ติ๊กต๊อก : ทำไมโลกตะวันตกมองว่าบริษัทไอทีจีนเป็นภัยต่อความมั่นคง

Loading

    สภาคองเกรสของสหรัฐฯ เพิ่งเสร็จสิ้นการไต่สวนอย่างเคร่งเครียดกับนายโชว ซื่อ ชิว ซีอีโอของติ๊กต๊อก (Tik Tok) แอปพลิเคชันดูวิดีโอยอดนิยม หลังเกิดความระแวงสงสัยเรื่องความปลอดภัยของสื่อสังคมออนไลน์แพลตฟอร์มนี้ ซึ่งหลายประเทศกังวลว่าติ๊กต๊อกอาจมีสายสัมพันธ์ลับกับรัฐบาลจีน   ล่าสุดรัฐบาลสหรัฐฯขู่ว่า หากติ๊กต๊อกไม่ยอมขายกิจการในสหรัฐฯ ให้กับทางการ หรือยังคงยืนกรานจะอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัทแม่ที่จีนต่อไป รัฐบาลสหรัฐฯ จะออกคำสั่งแบนติ๊กต๊อก โดยห้ามชาวอเมริกันใช้งานแอปพลิเคชันนี้อย่างเด็ดขาด   ชาติตะวันตกหลายประเทศได้ดำเนินมาตรการสกัดกั้นบริษัทด้านเทคโนโลยีของจีน โดยนอกจากติ๊กต๊อกแล้วยังมีแอปพลิเคชันและสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจีนถูกสั่งแบนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเกรงว่าการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้จะทำให้ความลับสำคัญรั่วไหล จนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ   มีมาตรการอะไรบ้างที่จำกัดการใช้งานติ๊กต๊อก   ติ๊กต๊อกเป็นสื่อสังคมหรือโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มหนึ่ง ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างและเผยแพร่คลิปวิดีโอสั้น ๆ โดยบริษัทแม่ของติ๊กต๊อกคือ “ไบต์แดนซ์” (ByteDance) บริษัทด้านเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน   ติ๊กต๊อกเริ่มดำเนินกิจการในปี 2016 และได้กลายมาเป็นหนึ่งในสื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยมสามอันดับแรกของโลก โดยมีผู้ใช้งานถึงกว่า 1,000 ล้านคนต่อเดือน   อย่างไรก็ตาม ชาติตะวันตกและพันธมิตรหลายประเทศได้เริ่มจำกัดการใช้งานติ๊กต๊อกเมื่อไม่นานมานี้ โดยแคนาดา เบลเยียม เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ ไต้หวัน สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ออกคำสั่งให้ลบแอปพลิเคชันดังกล่าวออกจากสมาร์ทโฟนของหน่วยงานและองค์กรภาครัฐ…

หลายรัฐในอเมริกา หันมาแบนแอป ‘TikTok” มากขึ้น

Loading

USA-CONGRESS/TIKTOK   มีอย่างน้อย 22 รัฐในอเมริกาที่ได้ประกาศห้ามใช้แอปพลิเคชันยอดนิยม “ติ๊กตอก” (TikTok) บนอุปกรณ์ของรัฐ หลังจากที่รัฐสภาสหรัฐฯ​ เพิ่งออกกฎแบนแอปดังกล่าวเพราะกังวลเรื่องความปลอดภัย จากรายงานของสำนักข่าวเอพี   รัฐวิสคอนซิน และนอร์ธ แคโรไลนา เป็นสองรัฐล่าสุดที่ออกมาแบน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ รัฐมิสซิสซิปปี อินเดียนา หลุยส์เซียนา และเซาธ์ดาโกตา ได้ออกกฎห้ามไปแล้ว   TikTok เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดย ไบท์แดนซ์ (ByteDance) บริษัทสัญชาติจีนที่ย้ายสำนักงานใหญ่ไปตั้งที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อสามปีก่อน ไบท์แดนซ์ ได้ตกเป็นเป้าการโจมตีของผู้ที่มองว่า รัฐบาลจีนสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลผู้ใช้ TikTok ของบริษัทได้ เช่น ข้อมูลประวัติการท่องเว็บ (browsing history) และพิกัดของผู้ใช้ ซึ่งทำให้กองทัพสหรัฐฯ ได้ห้ามไม่ให้มีการใช้ TikTok บนอุปกรณ์สื่อสารของกองทัพ   TikTok เป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก และมีประมาณสองในสามของวัยรุ่นอเมริกันที่ใช้ TikTok อย่างไรก็ตาม มีความกังวลจากผู้แทนรัฐสภาจากพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันที่มองว่ารัฐบาลกรุงปักกิ่งอาจจะใช้อำนาจทางกฎหมายยึดเอาฐานข้อมูลของผู้ใช้ชาวอเมริกัน หรือจะพยายามผลักดันข้อมูลที่บิดเบือน หรือเนื้อหาที่มีลักษณะเชียร์จีนให้กับผู้ใช้ TikTok   FILE PHOTO:…

