‘ChatGPT’ ดาบสองคม เขย่าสมรภูมิไซเบอร์

Loading

    ความพยายามของมนุษย์ในการจำลองและถอดรหัสความนึกคิดของมนุษย์ทำให้วันนี้โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่ง “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ “เอไอ” สมองกลอัจฉริยะสุดล้ำที่กำลังเข้ามาพลิกโฉมการทำงานและการใช้ชีวิต…   ฌอน ดูก้า รองประธาน และหัวหน้าหน่วยระบบรักษาความปลอดภัย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และญี่ปุ่น พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ แสดงทัศนะว่า การค้นหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ควรเป็นเรื่องที่ไม่มีพิษไม่มีภัย แต่ในความเป็นจริงทุกสิ่งอาจดีหรือร้ายขึ้นอยู่กับมนุษย์ผู้นำไปใช้   ในมุมของเอไอที่เป็นที่ฮือฮาอย่างมากขณะนี้หนีไม่พ้น “ChatGPT” บอตเอไอแบบข้อความซึ่งอาศัยความสามารถของเอไอขั้นสูง ที่ทำได้ทั้งการแก้บั๊กในการเขียนโค้ด การเขียนสูตรอาหาร การสร้างแอนิเมชัน 3 มิติ ไปจนถึงการแต่งเพลงใหม่ได้ทั้งเพลง     เรียกได้ว่า ChatGPT ได้แสดงศักยภาพของเอไอที่น่าตกใจในการปลดล็อกความสามารถใหม่ ๆ ที่เหลือเชื่ออีกทางหนึ่งหลายคนก็มองว่าเอไอเป็นดาบสองคม   อันตรายยิ่งกว่าฝีมือมนุษย์   ต่อคำถามที่ว่า แชตบอตยุคใหม่สร้างปัญหาจริงหรือไม่ นับตั้งแต่การเปิดตัว ChatGPT เมื่อปลายเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา บรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักวิจารณ์ด้านเทคโนโลยีต่างกังวลถึงผลกระทบของเครื่องมือสร้างคอนเทนต์จากเอไอ   โดยเฉพาะในด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ว่าซอฟต์แวร์เอไอจะทำให้อาชญากรรมทางไซเบอร์กระจายไปทั่วหรือไม่   เหตุเพราะว่า แม้แต่แฮ็กเกอร์มือสมัครเล่นก็อาจใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อพัฒนาโปรแกรมมัลแวร์อัจฉริยะและลอบโจมตีเป้าหมายโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกัน  …

เพราะอะไรถามคำถาม AI แล้วได้คำตอบผิด ๆ ในบางครั้ง

Loading

    จากการเปิดตัวเสิร์ชเอนจิน Bing เวอร์ชันใหม่ล่าสุดของ Microsoft ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สิ่งที่มีความแตกต่างจากเสิร์ชเอนจินเจ้าอื่น ๆ ในตลาด คือ มีระบบแชตบอตที่สามารถให้คำตอบที่บรรยายเป็นคำพูดพร้อมกับความชัดเจน และกระชับเข้าใจได้อย่างง่ายยิ่งขึ้น   แต่หลังจากเปิดให้ใช้งานแชทบอทผู้ใช้ก็ได้สังเกตเห็นบางสิ่งบางอย่างที่แชทบอทยังให้คำตอบที่ไม่ถูกต้องที่ส่งผลให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดได้   เพื่อทำความเข้าใจทั้งหมดว่ามันเกิดอะไรขึ้น เราก็ต้องมารู้ว่าหลักการทำงานของแชตบอตมันทำงานได้อย่างไรเสียก่อน     1. เรานับว่าแชตบอต AI ทั้งหลายมีชีวิตหรือไม่ ?   คำตอบก็คือ ไม่มีชีวิต   ก็ดูแล้วเมื่อเราได้ถามคำถามไปยังแชตบอต แล้วรูปประโยคที่แชตบอตให้คำตอบออกมาก็ดูมีชีวิตเหมือนกับมนุษย์ตอบกลับมา สิ่งที่แชตบอตทำงานได้เพราะมีการขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า โครงประสาทเทียม หรือ Neural Network ที่ฟังดูแล้วก็เหมือนสมองคอมพิวเตอร์ แต่คำนี้แหละที่ทำให้คนเข้าใจผิดไปกันใหญ่   โครงสร้างประสาทเทียม หรือ Nerual Network เป็นระบบคณิตศาสตร์ที่มีการเรียนรู้ทักษะจากการได้รับข้อมูลดิจิทัลที่มีการป้อนข้อมูลอยู่ตลอดเวลา   ในชีวิตประจำวันมนุษย์มีการใช้งานโครงข่ายประสาทเทียมอยู่ทุกวันโดยที่ไม่รู้ตัวเช่น เทคโนโลยีระบุตัวบุคคล, สัตว์ และสิ่งของที่อยู่ใน Google Photos, ผู้ช่วยคำสั่งเสียง Siri และ Alexa…

