Google Chrome ระบุ ขอติดตามข้อมูลระหว่างใช้โหมดไม่ระบุตัวตน

Loading

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2020, Google ถูกฟ้องร้องกรณีโหมดไม่ระบุตัวตนหรือ Incognito Mode ยังมีการเก็บข้อมูลโดยไม่แจ้งผู้ใช้งาน หลังจาก Google ยอมความในคดีนี้แล้ว ก็มีการปรับข้อความเพื่อความโปร่งใสขึ้นเล็กน้อย

กูเกิล จ่ายค่าปรับส่งท้ายแสนล้าน Incognito ไม่ลับจริงแอบเก็บข้อมูลลูกค้า

Loading

รอยเตอร์สรายงานว่า บริษัทกูเกิล อิงค์ ได้ตกลงยอมความในศาลที่แคลิฟอร์เนียวันนี้ (29 ธ.ค.) กรณีที่ถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอย่างน้อย 5,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.7 แสนล้านบาท) ซึ่งผู้เสียหายอ้างว่าโหมดปกปิดตัวตน (Incognito) ในเบราเซอร์กูเกิลโครม (Chrome) ยังคงมีการแอบเก็บข้อมูลผู้ใช้งานนับล้านคน ทั้งที่ผู้ใช้งานเลือกเข้าโหมดนี้ เพื่อเข้าดูเว็บไซต์ต่าง ๆ อย่างเป็นความลับ

พบช่องโหว่ Zero-day ใหม่บน Chrome รอบ 6 ในปี 2023 รีบอัปเดตเพื่อปิดช่องโหว่

Loading

Google ได้เปิดตัวการอัปเดตความปลอดภัยที่สำคัญสำหรับผู้ใช้ Chrome บนระบบปฏิบัติการ Windows, Mac และ Linux เพื่อแก้ไขช่องโหว่แบบ Zero-day ชื่อ CVE-2023-6345 ถูกค้นพบโดย Threat Analysis Group ของ Google เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยไม่มีอธิบายรายละเอียดไว้เพื่อหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลแก่กลุ่มแฮ็กเกอร์

เทคนิคใหม่ ใช้ช่องโหว่ iFrame ขโมยข้อมูลจากหน้าเว็บ

Loading

iFrame ย่อมาจาก inline frame เป็นองค์ประกอบของ HTML ที่ใช้เพื่อฝังเนื้อหาจากเว็บไซต์อื่นลงในหน้าเว็บเราหรือเว็บอื่นได้ ตัวอย่างเช่น เราสามารถใช้ iFrame เพื่อฝังวิดีโอจาก YouTube หรือแผนที่จาก Google Maps ลงในหน้าเว็บเรา

Google เตรียมใช้เทคโนโลยีควอนตัมบน Chrome เพื่อให้ทำงานดีขึ้น

Loading

  เทคโนโลยีควอนตัม ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีการพูดถึงมากในช่วง 1-2 ปีนี้ เพราะเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ดีเยี่ยม แต่นักวิชาการหลายฝ่ายก็ยังกังวลว่าจะเป็นตัวทำลายเทคโนโลยีดั้งเดิม ทำให้ทุกอย่างเหมือนรีเซ็ทใหม่   มีความกังวลของผู้เชี่ยวชาญหลายราย ที่ออกมาเตือน Google ในการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมว่า อาจจะเป็นบ่อนทำลายเทคโนโลยีเดิมหลายอย่าง และอาจจะรุนแรงถึงขั้นข้อมูลสำคัญสูญหาย ด้าน Google ยังเงียบ   เทคโนโลยีควอนตัม ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีการพูดถึงมากในช่วง 1-2 ปีนี้ เพราะเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่คาดว่าจะเป็นตัวทำลายเทคโนโลยีดั้งเดิม อาจทำให้เกิดทั้งข้อดี-ข้อเสีย ไม่ว่าจะเป็นความได้เปรียบ-เสียเปรียบทางเศรษฐกิจ ทั้งรัฐและเอกชนทั่วโลก   อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้ก็ยังมีเรื่องดีในแง่ของงานวิจัยและการคำนวณ แต่เป็นผลร้ายในแง่ของการรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูล   โดย Google ได้นำควอนตัมมาใช้จริงในเทคโนโลยีบางส่วนมาใช้ปฏิบัติจริงใน Chrome ซึ่งความน่ากังวลคือเทคโนโลยีนี้จะกระทบการเข้ารหัสแบบใหม่ที่อาจจะถูกทำลายด้วยควอนตัมก็เป็นได้   การผสานรวมเทคโนโลยีที่เรียกว่า X25519Kyber768 ซึ่งเป็นชื่อของอัลกอริทึมการเข้ารหัสแบบไฮบริด การรวมทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันหมายความว่า ข้อมูลได้รับการปกป้องทั้งอัลกอริธึมเดิมที่ปลอดภัยดีอยู่กับข้อมูลที่ได้รับการป้องกันจากควอนตัมคอมพิวเตอร์   นอกจากนี้ การอัปเดตเทคโนโลยีใหม่ๆ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของ Google เพื่อ “เตรียมตัวสำหรับการย้ายข้อมูลบนเว็บไซต์ ไปยังการเข้ารหัสแบบควอนตัมที่ดีขึ้น”   Devon O’Brien ผู้จัดการโปรแกรมทางเทคนิคของ…

รู้จัก N-Day ไวรัสแฝงบน Chrome ที่ Google แก้เผ็ดด้วยการอัปเดตทุกสัปดาห์

Loading

  จำนวนผู้ใช้งาน Chrome ที่มีกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก กลายเป็นเรื่องสำคัญ Google จำเป็นต้องเพิ่มความปลอดภัย ล่าสุด Google เรียกความมั่นใจจากผู้ใช้งานว่า Chrome ปลอดภัยจากช่องโหว่ Zero-day และ n-day แล้ว   การใช้ประโยชน์จาก N-day คืออะไร   Amy Ressler ทีมรักษาความปลอดภัยของ Chrome เล่าว่า ช่องโหว่ N-day คือการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของโปรแกรมระหว่างที่กำลังแก้ไขปัญหา ผ่านทางโครงการที่ชื่อ Chromium ซึ่งเป็นโอเพ่นซอร์สที่เปิดให้ทุกคนแอบดูซอร์สโค้ดเพื่อนำไปใช้ในการร่วมกันปรับปรุงและแก้ไขไวรัส   แต่มีคนดีก็ต้องมีคนร้าย ซึ่งคนร้ายแอบนำซอร์สโค้ดเหล่านี้ไปใช้แทรกซึมและแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ในช่วงที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์กำลังแก้ไขปัญหาและผู้ใช้งานรุ่นเบต้า จะฟีดแบ็กปัญหาต่าง ๆ กลับมา เมื่อได้รับการแก้ไข ก็ค่อยปล่อยออกสู่สาธารณะ   ซึ่งระหว่างนี้ อาชญากรไซเบอร์และผู้คุกคาม จะเอารุ่นเบต้าไปแอบปล่อยด้วยข้อความดึงดูดและหลอกลวงเพื่อหาผลจากช่องโหว่นั่นเอง   เมื่อมีการเปิดแพตช์ หรือตัวปรับปรุงแก้ไขสู่สาธารณะ ก็กลายเป็นช่องโหว่ให้กับผู้ใช้งานที่ไม่ได้ติดตั้งแพตช์ แฮ็กเกอร์ก็สามารถหาประโยชน์จากแพตช์ที่มีปัญหาเหล่านี้ได้อีก   นั่นจึงกลายเป็นที่มาของคำว่า “การแสวงหาผลประโยชน์แบบ…