แนวทาง และความสำคัญต่อการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับองค์กร

Loading

  สถิติของโครงการประเมินความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ (Security Posture Assessment) ประจำปี พ.ศ. 2566 จาก สกมช. องค์กรที่เข้าร่วมมีจุดอ่อนด้านไหนบ้าง พร้อมทั้งความสำคัญ และแนวทางรับมือเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์   ปัจจุบันมีหน่วยงานที่ร่วมโครงการการประเมินความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในระดับองค์กร (Security Posture Assessment) ประจำปี 2566 กับ สกมช. (สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ) ทั้งสิ้น จำนวน 17 หน่วยงาน   ทั้งหมดประกอบด้วย หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ จำนวน 7 หน่วยงาน รวมทั้งหน่วยงานควบคุมกำกับหรือดูแล จำนวน 5 หน่วยงาน และหน่วยงานของรัฐ จำนวน 5 หน่วยงาน   การจัดตั้งโครงการฯ นี้ มีเป้าหมายเพื่อประเมินสุขภาพด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของหน่วยงาน CII และ Regulators ทั้งหมดในโครงการเพื่อให้ทราบถึงช่องโหว่ จุดอ่อน และจุดแข็งขององค์กรทำให้สามารถนำไปต่อยอดออกแบบแผน หรือกลยุทธ์ในการรับมือต่อภัยคุกคามไซเบอร์ได้ ซึ่งการประเมินนี้เป็นไปตามมาตรฐานสากล คล้ายกับการตรวจสุขภาพประจำปีทางไซเบอร์ฯ ระบบสารสนเทศที่สำคัญขององค์กร…

1,158 หน่วยงาน ข้อมูลรั่ว “ประเสริฐ” สั่งเร่งแก้ หากยังผิดซ้ำใช้กฎหมายลงโทษ

Loading

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา มีปัญหาการหลุดรั่วของข้อมูลประชาชน ตลอดจนการซื้อขายข้อมูลประชาชนตามที่เป็นข่าว จึงได้เร่งดำเนินการ 6 มาตรการ เพื่อแก้ปัญหานี้ โดยแบ่งเป็น ระยะเร่งด่วน 30 วัน ระยะ 6 เดือน และระยะ 12 เดือน