1 ปีโศกนาฏกรรมอิแทวอน เกาหลีใต้เรียนรู้จากความผิดพลาด พัฒนาระบบเตือนภัยพื้นที่แออัด

Loading

ใกล้ครบรอบ 1 ปีโศกนาฎกรรมอิแทวอน (29 ตุลาคม) ที่ประชาชนนับหมื่นไปรวมตัวกันฉลองเทศกาลฮัลโลวีนที่ย่านอิแทวอน เป็นเหตุให้เกิดการเบียดเสียดและขาดอากาศหายใจจนมีผู้เสียชีวิต 159 ราย ทั้งนี้เกาหลีใต้ไม่ได้ปล่อยผ่านเหตุการณ์ดังกล่าวโดยไม่ได้ถอดบทเรียน ทางรัฐบาลนครหลวงกรุงโซล จึงได้พัฒนาระบบเตือนภัยแก่เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่มีผู้คนแออัด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุในลักษณะเดียวกัน

ถอดบทเรียนเหยียบกันตาย เอาตัวรอดอย่างไร ถ้าอยู่ในสถานการณ์นี้

Loading

  โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นย่านอิแทวอน แหล่งท่องเที่ยวยามราตรีชื่อดังใจกลางกรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ในค่ำคืนวันเสาร์ (29 ต.ค.) หลังจากที่คนนับหมื่นไปรวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองวันฮาโลวีน จนเป็นเหตุให้เกิดการเบียดเสียด มีคนเป็นลมล้มพับทับกันจนขาดอากาศหายใจ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 153 ราย และได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 82 ราย ทำให้บรรยากาศความสุขในเวลาแห่งการเฉลิมฉลองช่วงสิ้นปีกลายมาเป็นความเศร้าสลดไปทั่วโลก   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอิแทวอน เป็นโศกนาฏกรรมเหยียบกันตายที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลักร้อยคนเป็นครั้งที่ 2 ในเวลาแค่ 1 เดือน หากยังจำกันได้เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา ก็มีเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันนี้ขึ้นที่สนามฟุตบอลในอินโดนีเซีย หลังจากที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาเพื่อควบคุมฝูงชนที่ก่อจลาจลหลังจบเกมการแข่งขัน ทำให้ผู้ที่อยู่ร่วมในสนามพากันแตกฮือหนีเอาตัวรอดจนเกิดการชุลมุน เหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 120 ราย   โศกนาฏกรรมใหญ่ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากและเกิดขึ้นในแบบที่เรียกว่าแทบจะไล่เลี่ยกัน ในช่วงเวลาที่โลกเพิ่งจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังทุกอย่างแทบจะหยุดชะงักไปนานกว่า 2 ปีจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความอัดอั้นของผู้คนที่ต้องการความสุขความบันเทิงหลังจากห่างหายมาเป็นเวลานาน และดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวไปอีกต่อไป   หากวันใดวันหนึ่งต้องตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้จะทำอย่างไร workpointTODAY จะพาไปเข้าใจสาเหตุ และวิธีการเอาตัวรอดถ้าต้องเจอกับสถานการณ์ที่เลี่ยงไม่ได้   คนตายเพราะขาดอากาศหายใจ ไม่ใช่ถูกเหยียบ   ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า สาเหตุที่คนเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เรียกว่า ‘เหยียบกันตาย’ หรือในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Stampede ไม่ได้เกิดจากการเหยียบกันด้วยเท้า…