Sberbank ของรัสเซียเปิดตัว GigaChat เพื่อแข่งกับ ChatGPT

Loading

  Sberbank ธนาคารรายใหญ่ของรัสเซียได้ประกาศเปิดตัว GigaChat แชตบอต AI ของตนเองที่มีเป้าหมายเพื่อแข่งขันกับ ChatGPT ของ Microsoft แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบ   การมาของ ChatGPT โดย OpenAI ได้กระตุ้นการแข่งขันในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี AI ส่งผลให้หลาย ๆ บริษัทพัฒนา AI ของตนเองขึ้น ในส่วนของ Sberbank เป้าหมายต้องการลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ Sberbank กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้ GigaChat แตกต่างจากคู่แข่ง คือ ความสามารถที่เหนือกว่าในการสื่อสารอย่างชาญฉลาดในภาษารัสเซียมากกว่าโครงข่ายต่างประเทศอื่น ๆ เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของตนใช้ภาษารัสเซียเป็นหลัก โดยต้องการให้ GigaChat ช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมแล้วเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของผู้คนและดำเนินธุรกิจในรัสเซีย โดยหวังพัฒนาสู่การแข่งขันในตลาดแชตบอตในไม่ช้า           ที่มา Reuters           —————————————————————————————————————————————— ที่มา :   …

ถึงเวลา…กำหนดมาตรฐาน AI ไทย แบบไหน ? ใช้งานได้ประโยชน์ !!

Loading

    เทคโนโลยี “ปัญญาประดิษฐ์” (Artificial intelligence) หรือ เอไอ (AI) ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมา ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน   เทคโนโลยี “ปัญญาประดิษฐ์” (Artificial intelligence) หรือ เอไอ (AI) ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมา ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และได้ถูกกล่าวถึงและถูกจับตาอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา   โเดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาชอง “ChatGPT” ที่เป็น “กระแสร้อนแรง” จนสั่นสะเทือนวงการ เอไอ เพราะเป็นแชตบอตสุดล้ำ สามารถสร้างข้อความตอบโต้กับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ถามอะไรตอบได้หมด!! จนมีความใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้นทุกที??   ต่อไป “ChatGPT” จะกลายเป็น Digital Disruption โลกใบนี้หรือไม่ เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายกำลังจับตามอง!! ว่าจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนของหลายอุตสาหกรรม!?!   การที่เอไอ มีการใช้งานแพร่หลายมาขึ้น ให้หลายประเทศทั่วโลก เร่งพัฒนามาตรฐาน และหลักธรรมาภิบาล ปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance) เพื่อมาใช้เป็นกรอบในการประยุกต์ใช้ AI เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับของสากล   แล้วประเทศไทยมีความพร้อมแค่ไหน? เมื่อทุกวันนี้ ก็เริ่มมีการนำเอไอมาใช้อย่างแพร่หลายเช่นกัน ซึ่งทาง ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance Clinic หรือ AIGC)  สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์…

AI ถูกใช้ในการแคร็กรหัสผ่าน แถมทำได้เร็วมาก ๆ ด้วย

Loading

  การมาของ ChatGPT และ Bard เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราได้รู้ว่า AI นั้นมีความสามารถมากขนาดไหน แต่ถึงอย่างนั้นทุกอย่างก็สามารถนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ AI ก็เช่นเดียวกัน   Home Security Heroes บริษัทด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้เผยแพร่ผลการศึกษาเกี่ยวกับ AI เรื่องการแคร็กรหัสผ่าน โดยการใช้เครื่องมือใหม่ที่เรียกว่า PassGAN (password generative adversarial network) ซึ่งใช้ AI เป็นตัวขับเคลื่อน   นักวิจัยได้ใช้ PassGAN ในการแคร็กรหัสผ่านกว่า 15 ล้านแบบ ผลการรันเครื่องมือดังกล่าวพบว่า รหัสผ่านทั่วไปกว่า 51% สามารถแคร็กได้ โดยใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที, 65% ใช้เวลาแคร็กต่ำกว่า 1 ชั่วโมง, 71% ใช้เวลาน้อยกว่า 1 วัน อีก 81% ใช้เวลาน้อยกว่า 1 เดือน    …

