชั้นความลับสูง เปิดดูได้คนเดียว ปิดช่องผู้ค้ารู้ตัวคนแจ้ง   นายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการ ป.ป.ส. และผู้บริหาร ป.ป.ส กล่าวว่า ระบบแจ้งเบาะแสยาเสพติด แบบไม่เปิดเผยตัวตน หรือ ระบบบล็อคเชน ได้ถูกพัฒนามาเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ต้องการแจ้งเบาะแสยาเสพติด แต่ไม่อยากเปิดเผยตัวตน เนื่องจากกังวลในเรื่องความปลอดภัย ก็สามารถมาใช้ระบบใหม่นี้ได้ ซึ่งจะมีชั้นความลับที่สูงมาก โดยระบบบล็อคเชน ประชาชนสามารถเข้าไปแจ้งเบาะแสได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงาน ป.ป.ส. รวมถึงคิวอาร์โค้ด ซึ่งใช้ได้ทั้งคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ โดยในระบบนี้ จะให้ประชาชนแจ้งรายละเอียดข้อมูลของผู้ค้ายาเสพติด ทั้งสถานที่กระทำผิด ข้อมูลบุคคล ประเภททรัพย์สิน รูปถ่าย และวอลเล็ทแอดเดรสของผู้แจ้งเบาะแส ซึ่งจะไม่สามารถยืนยันตัวตนคนแจ้งเบาะแสได้ และเมื่อข้อมูลแจ้งเบาะแส สามารถนำไปสู่การยึดทรัพย์เข้ากองทุนยาเสพติดได้ ผู้แจ้งจะได้รางวัลนำจับ 5% ผ่านวอลเล็ทแอดเดรส ที่แจ้งไว้ โดยสามารถนำสกุลเงินดิจิทัล ไปซื้อขายในตลาดได้ทันที     นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม…

มกราคม 2566 กระทรวงยุติธรรมเตรียมทดลองระบบบล็อคเชนแจ้งเบาะแสยาเสพติดแบบลับ

Loading

  นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า ภายในเดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2566 จะมีการทดลองใช้ระบบแจ้งเบาะแสยาเสพติดแบบไม่เปิดเผยตัวตน หรือ ระบบบล็อคเชน   ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และการศึกษารูปแบบการจ่ายเงินรางวัลนำจับที่ร้อยละ 5 ที่ขณะนี้มี 2 แนวทาง คือ 1. การจ่ายผ่านระบบ Blockchain และ Smart Contracts 2. การจ่ายผ่านระบบ Virtual Account และ ATM   แต่ในแนวทางแรก มีความเป็นไปได้มากกว่า เพราะด้วยขั้นตอนที่ซับซ้อน จะไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า ใครเป็นผู้แจ้งเบาะแส ซึ่งจะถูกจัดเก็บข้อมูลเป็นความลับ   นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส.จะมีการสำรวจความต้องการของผู้แจ้งเบาะแสผ่านเว็บไซต์ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึง หรือดำเนินการได้ง่าย รวมถึงได้มีการหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อให้การจ่ายเงินรางวัลนำจับเป็นสกุลเงินดิจิตอล ถูกต้องตามระเบียบ       ————————————————————————————————————————————————————————————————– ที่มา : …

เกาหลีใต้เตรียมใช้ระบบบล็อกเชนแบบไร้ศูนย์กลางกับบัตรประชาชนภายในปี 2024

Loading

  17 ตุลาคม 2022 บลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานว่ารัฐบาลเกาหลีใต้เตรียมใช้ระบบบัตรประชาชนดิจิทัลในอนาคต โดยจะเป็นแอปพลิเคชันบนมือถือ และใช้ระบบบล็อกเชนแบบไร้ศูนย์กลางในการทำงาน ควบคู่ไปกับบัตรประชาชนแบบเดิม   บัตรประชาชนดิจิทัลนี้ถูกคาดการณ์ไว้ว่าจะเปิดตัวในปี 2024 และมีผู้ใช้งานราว 45 ล้านคนภายใน 2 ปี โดยจะสามารถใช้ได้กับกิจกรรมทางการเงิน สุขภาพ การจ่ายภาษี และการคมนาคมต่าง ๆ นอกจากนี้จะยังเข้ามาช่วยเหลือธุรกิจที่ยังไม่ได้ปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างเต็มตัวได้อีกด้วย   ซู โบ รัม (Suh Bo Ram) อธิบดีสำนักรัฐบาลดิทิจัลของเกาหลีกล่าวว่าการใช้ระบบบล็อกเชนแบบไร้ศูนย์กลางในการรองรับบัตรประชาชนดิจิทัล จะทำให้ประชาชนไม่ต้องกังวลเรืองความเป็นส่วนตัว เพราะถึงแม้บัตรประชาชนจะอยู่บนมือถือ แต่รัฐบาลจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในมือถือ หรือแม้กระทั่งข้อมูลว่าบัตรนี้อยู่ที่ไหน ถูกใช้งานเมื่อไร และถูกใช้เกี่ยวกับอะไรได้   นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของเกาหลีใต้ที่นำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้กับระบบต่าง ๆ เนื่องจากเกาหลีใต้ได้เดินหน้าพัฒนาประเทศและปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาตลอด โดยในปี 2020 ก็มีการเปิดตัวระบบใบขับขี่ดิจิทัลที่ทำงานด้วยระบบบล็อกเชน และหน่วยงานอินเทอร์เน็ตและความปลอดภัยของเกาหลีก็กำลังทำงานทดสอบระบบเหล่านี้เพื่อนำไปต่อยอดเพิ่มเติมเสมอเช่นกัน     ที่มา: CoinTelegraph      …