มัลแวร์ Adload อาศัยช่องโหว่ทะลวงระบบป้องกันของเบราว์เซอร์ Safari บน macOS ได้

Loading

เว็บไซต์ SC Media ได้รายงานถึงการตรวจพบช่องโหว่ความปลอดภัยระดับร้ายแรงบนเว็บเบราว์เซอร์ Safari โดยทีมงานจากบริษัทคู่แข่งตลอดกาลของ Apple อย่างไมโครซอฟท์ โดยการค้นพบดังกล่าวนั้นเป็นของทีมวิจัยที่ทำงานด้านการตรวจสอบความปลอดภัยไซเบอร์โดยเฉพาะ นั่นคือ Microsoft Threat Intelligence

Avast Antivirus ฟรีชื่อดัง เอาประวัติการท่องเว็บของลูกค้าไปขายต่อแก่ผู้ลงโฆษณา โดนสหรัฐปรับเฉียด 600 ล้านบาท

Loading

Avast Antivirus ฟรีชื่อดัง ถูกคณะกรรมาธิการการค้าของรัฐบาลกลาง Federal Trade Commission (FTC) สั่งปรับเป็นเงิน 16.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยเฉียด 600 ล้านบาท หลังนำข้อมูลประวัติการท่องเว็บไปขายต่อแก่ผู้ลงโฆษณา

“เอ็กซ์” จ่อเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล, ประวัติการทำงาน และการศึกษาของผู้ใช้งาน

Loading

  สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า “เอ็กซ์” (X) หรือชื่อเดิมทวิตเตอร์ ได้ปรับปรุงนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อเก็บข้อมูลผู้ใช้งานประเภทใหม่ ได้แก่ ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลที่ใช้พิสูจน์ตัวตนบุคคล   เอ็กซ์ระบุในนโยบายที่ปรับปรุงใหม่ว่า “เมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ใช้งาน เราอาจเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลของคุณเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย ความมั่นคง และการระบุตัวตน” แม้เอ็กซ์ไม่ได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล แต่บริษัทอื่นมักใช้คำดังนี้เพื่ออธิบายถึงข้อมูลที่ดึงมาจากลักษณะใบหน้า ดวงตา และลายนิ้วมือของแต่ละบุคคล   นอกจากนี้ เอ็กซ์กล่าวเสริมว่า บริษัทยังมีความตั้งใจที่จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพและประวัติการศึกษาของผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน   นโยบายความเป็นส่วนตัวที่ปรับปรุงใหม่ระบุว่า “เราอาจเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เช่น ประวัติการทำงาน ประวัติการศึกษา งานที่ชอบ ทักษะและความสามารถ กิจกรรมการค้นหางานและการมีส่วนร่วม และอื่น ๆ เพื่อแนะนำงานที่เหมาะสำหรับคุณ ตลอดจนแบ่งปันข้อมูลกับผู้ที่อาจมาเป็นนายจ้างของคุณ เพื่อที่นายจ้างจะสามารถค้นหาผู้สมัครงานที่มีศักยภาพ และเพื่อแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องแก่คุณมากขึ้น”   ทั้งนี้ บรรดาบริษัทโซเชียลมีเดียต่างถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้งานและหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบทั่วโลกเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลและวิธีการที่นำข้อมูลไปใช้ รวมถึงการขายโฆษณาที่มีการปรับให้เหมาะกับความสนใจของบุคคลและประวัติการค้นหา       ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                 …

Zoom ยอมถอย ระบุไม่นำข้อมูลผู้ใช้งานมาเทรน AI ทุกกรณี จากเดิมบอกเทรนได้ถ้า consent

Loading

  Zoom ประกาศแก้ไขรายละเอียดของเงื่อนไขการให้บริการ (term of service) อีกครั้ง หลังจากเนื้อหาที่ปรับปรุงก่อนหน้านี้ ระบุว่า Zoom มีสิทธินำข้อมูลผู้ใช้งานไปเทรน AI ได้ โดยข้อมูลสำคัญคือ เสียง วิดีโอ และแชท ต้องได้รับการยินยอมก่อน (consent)   ถึงแม้ประกาศนี้จะระบุชัดเจนว่าผู้ใช้งานต้องเป็นฝ่ายอนุญาตให้นำข้อมูลไปใช้งานก่อน แต่ข้อมูลส่วนอื่นนั้น Zoom บอกว่าสามารถนำไปเทรนได้เลย ก็ทำให้กระแสตอบกลับมาไม่ดีนัก   Zoom บอกว่าหลังได้รับความเห็นเพิ่มเติม Zoom จึงแก้ไขข้อความเงื่อนไขการให้บริการใหม่ โดยระบุว่าจะไม่นำข้อมูลเสียง วิดีโอ แชท การแชร์หน้าจอ ไฟล์แนบ หรือข้อมูลอื่นที่เป็นของผู้ใช้งานระหว่างการสนทนา เช่น โพลล์ ไวท์บอร์ด รีแอคชัน มาเทรน AI ของ Zoom หรือนำไปเทรนผ่านเครื่องมือของผู้ให้บริการอื่น ในทุกกรณี   อย่างไรก็ตามข้อมูลส่วนอื่นซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์ระบบของ Zoom เองเช่น Telemetry, Product-Usage หรือ Diagnostic Data…