ส่องนโยบายใช้ ‘ChatGPT’ ช่วยทำงานในองค์กร

Loading

    ผมมีโอกาสได้เห็นเอกสารนโยบายการใช้ Generative AI อย่าง ChatGPT ของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในต่างประเทศรายหนึ่งระบุว่า ห้ามพนักงานใช้โดยเด็ดขาด   โดยเฉพาะในการทำเอกสารหรือจดหมายเพื่อติดต่อกับลูกค้า หรือแม้แต่จะช่วยเขียนโค้ดในการพัฒนาโปรแกรม ทั้งนี้บริษัทอนุญาตให้ใช้เฉพาะเพื่อการทดลองหรือการศึกษา และการใช้งานส่วนตัวเท่านั้น   จริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร เพราะในปัจจุบันหลายๆ บริษัทในต่างประเทศเริ่มที่จะออกนโยบายการใช้ Generative AI ในการช่วยทำงานของพนักงานหรือที่เรียกว่านโยบาย Generative AI Assistance (GAIA) และก็มีหลายบริษัทที่ประกาศห้ามการใช้งาน   ดังเช่น สถาบันการเงินต่างๆ อย่าง JPMorgan Chase,Bank of America, Goldman Sachs, Citigroup, Deutsche Bank และ Wells Fargo โดยเหตุผลหลักเป็นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลอ่อนไหวของลูกค้า   ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายบริษัทในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น Amazon, Verizon, และ Accenture ที่ออกนโยบายจำกัดการใช้งาน Generative AI ของพนักงานและให้ระมัดระวังการนำข้อมูลอ่อนไหวของบริษัทเข้าไปสู่ระบบ…

นักวิจัยใช้ช่องโหว่ ChatGPT สร้างมัลแวร์ขั้นสูงสำเร็จในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

Loading

  แอรอน มัลกรูว (Aaron Mulgrew) นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก Forcepoint เผยว่าเขาใช้ ChatGPT ในการสร้างมัลแวร์ที่ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ Zero-day ได้สำเร็จ   โดยปกติแล้ว ChatGPT มีระบบป้องกันการถูกนำไปใช้เพื่อสร้างมัลแวร์หรือสนับสนุนการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ แต่มัลกรูวพบช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้ทำเช่นนั้นได้   วิธีการก็คือให้ ChatGPT เขียนโค้ดมัลแวร์ทีละบรรทัด จากนั้นมัลกรูวก็ได้นำบรรทัดเหล่านี้มาผสมกันกลายเป็นมัลแวร์สำหรับขโมยข้อมูล   มัลแวร์ที่สร้างขึ้นนี้ยังปลอมตัวเป็นแอปสกรีนเซฟเวอร์ที่จะเปิดใช้งานแบบอัตโนมัติบน Windows มีความสามารถในการขโมยข้อมูล แตกไฟล์เป็นไฟล์เล็กไฟล์น้อยที่ซ่อนเข้าไปในไฟล์รูปภาพได้ และอัปโหลดขึ้นไปบนโฟลเดอร์ Google Drive ได้   นอกจากนี้ มัลกรูวยังใช้ ChatGPT ในการเสริมประสิทธิภาพให้กับมัลแวร์ที่เขียนขึ้นจน VirusTotal ไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยอีกต่างหาก   สิ่งที่น่ากลัวก็คือ การที่มัลกรูวซึ่งอ้างว่าตัวเองเป็นมือใหม่ในด้านการเขียนมัลแวร์สามารถทำจนสำเร็จได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง     ที่มา Android Authority         ————————————————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :     …

เป็นเรื่อง! พนักงาน Samsung Semiconductor เผลอทำ Source Code และข้อมูลสำคัญของบริษัทรั่วไหลใน ChatGPT

Loading

    เว็บไซต์ TechRadar รายงานว่า พนักงานในแผนกเซมิคอนดักเตอร์ของ Samsung ได้ก่อความผิดพลาดครั้งใหญ่ด้วยการปล่อยให้ข้อมูลความลับสำคัญของบริษัท ได้แก่ Source Code สำหรับโปรแกรมใหม่, รายงานการประชุมภายในของบริษัท และข้อมูลเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ รั่วไหลโดยบังเอิญ ระหว่างการใช้งานโปรแกรมแชตบอตปัญญาประดิษฐ์ชื่อดัง ChatGPT   รายงานข่าวดังกล่าว ระบุว่า พนักงานของ Samsung ได้กรอกคำสั่งให้ ChatGPT ทำการทดสอบเพื่อตรวจจับข้อบกพร่องในชิป ซึ่งเป็นกระบวนการที่เป็นความลับสูง เนื่องจากต้องการประหยัดเวลาและงบประมาณในการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการทดสอบและตรวจสอบโปรเซสเซอร์ของบริษัท   นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งกรณีที่พนักงานใช้งาน ChatGPT เพื่อแปลงบันทึกการประชุม ซึ่งบริษัทไม่ต้องการให้บุคคลภายนอกเห็นเป็นพรีเซนเทชัน   ทันทีที่รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น Samsung ได้สั่งลงโทษพนักงานที่สร้างความผิดพลาด พร้อมออกประกาศคำเตือนถึงพนักงานที่เหลือของบริษัทในการใช้ ChatGPT และการรักษาความลับของบริษัทในทันที   ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ข้อมูลที่รั่วไหลไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ OpenAI ผ่าน ChatGPT จะไม่สามารถกู้หรือลบทิ้งได้ ซึ่งปัญหานี้อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของ Samsung   เว็บไซต์ The Economist รายงานว่า เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น…