13 พันธมิตรใหม่ BRICS กับความสำคัญเชิงภูมิศาสตร์-ยุทธศาสตร์

Loading

    BRICS ขยายพาร์ตเนอร์เพิ่มอีก 13 ประเทศ รวมถึงไทย โดย รศ. ดร.ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน มองว่าพาร์ตเนอร์ใหม่ BRICS ล้วนมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ หรือแหล่งทรัพยากรสำคัญที่ป้อนอุตสาหกรรมใหม่ ๆ   ในอีกมุมหนึ่ง การเลือกพาร์ตเนอร์ BRICS รอบนี้ยังสะท้อนการเชื่อมหมากในกระดานหมากล้อม ที่จีนพยายามแก้เกมปิดล้อมในทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตก       แอลจีเรียมีทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เดิมมีลูกค้าพลังงานรายใหญ่คือฝรั่งเศส แต่เริ่มรู้สึกว่าไม่แฟร์ จึงกระจายความเสี่ยงไปคบกับจีน     ไนจีเรีย เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุด และมีตัวเลข GDP สูงที่สุดในทวีปแอฟริกา อีกทั้งยังเป็นประตูสู่แอฟริกาตะวันตก และประตูสู่พื้นที่รอยต่อทางใต้ของทะเลทรายซาฮารา และเหนือพื้นที่สีเขียวของแอฟริกาที่เรียกว่าเข็มขัดซาเฮล     ยูกันดาเป็นประตูสู่แอฟริกาตะวันออก มีทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ และเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์     โบลิเวียเป็นประเทศที่มีแหล่งแร่ลิเธียมมากที่สุดในโลก ซึ่งจะเป็นหลักประกันในการป้อนอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ของจีนตามแผนยุทธศาสตร์ 3…

คุยการเมืองเรื่องทรัมป์ เทรดวอร์และระเบียบโลกใหม่ กับศ.ดร. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี

Loading

    “กรุงเทพธุรกิจ” ชวนพูดคุยกับ ศ. ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองระหว่างประเทศอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ถึงผลของการกลับมาของทรัมป์ที่มีต่อระเบียบโลกและประชาธิปไตยสหรัฐ   การกลับมาของ “โดนัลด์ ทรัมป์” ในฐานะว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐจากพรรครีพับลิกันสร้างทั้งความตระหนักและตระหนกให้กับประชาคมโลกโดยเฉพาะประเด็นนโยบาย America First ที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกครั้งใหญ่   ว่ากันว่าภายใต้การนำของทรัมป์ สหรัฐมีแนวโน้มที่จะถอยห่างจากบทบาทผู้นำโลกเสรีที่เคยดำรงมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยหันมาเน้นการเจรจาแบบทวิภาคีที่มุ่งผลประโยชน์ระยะสั้นมากกว่าการรักษาพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาว การถอนตัวจากข้อตกลงระหว่างประเทศสำคัญๆ อย่างความตกลงปารีสและองค์การอนามัยโลกในสมัยแรก สะท้อนให้เห็นถึงท่าทีที่เปลี่ยนไปของมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก   ขณะเดียวกัน การที่ทรัมป์มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำประเทศที่นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จำนวนหนึ่งมองว่ามิได้ยึดถือหลักการประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย จีน หรือเกาหลีเหนือ ก็ส่งสัญญาณว่าสหรัฐอาจไม่ได้ยึดมั่นในอุดมการณ์ดังกล่าวเหมือนในอดีต (?) การเมืองระหว่างประเทศกำลังเคลื่อนไปสู่ยุคที่ความสัมพันธ์ “ส่วนตัว” ระหว่างผู้นำมีความสำคัญมากกว่าค่านิยมร่วมหรือผลประโยชน์ระยะยาวของประเทศ   นอกจากนี้ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานะความเป็นประชาธิปไตยของสหรัฐเอง หลังจากที่ทรัมป์ปฏิเสธผลการเลือกตั้งในปี 2020 จนนำไปสู่เหตุการณ์จลาจลที่รัฐสภาในวันที่ 6 ม.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดของประชาธิปไตยอเมริกัน การแบ่งขั้วทางความคิดที่รุนแรงขึ้น ประกอบกับวิธีการหาเสียงที่เน้นการโจมตีคู่แข่งและการสร้างความเกลียดชัง ทั้งหมดล้วนส่งผลให้สถาบันจัดอันดับประชาธิปไตยระดับโลกจัดให้สหรัฐเป็นเพียง “ประชาธิปไตยที่บกพร่อง”   แม้ว่าทรัมป์จะยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่ทิศทางนโยบายต่างประเทศที่เขาวางไว้ก็มีความเป็นไปได้ว่าทั้งโลกกำลังจะเข้าสู่ยุคใหม่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะซับซ้อนและไม่แน่นอนมากขึ้น…