Zoom ยืนยัน ไม่นำข้อมูลเสียง วิดีโอ แชทของผู้ใช้ไปเทรน AI, แต่นำข้อมูลเชิงสถิติไปใช้งาน

Loading

  Zoom ประกาศปรับแก้เงื่อนไขการให้บริการ (term of service) เพิ่มเนื้อหาว่าบริษัทมีสิทธินำข้อมูลของผู้ใช้ไปเทรน AI ได้ ยกเว้นข้อมูลเสียง วิดีโอ แชต ที่ต้องขอความยินยอม (consent) จากผู้ใช้ก่อน   ประกาศนี้ของ Zoom แปลว่าข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ 3 อย่างข้างต้น เช่น telemetry, diagnostic data ที่ใช้วิเคราะห์ระบบ ข้อมูลเหล่านี้เป็นของ Zoom ที่นำไปใช้งานได้ทันที แต่หากเป็นข้อมูลของผู้ใช้โดยตรง Zoom ยืนยันว่าจะขอความยินยอมก่อนเสมอ   ปัจจุบัน Zoom มีบริการ AI ชื่อ Zoom IQ คอยช่วยสรุปประชุม บริษัทยืนยันว่าจะนำข้อมูลไปเทรน AI ใช้เองเท่านั้น ไม่ได้ส่งต่อให้บุคคลหรือองค์กรภายนอกที่เป็นพาร์ทเนอร์กัน ผู้ใช้ที่เปิดฟีเจอร์ AI สามารถตั้งค่าได้ว่ายินดีแชร์ข้อมูลให Zoom หรือไม่ และผู้เข้าร่วมประชุมจะเห็นข้อความแจ้งเตือนเสมอว่า การประชุมครั้งนี้จะมี AI…

หน่วยงานฝรั่งเศส สั่งปรับ Apple 8 ล้านยูโร เหตุใช้ Targeted Ad ใน App Store โดยไม่ขอผู้ใช้งานก่อน

Loading

  หน่วยงานกำกับดูแล National Commission for Informatics and Liberty ของฝรั่งเศส หรือ CNIL สั่งปรับแอปเปิล เป็นเงิน 8 ล้านยูโร ระบุว่าทำผิดแอปเปิล เนื่องจากแอปเปิลไม่มีการขออนุญาต (consent) ผู้ใช้งานในฝรั่งเศสก่อน เพื่อแสดงโฆษณาแบบเจาะจง (Targeted Ad)   รายละเอียดระบุว่าแอปเปิลเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน เพื่อใช้แสดงโฆษณา ซึ่งกำหนดไว้เป็นค่าเริ่มต้น และหากต้องการปิดการทำงาน จะต้องทำหลายขั้นตอนมากในส่วน Settings และ Privacy ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวพบใน App Store บน iOS เวอร์ชันต่ำกว่า 14.6   อย่างไรก็ตามตัวแทนของแอปเปิล ได้ชี้แจงต่อ Fortune ว่าบริษัทผิดหวังกับคำตัดสิน และเตรียมยื่นอุทธรณ์ โดยยืนยันว่าการแสดงโฆษณาสำหรับผู้ใช้งานแต่ละคนนั้น บริษัทใช้ข้อมูลของแอปเปิลเองเท่านั้นในการเลือกโฆษณาแสดง ไม่ได้ใช้ข้อมูลผู้ใช้งาน รวมทั้งไม่ได้ใช้ข้อมูลแทร็กจาก 3rd party ผู้ใช้งานสามารถเลือกเปิดให้ใช้ข้อมูลส่วนตัวประมวลผลได้โดยกำหนดเอง ซึ่งความเป็นส่วนตัวเป็นสิ่งที่แอปเปิลให้ความสำคัญเป็นพื้นฐาน     ที่มา:…