เงินดิจิทัล 10000 บาท ทำไมต้อง Blockchain ?

Loading

เงินดิจิทัล 10000 บาท หนึ่งในนโยบายรัฐบาลที่ถูกพูดถึงตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งจนถึงวันนี้ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันเยอะ ก็คือการใช้ระบบ Blockchain และทำไมต้อง Blockchain ด้วยล่ะ ใช้แอปเป๋าตังไม่ได้หรอ งั้นเรามาทำความเข้าใจเรื่องระบบ Blockchain และ ความแตกต่าง ระหว่างการใช้ Blockchain กับแอปเป๋าตังกัน

ระบบบล็อกเชน คืออะไร ทำไม เงินดิจิทัล10000 ต้องใช้เทคโนโลยีนี้

Loading

  บล็อกเชน คือ เทคโนโลยีตัวช่วยด้านความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ ในการทำธุรกรรมการเงินโดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง ความน่าสนใจของระบบนี้ กำลังจะถูกนำมาใช้ใน นโยบายเงินดิจิทัล 10000 ของรัฐบาล   กระแสการพูดถึง เทคโนโลยี Blockchain ในขณะนี้กำลังร้อนแรง ด้วยเรื่องของการเงินและการตรวจสอบที่แม่นยำ เป็นหนึ่งในเครื่องมือตรวจสอบประวัติที่วงการธนาคารนำมาใช้ในการตรวจประวัติของลูกค้าหรือผู้ที่ยื่นขอกู้เงิน แต่ระบบนี้มีขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง มาทำความรู้จักกันค่ะ   ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ให้คำอธิบายเกี่ยวกับระบบบล็อกเชน ว่า เป็นนวัตกรรมที่เข้ามาตอบโจทย์คนยุคใหม่ในเรื่องความง่ายและรวดเร็วในการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์เพียงไม่กี่วินาที แม้จะไม่มีธนาคารตัวกลางแต่ยังคงความปลอดภัยเหมือนเดิม และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมจำนวนมาก ดังนั้น การใช้ Blockchain ในไทยน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่จะช่วยขับเคลื่อนภาคธุรกิจยุคดิจิทัลได้ดี   บล็อกเชน คือ เทคโนโลยีตัวช่วยด้านความปลอดภัย (Security) และความน่าเชื่อถือ (Trust) ในการทำธุรกรรมการเงินโดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง เช่น การโอนเงินระหว่างประเทศของธุรกิจแบบ B2B (Business to Business) สามารถโอนโดยไม่ต้องแปลงสกุลเงินได้เลย บุคคลทั้งสองฝั่งสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ แม้บุคคลทั้งสองจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน   ดังนั้น บล็อกเชนจึงเหมาะแก่การนำไปประยุกต์ใช้กับการทำธุรกรรมออนไลน์ หรือ FinTech เช่น การรับ…