จีนเกี่ยวอะไร? ทำไมยูเครนต้องเหมารวม

Loading

  ปักกิ่งส่งเสียงโวยวายไปยังยูเครนเรื่องบัญชีผู้สนับสนุนสงคราม ส่วนซาอุดีอาระเบียย้ำหลายครั้งถึงสถานะตนเองใน BRICS ด้านผู้บริหาร IMF ให้ความเห็นเรื่องลดอัตราดอกเบี้ย   ปักกิ่งจี้ยูเครนถอน บ.จีนพ้นลิสต์หนุนสงคราม   โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนกล่าวกับรอยเตอร์ เมื่อวันพฤหัสบดี (1 ก.พ.) จีนไม่เห็นด้วยกับการที่ยูเครนรวมรายชื่อบริษัทจีนเข้าไว้ในบัญชี “ต่างชาติผู้สนับสนุนสงคราม” ขอให้ยูเครนแก้ไขข้อผิดพลาดนี้ทันทีและขจัดผลกระทบทางลบที่จะเกิดขึ้น โดยไม่ได้ระบุชัดว่าเป็นผลกระทบใด   ความเห็นดังกล่าวเกิดขึ้นหลังรอยเตอร์รายงานว่า เดือนก่อนเอกอัครราชทูตจีนประจำกรุงเคียฟได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลยูเครนว่า การรวมบริษัทจีนเข้าไว้ในลิสต์ดังกล่าวอาจทำลายความสัมพันธ์ทวิภาคี   ซาอุดีอาระเบียย้ำยังไม่เป็นสมาชิก BRICS   แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ซาอุดีอาระเบียรายหนึ่งเผยกับรอยเตอร์ว่า ซาอุดีอาระเบียยังคงไม่ได้ตอบรับเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ตามที่ได้รับเชิญมาเมื่อปีก่อน ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา   ความเห็นดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากนายนาเลดี แพนดอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแอฟริกาใต้ กล่าวเมื่อวันพุธ (31 ม.ค.) ว่า ซาอุดีฯ เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มแล้ว   IMF แนะธนาคารกลางไม่ควรลดดอกเบี้ยเร็วเกินไป   นางคริสตาลินา จอร์จีวา กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี (1 ก.พ.) ตามเวลาสหรัฐ เศรษฐกิจโลกจะเผชิญความเสี่ยงมากขึ้นถ้าธนาคารกลางเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไปเมื่อเทียบกับการลดดอกเบี้ยช้าไป…

ฮาเบา ๆ ที่เซาท์แอฟริกา จนท.จีนวิ่งตาม ปธน.สีจิ้นผิง ที่งาน BRICS โดน รปภ. ล็อกตัวปึงปัง คลิปถูกแชร์เป็นไวรัลสนั่น X

Loading

    ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ก้าวเข้าสู่ห้องประชุมเพลนารี ฮอลล์ ของการประชุมซัมมิตกลุ่มบริกส์ (BRICS) และเจ้าหน้าที่จีนซึ่งเป็นผู้ติดตามก็วิ่งเหยาะ ๆ จะตามไปสมทบ แต่ถูก รปภ. ล็อกตัวด้วยความเข้าใจผิด เมื่อคลิปถูกแชร์ต่อ ๆ กันออกไปจนเป็นคลิปไวรัลทั่วโลก ดรามาเล็ก ๆ นี้จึงกลายเป็นไฮไลต์ขำ ๆ ขโมยซีนงานบริกส์ซัมมิต ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีแห่งประเทศจีนก็ได้รับเสียงชื่นชมว่าสามารถรับมือกับสถานการณ์ขลุกขลักได้อย่างสุขุม ขณะเดียวกันยังแสดงถึงความเป็นห่วงลูกน้องออกมาให้เห็นกันไม่ใช่น้อย ๆ เลย   กลายเป็นคลิปไวรัลสนั่นโชเชียลมีเดีย เมื่อประธานาธิบดีสี จิ้นผิง แห่งประเทศจีนเข้าร่วมประชุมซัมมิตกลุ่มบริกส์ (BRICS) ครั้งที่ 15 ณ นครโจฮันเนสเบิร์ก แอฟริกาใต้ (22-24 สิงหาคม 2023) แล้วในวันพุธที่ 23 สิงหาคม ขณะก้าวเท้าไปบนแนวพรมแดงของโถงทางเดิน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านเข้าประตู VVIP สู่ห้องเพลนารี ฮอลล์ เพื่อขึ้นเวทีประชุมใหญ่ 5 ชาติ เจ้าหน้าที่จีนพร้อมป้ายชื่อคล้องคอและกระเป๋าเอกสาร ซึ่งซีเอ็นเอ็นคาดว่าเป็นล่ามติดตามประธานาธิบดี รีบร้อนสาวเท้าพุ่งตัวแกมวิ่งเหยาะ…