Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เผยรายงานมัลแวร์บน Android ปลอมตัวเป็นแอป ChatGPT หลอกเหยื่อผู้ใช้สมาร์ตโฟนในไทย

Loading

  กรุงเทพฯ – 31 กรกฎาคม 2566, พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ล่าสุดพบว่ามัลแวร์บน Android ที่แอบอ้างเป็นแชตบอต AI ชื่อดังอย่าง ChatGPT มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยถูกปล่อยออกมาพร้อมกับการเปิดตัว GPT-3.5 และ GTP-4 ของ OpenAI เพื่อมุ่งเป้าไปที่เหยื่อที่มีความสนใจในเครื่องมือ ChatGPT   โทรจัน Meterpreter ที่ปลอมตัวเป็นแอป “SuperGPT” และ “ChatGPT” มีพฤติกรรมในการส่งข้อความพิเศษค่าบริการราคาแพงไปยังหมายเลขโทรศัพท์ในไทย ทำให้ผู้ใช้โดนคิดเงินอย่างไม่รู้ตัวและสร้างรายได้แก่คนร้ายมหาศาล ที่น่ากังวลก็คือ ผู้ใช้ Android สามารถดาวน์โหลดแอปได้จากหลายช่องทางนอกเหนือไปจาก Google Play Store ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่ผู้ใช้จะได้รับแอปซึ่งไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจาก Google   ข้อมูลสำคัญที่น่าสนใจมีดังนี้   •   การปลอมตัวเป็น ChatGPT: มัลแวร์ใหม่บน Android มีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยปลอมตัวเป็น ChatGPT และถูกปล่อยออกมาในช่วงที่มีการเปิดตัว GPT-3.5…

ฟ้อง! OpenAI ใช้ข้อมูลสาธารณะฝึก ChatGPT

Loading

    กลุ่มบุคคลนิรนามบริษัท โอเพ่นเอไอ (OpenAI) ฐานใช้ข้อมูลสาธารณะเพื่อฝึกปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) อย่างแชตจีพีที (ChatGPT)   ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) ชื่อดังอย่าง แชตจีพีที (ChatGPT) ของบริษัท โอเพ่นเอไอ (OpenAI) กลายเป็นดราม่าอีกครั้ง เมื่อกลุ่มบุคคลนิรนามรวมตัวกันเพื่อฟ้องร้องบริษัท โอเพ่นเอไอ ต่อศาลแขวงของสหรัฐอเมริกา เขตทางตอนเหนือของแคลิฟอร์เนีย ฐานใช้ข้อมูลสาธารณะเพื่อฝึกเอไอ ซึ่งละเมิดกฎหมายความเป็นส่วนตัว     คำฟ้องของกลุ่มคนนิรนาม   โดยกลุ่มบุคคลนิรนามระบุเอกสารในการยื่นฟ้องว่าบริษัท โอเพ่นเอไอได้คัดลอกข้อความบนอินเทอร์เน็ตกว่า 3 แสนล้านคำ เพื่อฝึกเอไอ ซึ่งเป็นข้อมูลสาธารณะที่อยู่บนวิกิพีเดีย (Wikipedia) และบนเฟซบุ๊ก (Facebook)   “แม้จะมีสนธิสัญญาชั้นต้นที่กำหนดไว้สำหรับการซื้อและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล แต่จำเลยกลับใช้วิธีการที่แตกต่างออกไป นั่นคือการโจรกรรม พวกเขาคัดแยกคำศัพท์ 3 แสนล้านคำจากอินเทอร์เน็ต, หนังสือ, บทความ, เว็บไซต์และโพสต์ รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้มาโดยไม่ได้รับความยินยอม” – ข้อความที่ระบุไว้ในเอกสารยื่นฟ้องที่มีความยาวกว่า 157 หน้า   โดยกลุ่มผู้ฟ้องร้องได้อ้างถึงพระราชบัญญัติการฉ้อฉลและการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นกฎหมายต่อต้านการแฮ็กของรัฐบาลกลาง…