บริษัทแม่ TikTok เผย มีพนักงานแอบเข้าไปดูข้อมูลส่วนตัวของนักข่าวอเมริกัน

Loading

FILE PHOTO: Illustration shows TikTok app logo   บริษัทจีน “ไบต์เเดนซ์” (ByteDance) ซึ่งเป็นบริษัทเเม่ของแอป TikTok กล่าววันพฤหัสบดีว่าพนักงานจำนวน 4 คนของบริษัท เข้าไปดูข้อมูลส่วนตัวของนักข่าวสหรัฐฯ 2 ราย และเจ้าหน้าที่เหล่านั้นถูกไล่ออกในเวลาต่อมา ตามรายงานของรอยเตอร์   การกระทำอันไม่เหมาะสมนี้เกิดขึ้นเมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา และเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามสืบข้อมูลที่รั่วไหลของบริษัท โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อระบุความเชื่อมโยงของนักข่าว 2 รายกับพนักงานของบริษัท   อย่างไรก็ตาม การสืบสวนดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ ตามข้อมูลของผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายของ “ไบต์เเดนซ์” อิริช แอนเดอร์เซน   นิวยอร์กไทมส์คือสื่อฉบับเเรก ๆ ที่รายงานการเปิดเผยครั้งนี้ โดยเหตุการณ์นี้อาจสร้างแรงกดดันต่อเนื่องสำหรับ TikTok ซึ่งกำลังโดนรัฐบาลอเมริกันและนักการเมืองในสภาสหรัฐฯ เพ่งเล็งเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้ TikTok ในอเมริกา ที่มีอยู่กว่า 100 ล้านคน   รอยเตอร์อ้างเเหล่งข่าวที่ได้รับรายงานเรื่องนี้ ที่กล่าวว่าพนักงานไบต์แดนซ์ 4 คน ถูกไล่ออกเนื่องจากเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว โดยอยู่ในอเมริกา 2…

ผู้บริหาร TikTok ยอมรับพนักงานในประเทศจีนสามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาได้

Loading

  ติ๊กต่อก (TikTok) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นยอดนิยมของโลก ออกมายอมรับอย่างเป็นทางการว่า พนักงานที่อยู่ในประเทศจีนสามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกาได้ แต่อยู่ภายใต้การควบคุมความปลอดภัยอย่างเข้มงวด   ยังคงเป็นประเด็นอย่างต่อเนื่องสำหรับกรณีของติ๊กต่อก ซึ่งเคยมีรายงานก่อนหน้านี้ว่า พนักงานไบต์แดนซ์ (ByteDance) บริษัทแม่ของติ๊กต่อกในประเทศจีนบางส่วนสามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาได้ ก่อนที่โฆษกของติ๊กต่อกจะออกมายอมรับว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องจริง แต่ทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวด   Shou Zi Chew ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของติ๊กต่อก ได้เขียนจดหมายถึงวุฒิสมาชิกของสหรัฐฯ จำนวน 9 คน เพื่อตอบคำถามที่พวกเขาสงสัยในประเด็นเรื่องของความมั่นคงจากการที่ พนักงานไบต์แดนซ์ในประเทศจีน สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานในสหรัฐฯ ได้   ผู้บริหารสูงสุดของติ๊กต่อก ได้ตอบคำถามที่เป็นคำถามสำคัญของวุฒิสมาชิกของสหรัฐฯ มากที่สุด นั่นคือ เรื่องของการแบ่งปันข้อมูลให้กับรัฐบาลจีน ซึ่ง Shou Zi Chew ยืนยันว่า ไม่มีการแบ่งปันข้อมูลใดๆ ให้กับรัฐบาลจีน พร้อมทั้งบอกด้วยว่า ติ๊กต่อกมีการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างเข้มงวด   ในเวลาเดียวกัน ติ๊กต่อก ได้มีการทำความร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐฯ โดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งข้อมูลของผู้ใช้งานติ๊กต่อกในสหรัฐอเมริกา ได้จัดเก็บที่เซิร์ฟเวอร์ของบริษัทออราเคิล (Oracle) นอกจากนี้แล้ว โครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ของติ๊กต่อกหลังจากนี้…