เมื่อ Bitcoin เก็บความลับไม่อยู่ มันจึงสั่นสะเทือน

Loading

  ราคาของ Bitcoin ร่วงลงอีกครั้งในวันอังคารท่ามกลางการเทขายอย่างรุนแรงท่ามกลางการทะเขายคริปโตอย่างหนักด้วยเหตุผลต่างๆ นานา สื่อต่างประเทศบางแห่งชี้ว่าการเทขาย Bitcoin อาจเกี่ยวข้องกับความกังวลเรื่องความปลอดภัยของสกุลเงินดิจิทัล หลังจากที่เจ้าหน้าที่ของสหรัฐสามารถกู้คืนค่าไถ่ส่วนใหญ่ที่จ่ายให้กับแฮกเกอร์ในรูปของ Bitcoin ซึ่งเป็นแฮกเกอร์ที่ทำการเจาะระบบเข้าโจมตีบริษัทท่อส่ง Colonial Pipeline จนสั่นสะเทือนอุตสาหกรรมพลังงานของสหรัฐ   อันที่จริงแล้วมันก้ำกึ่งระหวาง “เรื่องความปลอดภัย” และ “ความมั่นคง” และทั้งสองคำนี้ในภาษาอังกฤษใช้คำเดียวกันคือ Security ในแง่ของผู้ใช้ Bitcoin ข้อดีข้อหนึ่งของมันคือมีความปลอดภัยในเรื่องข้อมูล แต่ในแง่ของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง Bitcoin มีส่วนทำให้เกิดปัญหาด้วยความมั่นคงได้ถ้ามันถูกใช้โดยอาชญากรอย่างกรณีของแฮกเกอร์กลุ่มดังกล่าว   สำนักข่าว AFP รายงานว่าที่ผ่านมาหน่วยงานกำกับดูแลได้วิพากษ์วิจารณ์การเติบโตของคริปโตหลายครั้งหลายหน เช่น Bitcoin เนื่องจากความนิยมในหมู่อาชญากร อย่างไรก็ตาม ธุรกรรมที่โปร่งใสของเทคโนโลยี Bitcoin ก็สามารถนำมาใช้จัดการผู้ฝ่าฝืนกฎหมายได้เหมือนกัน   แฮกเกอร์อาชญากรไซเบอร์ที่เรียกตัวเองว่า Darkside และเป็นกลุ่มที่เรียกค่าดึงค่าไถ่ 4.4 ล้านดอลลาร์ในรูปของ Bitcoin จากบริษัทน้ำมัน Colonial Pipeline ได้รับบทเรียนจากความเป็นดาบสองคมของ Bitcoin   หลังจากการกรรโชกทรัพย์บริษัทใหญ่โดยอาศัยแรนซัมแวร์ทำให้ปิดเครือข่ายเชื้อเพลิงหลักในภาคตะวันออกของสหรัฐเมื่อเดือนที่แล้ว กระทรวงยุติธรรมสหรัฐกล่าวว่าได้เรียกคืนเงินจำนวน 2.3 ล้านดอลลาร์จากการติดตามธุรกรรมทางการเงินแล้ว…

ทั่วโลกคุมเข้ม ‘คริปโทฯ’ หวั่นเป็นแหล่งฟอกเงิน

Loading

  มูลค่าของ “คริปโทเคอร์เรนซี” อย่างบิตคอยน์ และอีเทอเรียม เพิ่มขึ้นสูงอย่างมาก ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และนักลงทุนแห่ซื้อขายกันอย่างมากมาย ขณะที่ต้นเดือนที่ผ่านมา “ตุรกี” ออกกฎหมายใหม่ แบนการชำระค่าสินค้าและบริการด้วย “สินทรัพย์ดิจิทัล” อย่างคริปโทเคอร์เรนซี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ทั้งนี้ ไม่ได้มีเพียงตุรกีเท่านั้นที่ออกกฎหมายเข้าควบคุมคริปโทฯ แต่เป็นเทรนด์ของหลายประเทศที่กำลังร่างกฎหมายเพื่อเข้าควบคุมตลาดคริปโทฯ หรือได้ออกกฎหมายไปแล้ว หรือบางประเทศก็ออกกฎหมายให้คริปโทฯ เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายไปเลย ซีเอ็นบีซีรายงานว่า กระแสความร้อนแรงของคริปโทเคอร์เรนซีที่เติบโตอย่างรวดเร็ว กำลังเป็นภัยต่อระบบการเงินของแต่ละประเทศอย่างมาก โดยการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านคริปโทฯ ทำให้ธนาคารกลางติดตามการทำธุรกรรมการเงินได้ยากขึ้น ซึ่งจะทำให้อาจเข้ามามีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายทางการเงิน รวมทั้งเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ และคริปโทเคอร์เรนซีมักจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมผิดกฎหมาย อย่างการฟอกเงิน และการหลีกเลี่ยงภาษี แม้ว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนทำให้ทุกคนทราบถึง “มูลค่า” ต้นทาง และปลายทางการทำธุรกรรม แต่ไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดถึงตัวตนคนทำธุรกรรมคือใคร แม้ว่าการทำธุรกรรมผิดกฎหมายผ่านคริปโทฯ ปีที่แล้วมีเพียง 0.34% จากการทำธุรกรรมทั้งหมด ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้าที่สูงถึง 2% แต่ปัจจัยทั้งด้านเสถียรภาพทางการเงิน รวมถึงความเสี่ยงในการทำผิดกฎหมาย ทำให้รัฐบาลทั่วโลกเดินหน้าร่างกฎหมายเพื่อเข้าควบคุมตลาดคริปโทฯ ก่อนหน้านี้ ประเทศแอลจีเรีย, อียิปต์, โมร็อกโก, โบลิเวีย และเนปาล ได้ออกกฎหมายว่าการครอบครองคริปโทเคอร์เรนซี หรือการทำธุรกรรมการเงินผ่านคริปโทฯ…