HPE เผยว่าถูกกลุ่มแฮ็กเกอร์หน่วยข่าวรัสเซียเจาะระบบอีเมล

Loading

Hewlett Packard Enterprise (HPE) เปิดเผยว่าแฮ็กเกอร์ที่น่าจะเชื่อมโยงกับรัสเซียเจาะเข้าไปในระบบอีเมลบนคลาวด์และขโมยข้อมูลจากแผนกไซเบอร์และแผนกอื่น ๆ โดยสันนิษฐานว่าผู้แฮ็กน่าจะเป็นกลุ่มที่ชื่อ Cozy Bear ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับหน่วยข่าวกรองต่างประเทศของรัสเซีย (SVR)

Microsoft เผยแฮ็กเกอร์รัฐบาลรัสเซียใช้ Teams ส่งข้อความหลอกเอาข้อมูล

Loading

  Microsoft เผยว่าแฮ็กเกอร์ในกองทัพรัสเซียใช้ระบบแชตใน Microsoft Teams ในการส่งข้อความฟิชชิงในการล้วงข้อมูลเหยื่อ   Microsoft เรียกกลุ่มนี้ว่า Midnight Blizzard ในอีกชื่อหนึ่งคือ NOBELIUM หรือ Cozy Bear ที่หลายประเทศเชื่อว่าเป็นปฏิบัติการของหน่วยข่าวกรองต่างประเทศของรัสเซีย   วิธีการโจมตีก็คือ Midnight Blizzard จะใช้บัญชี Microsoft 365 ของธุรกิจขนาดเล็กที่แฮ็กมาได้ในการสร้างโดเมนใหม่ที่ปลอมตัวเป็นเว็บไซต์ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค และส่งข้อความผ่าน Teams เพื่อหลอกขอข้อมูลล็อกอินจากองค์กรเป้าหมาย   Microsoft ชี้ว่าปัจจุบันมีองค์กรที่ตกเป็นเหยื่อแล้วราว ๆ 40 องค์กรทั่วโลก ทั้งที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ องค์กรไม่ใช่รัฐ บริการไอที บริษัทเทคโนโลยี บริษัทอุตสาหกรรม และองค์กรสื่อ   ที่แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้เปลี่ยนชื่อบัญชีและเพิ่มผู้ใช้รายใหม่เข้ามาในรายชื่อติดต่อ และส่งข้อความ Team ที่ติดป้ายด้านความมั่นคงปลอดภัยและชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความสนใจให้เหยื่อเปิดข้อความ   Microsoft ได้ปิดโดเมนที่มีปัญหาแล้ว แต่ยังตรวจสอบเหตุการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อไป     ที่มา   therecord    …

แฮ็กเกอร์รัสเซียใช้โฆษณาหลอกขายรถราคาถูก หวังเจาะคอมฯ นักการทูตในยูเครน

Loading

  พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ก บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระบุในรายงานในวันนี้ (12 ก.ค.) ว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ต้องสงสัยว่าทำงานให้กับหน่วยข่าวกรองรัสเซีย ได้มุ่งเป้าไปที่นักการทูตหลายสิบคนตามสถานทูตต่าง ๆ ในยูเครนด้วยการโฆษณารถยนต์มือสองปลอมเพื่อพยายามที่จะเจาะเข้าไปในคอมพิวเตอร์ของพวกเขา   นักวิเคราะห์จากฝ่ายวิจัยยูนิต 42 ของพาโล อัลโต เน็ตเวิร์กระบุว่า ปฏิบัติการจารกรรมอย่างกว้างขวางได้มุ่งเป้าไปที่นักการทูตซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในคณะผู้แทนทางการทูตอย่างน้อย 22 กลุ่มจากประมาณ 80 กลุ่มในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน   รายงานระบุว่า “การจารกรรมดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นจากอีเวนต์ที่ไม่มีอันตรายและเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยในช่วงกลางเดือน เม.ย. 2566 นักการทูตคนหนึ่งภายในกระทรวงการต่างประเทศโปแลนด์ได้ส่งอีเมลใบปลิวที่ถูกต้องตามกฎหมายให้แก่สถานทูตต่าง ๆ เพื่อโฆษณาการขายรถยนต์ซีดานบีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 5 ที่จัดขึ้นในกรุงเคียฟ”   ทั้งนี้ นักการทูตโปแลนด์คนดังกล่าวได้ยืนยันว่า โฆษณาของเขามีส่วนถูกใช้ในการบุกรุกทางดิจิทัลจริง โดยบริษัทระบุว่า แฮ็กเกอร์ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ APT29 หรือ “Cozy Bear” ได้เข้าแทรกแซงและคัดลอกใบปลิวดังกล่าว ก่อนจะฝังซอฟต์แวร์ปองร้าย และส่งต่อให้กับนักการทูตหลายสิบคนที่ทำงานอยู่ในกรุงเคียฟ   รายงานระบุว่า “การกระทำดังกล่าวนับว่าน่าตกใจอย่างยิ่ง โดยปกติแล้วปฏิบัติการภัยคุกคามขั้นสูง (APT) จะมีขอบเขตที่แคบและเป็นความลับ”…