ข้อควรระวัง ‘ChatGPT’ ผู้เชี่ยวชาญระบุมีข้อมูลรั่ว ขายบนเว็บมืดมากที่สุด

Loading

  ข้อควรระวังใช้ ‘ChatGPT’ ผู้เชี่ยวชาญระบุพบข้อมูลรั่วไหลกว่า 1 แสนเครื่องส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลจากระบบ chatgpt ถูกโจรกรรมปล่อยขายบนเว็บมืด เอเชียแปซิฟิกข้อมูลหลุดมากที่สุด   “ChatGPT” ระบบปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง หรือ AI ที่ถูกพัฒนาขีดความสามารถให้ตอบสอนได้คล้ายกับมนุษย์มากที่สุด โดย ChatGPT ได้รับการออกแบบมาให้มีการสนทนากับมนุษย์ในลักษณะที่แยกไม่ออกจากการสนทนาระหว่างมนุษย์ ส่งผลให้ที่ผ่านมาโปรแกรมดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างมาก จนมีผู้เชี่ยวชาญออกมาบอกว่าเจ้า “ChatGPT” อาจจะสามารถเข้ามาแทนที่มนุษย์ในบางอาชีพได้เลย   หลังจากที่มีการเปิดตัว “ChatGPT” มีผู้ใช้งานสูงกว่า 50 ล้านคน และคาดว่าจะมีผู้ใช้งานหน้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสามารถทำงานได้ดีสามารถตอบได้ทุกข้อสงสัย หากเปรียบเทียบกับการทำงานของ Google นั้นเรียกได้ว่าทำงานได้ละเอียดและสามารถหาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนได้มากกว่า อย่างไรก็ตาที่ผ่านมา “ChatGPT” เติบโตอย่างรวดเร็วแซงหน้าแพลตฟอร์มอื่น ๆ แน่นอนว่าการเติบโตของเทคโนโลยีที่รวดเร็วมากขึ้นย่อมส่งผลเสียได้เช่นกัน   ผู้เชี่ยวชาญระบุไว้ว่า แท้จริงแล้ว “ChatGPT” ก็มีข้อเสียที่ควรจะระวัง เพราะที่ผ่านมาความนิยมของแพลตฟอร์มดังกล่าวไปเร็วและแรงมาก เพียงแค่เวลา 2 เดือนกลับมีคนทั่วโลกใช้งานไปแล้วกว่า 50 ล้านคน ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีและดิจิทัลเติบโตไปเร็วมากๆ และแม้ว่าเทคโนโลยีจะทำให้การทำงาน หรือการทำธุรกิจเกิดความได้เปรียบ ต้องทำความเข้าใจว่า…

เปิดมุมมองความปลอดภัยไซเบอร์

Loading

    ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการจัดงาน Trend Micro Risk to Resilience World Tour โดยมีผู้เชี่ยวชาญได้มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมไปถึงการวางกลยุทธ์รับมือภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน จึงอยากมาแชร์มุมมองต่างๆ เพราะปัจจุบันเรื่องภัยไซเบอร์นับว่าเป็นปัญหาใกล้ตัวทุกคนเป็นอย่างมาก   เริ่มกันที่ ชัชวัฒน์ อัศวรักวงศ์ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ (CISO) กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เล่าถึงสถานการณ์ที่ธุรกิจต้องรับมือกับการโจมตีว่า ในวันที่ธุรกิจธนาคารต้องยกระดับ ดิสรัปต์ตัวเองเข้าสู่ดิจิทัล เพื่อลดต้นทุนและเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้ทุกธนาคารต้องรับมือการโจมตีในรูปแบบคล้ายๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น มัลแวร์ แรนซัมแวร์ หากใครมีจุดอ่อนหรือช่องโหว่ให้แฮกเกอร์เห็นก็จะถูกโจมตีทันที ขณะที่การโจมตี DDoS ยังมีอยู่ตลอดและไม่ได้ลดลง   ขณะที่บางองค์กรถูกโจมตีผ่าน Third Party เพราะเปิดให้พนักงานนำเครื่องมือส่วนตัวมาเชื่อมกับเน็ตเวิร์กในองค์กร หรือการนำเครื่องจากองค์กรกลับไปทำงานต่อที่บ้าน ซึ่งองค์กรจะต้องตระหนักว่าการทำงานลักษณะนี้มันปลอดภัยหรือไม่ และองค์กรพร้อมรับมือจากการถูกโจมตีรูปแบบนี้ไหม หรือในปัจจุบันที่ ChatGPT เข้ามาช่วยให้คนทำงานง่ายขึ้น ที่ผ่านมามีหลายองค์กรนำโค้ดหรือช่องโหว่องค์กรไปถาม ChatGPT ว่าสิ่งที่ทำอยู่มันดีหรือไม่ เพียงเพราะอยากให้ ChatGPT ช่วยแนะนำ กลับกลายเป็นว่าข้อมูลบริษัทของตัวเองรั่วไหลออกไปสู่โลกออนไลน์…