ChatGPT คืออะไร ทำอะไรได้บ้าง คนจะอยู่ได้ยังไง? ถ้า AI ทำงานคล้าย ๆมนุษย์

Loading

    ChatGPT คืออะไร วันนี้เรารวบรวมข้อมูลมาอธิบายสั้น ๆ ให้คุณสามารถเข้าใจได้ และปัจจุบัน ChatGPT ทำอะไรได้บ้าง เชื่อถือได้ไหม และอนาคตมันจะมาแย่งงานเราได้หรือเปล่า   ChatGPT (Chat Generative Pre-trained Transformer) คือ แชทบอทที่สามารถพิมพ์คำถามหรือคำสั่งเข้าไปและสามารถตอบได้ในรูปแบบบทสนทนา     ซึ่ง ดร.ปรัชญา บุญขวัญ นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้อธิบายที่มาของ ChatGPT ว่าเป็นการทำงานคล้ายกับว่าเป็นการเดาคำและจับคู่คำที่ทำได้อย่างแม่นยำ โดยเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม ChatGPT จึงดูเก่งและฉลาดมาก     ChatGPT ทำอะไรได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วยงานเขียนวิจัย ร่างฟอร์มอีเมลหรือจดหมาย รวมถึงการหาข้อมูลต่าง ๆ ในเชิงลึกที่รวดเร็วกว่าการค้นหากูเกิล ทำได้แม้กระทั่งการเขียนโปรแกรม   ChatGPT เบื้องหลังมี 3 ส่วนเล็ก ๆ ได้แก่   1.Transformer Model ทาง AI…

แฮ็กเกอร์บุกแชตบอต สร้าง ChatGPT ปลอมทำหน้าที่กระจายมัลแวร์

Loading

  แชตบอต (ChatBot) กลายเป็นกระแสหลักเรียบร้อยแล้ว เมื่อแฮกเกอร์ ผู้ไม่ประสงค์ดีบนโลกอินเทอร์เน็ต เดินหน้าสร้าง ChatGPT ปลอม โดยมีจุดมุ่งหมายหลักสำหรับกระจายมัลแวร์ (Malware)   ChatGPT กลายเป็นแอปพลิเคชันที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก แล้วด้วยกระแสความแรงที่ว่านี้ ส่งผลให้แฮกเกอร์ได้นำแชตบอตมาเป็นอาวุธใหม่สำหรับการหลอกลวงผู้คนบนโลกอินเทอร์เน็ต   ChatGPT ขึ้นแท่นแอปพลิเคชันเติบโตเร็วที่สุดในโลก มีผู้ใช้งานต่อเดือนมากกว่า 100 ล้านคน   โดมินิก อัลวิเอรี นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เปิดเผยว่า ได้ค้นพบการพัฒนา ChatGPT ปลอมบนโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก โดยหน้าที่ของ ChatGPT ปลอมเหล่านี้ มีหน้าที่หลักในการกระจายมัลแวร์ และโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ   พร้อมกันนี้ ยังได้พบการจดโดเมนที่มีความเกี่ยวข้องกับ ChatGPT ไม่ต่ำกว่า 1.4 พันโดเมน แม้ว่าโดเมนเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำไปใช้ในแนวทางที่เลวร้ายทั้งหมด แต่โดเมนบางส่วนก็ถูกจดนำไปใช้ในด้านที่ไม่ดีเรียบร้อยแล้วเช่นกัน   ในช่วงที่ผ่านมา บรรดาแอปพลิเคชัน ChatGPT ปลอม พยายามโน้มน้าวและหลอกลวงผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตว่า มีแอปพลิเคชัน ChatGPT สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows เมื่อเหยื่อหลงกลก็จะติดมัลแวร์…

สื่อเผยจีนห้ามยักษ์ใหญ่เทคโนฯให้บริการ “ChatGPT” หวั่นถูกสหรัฐใช้เป็นเครื่องมือ

Loading

    หน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบจีนสั่งห้ามบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของจีนให้บริการแชตจีพีที (ChatGPT) ต่อสาธารณชนท่ามกลางกระแสความวิตกกังวลในจีน เกี่ยวกับกรณีที่ ChatGPT ตอบคำถามผู้ใช้งานแบบไม่มีการเซ็นเซอร์คำตอบ   สำนักข่าวนิกเกอิเอเชีย รายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข่าวว่า เทนเซ็นต์ โฮลดิงส์ และแอนท์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทฟินเทคในเครืออาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิง ถูกทางการจีนสั่งห้ามเสนอบริการ ChatGPT บนแพลตฟอร์มของทางบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงแบบโดยตรงหรือผ่านบุคคลที่สามก็ตาม   ขณะเดียวกันแหล่งข่าวระบุว่า บริษัทเทคโนโลยีในจีนต้องรายงานให้หน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบจีนรับทราบ ก่อนที่จะดำเนินการเปิดตัวบริการแชตบอตสไตล์ ChatGPT ของตนเอง   รายงานระบุว่า ChatGPT ที่พัฒนาโดยโอเพ่นเอไอ (OpenAI) และได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์นั้นไม่ได้มีการเปิดบริการอย่างเป็นทางการในจีน แต่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบางรายสามารถเข้าใช้บริการ ChatGPT ผ่านเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) ขณะเดียวกันยังมี “โปรแกรมขนาดเล็ก” (Mini Program) หลายสิบโปรแกรม ที่บรรดานักพัฒนาบุคคลที่สามเปิดตัวบนแอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์วีแชท (WeChat) ของเทนเซ็นต์ ซึ่งอ้างว่าสามารถให้บริการ ChatGPT ได้   ภายใต้แรงกดดันด้านกฎระเบียบ เทนเซ็นต์จึงแก้ปัญหาด้วยการระงับบริการของบุคคลที่สาม ไม่ว่าบริการเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับ ChatGPT หรือเป็นเพียงโปรแกรมลอกเลียนแบบก็ตาม…

ไม่รอด! สแกมเมอร์บุก ChatGPT ปั่น AI ไว้หลอกลวงผู้คน

Loading

  เมื่อ ChatGPT กลายเป็นเครื่องมือของเหล่านักเขียน นักเล่าเรื่อง ที่เป็นกระแสเรียกความสนใจจากคนทั่วโลก โดย AI ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการแบ่งเบาภาระให้กับการทำงานแบบเดิม แม้จะมีปัญหาตรงที่ยังสู้คนเขียนจริง ๆ ไม่ได้ แต่เรื่องของการพัฒนาระบบถือว่าใช้ได้   ดังนั้น ChatGPT จึงกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือให้เหล่าแฮ็กเกอร์ใช้ในการสร้างเรื่องหลอกลวงผู้คนทั้งข้อมูลส่วนตัวและหลอกเงิน ผ่านข้อความที่ไม่สามารถคาดเดาได้เลยและยังไม่มีวิธีป้องกันอันตรายจากภัยคุกคามเหล่านี้ได้ด้วย   อย่างไรก็ตาม ChatGPT ยังมีประโยชน์ในแง่ของการใช้งานเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมาก แต่ด้วยความเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่มีการป้องกันที่รัดกุม ทำให้แฮ็กเกอร์เอง ก็กำลังเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ในการนำไปใช้ในการหลอกลวงผู้คนเช่นกัน     มัลแวร์ (Malware)   เหล่าแฮ็กเกอร์ใช้รูปแบบของการติดไวรัสในอุปกรณ์บางอย่าง จากนั้นระบบปฏิบัติการณ์จะสั่งให้อัปเดตอุปกรณ์เพื่อป้องกันมัลแวร์   จากนั้นก็จะใช้การแจ้งเตือนให้ประชาชนทั่วไปรู้สึกถึงแรงอันตรายจนนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีต้องออกมาเตือนถึงปัญหาภัยคุกคาม   ซึ่ง ChatGPT มีความสามารถในการเขียนโค้ดที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะ AI ที่มีความสามารถในการเขียนมัลแวร์แบบโพลีมอร์ฟิค ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยังไม่สามารถตรวจจับหรือป้องกันได้   นอกจากนี้ เหล่าแฮคเกอร์ยังใช้ ChatGPT เขียนโค้ดอันตรายมาก ๆ ให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าพวกเขากำลังโดนหลอกจากการหลอกโจมตีด้วยมัลแวร์แบบ 24 ชั่วโมง  …