หยุดวิกฤตวันสิ้นโลก: AI อันตรายกับองค์กรของคุณอย่างไร

Loading

    เครื่องมือ AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ก็จริง แต่ก็ทำให้ชีวิตของวายร้ายไซเบอร์สะดวกขึ้นด้วยเช่นกัน งานวิจัยจาก Salesforce ให้ข้อมูลว่าผู้บริหารอาวุโสฝ่ายไอทีราว 2 ใน 3 (67%) ให้ความสำคัญกับ Generative AI (AI เชิงสร้างผลงาน) ในอนาคตอันใกล้นี้ ขณะเดียวกันราว 71% ก็เชื่อว่า AI จะนำมาซึ่งความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ     ข้อมูลจากสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยระบุว่า ประเทศไทยมีการใช้ AI อย่างแพร่หลาย ทั้งในระดับผู้ประกอบการไปจนถึงหน่วยงานภาครัฐ โดยส่วนใหญ่ตื่นตัวในการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในองค์กร ขณะเดียวกันรายได้ของบริษัทสตาร์ตอัปด้านการพัฒนา AI ของไทยก็เพิ่มขึ้น 25% ในปี 2565 และคาดการว่าเพิ่มขึ้นราว 35% ในปี 2566   ปัจจุบันคนร้ายได้ใช้ ChatGPT และ Generative AI เพื่อช่วยเขียนโค้ดอันตราย (และอวดผลงานระหว่างกันในกลุ่มนักพัฒนา) ขณะที่ฝ่ายสนับสนุน ChatGPT…

เปิดเทคนิคการโจมตี ด้วย ‘ChatGPT’ แบบใหม่

Loading

  ปัจจุบัน ChatGPT ได้รับความสนใจจากผู้ใช้งานเป็นวงกว้างและคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจุดนี้เองนี้ที่ทำให้เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์มองเห็นโอกาสและช่องโหว่ในการบุกเข้าโจมตีเหยื่อ   ในวันนี้ผมจะขออธิบายเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่นี้เพื่อเป็นการตั้งรับกับสิ่งที่เราต้องเผชิญในเร็ว ๆ นี้กันนะครับ   ก่อนอื่นเลยผมขอพูดถึงเรื่องเทคนิคการโจมตีทางไซเบอร์แบบใหม่ที่ได้รับการขนานนามในวงการว่า “AI package hallucination” โดยได้รับการเปิดเผยจากทีมนักวิจัยว่า มีการใช้โมเดลภาษา OpenAI ChatGPT ทำให้แฮ็กเกอร์สามารถปล่อยสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าไปในระบบที่นักพัฒนาทำงานอยู่   ChatGPT จะสร้างสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น URL ตัวอย่างอย่างอิงอ้าง (Reference) ไลบรารีโค้ด (Library code) และฟังก์ชันที่ไม่มีอยู่จริงขึ้นมาใหม่ โดยการปลอมแปลงโมเดลภาษาขนาดใหญ่หรือ LLM ซึ่งได้มีการรายงานแจ้งเตือนและอาจเป็นผลลัพธ์ที่ได้มาจากการเทรนนิ่งก่อนหน้านี้แล้ว   ทั้งนี้แฮ็กเกอร์จะใช้ความสามารถสร้างรหัสของ ChatGPT และใช้ประโยชน์จากไลบรารีโค้ดที่สร้างขึ้นเป็นแพ็กเกจเพื่อหลอกลวงและเผยแพร่ออกสู่โลกไซเบอร์ผ่าน typosquatting หรือ masquerading   เทคนิคนี้จะดำเนินการผ่านการตั้งคำถามกับ ChatGPT เพื่อขอแพ็คเกจการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโค้ดและขอคำแนะนำแพ็กเกจที่หลากหลาย รวมไปถึงการขอบางแพ็คเกจที่ไม่ได้เผยแพร่ในที่เก็บข้อมูลที่ถูกกฏหมาย   จากนั้นจะเริ่มกระบวนการต่อไปคือการแทนที่แพ็กเกจเหล่านี้ทั้งหมดด้วยแพ็คเกจปลอมต่าง ๆ ซึ่งแฮ็กเกอร์จะหลอกล่อผู้ที่มีแนวโน้มจะใช้ตามคำแนะนำของ ChatGPT   ทั้งนี้ จากการทำ…