สกมช.ร่ายแผนงานป้องภัยไซเบอร์ ระบุปี’68 ถูกท้าทายจากภัยด้าน AI

Loading

  สกมช.เตรียม พร้อมยกระดับขีดความสามารถบุคลากร ผลักดันการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทย คาดปีหน้า AI จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวว่า ในปี 2568 สกมช. มีแผนการดำเนินงานที่ท้าทายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ ในการขยายความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีแนวโน้มซับซ้อนและทวีความรุนแรงมากขึ้น   รวมถึงการระมัดระวังการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อใช้ในการตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว รวมทั้งยังมีภัยที่แฝงเข้ามาในลักษณะ AI ด้วย นอกจากนี้ สกมช.จะเร่งแผนงานด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอนาคต พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้และความตระหนักรู้ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประชาชนทุกช่วงวัยให้สามารถใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย   ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา สกมช. ได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นและตั้งใจในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เข้มแข็งและปลอดภัย ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565 – 2570) เพื่อสร้างขีดความสามารถในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ (บุคลากร องค์ความรู้ และเทคโนโลยี) การบูรณาการความร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือทางไซเบอร์ รวมถึงสร้างบริการภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศให้มีความมั่นคงปลอดภัย   เขา กล่าวว่า สกมช.ยังได้จัดทำกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์…

ป้องกัน! อาชญากรจากโลกออนไลน์ด้วย AI Cybersecurity

Loading

  SHORT CUT •  เทคโนโลยี Machine Learning และ การเรียนรู้เชิงลึก ในระบบปัญญาประดิษฐ์สามารถทำให้ตัวมันเองเรียนรู้ซ้ำๆ ผ่านการโจมตี •  พัฒนาระบบตรวจจับภัยคุกคามขั้นสูง ระบบเหล่านี้สามารถจดจำและวิเคราะห์รูปแบบการโจมตีใหม่ๆ ที่ซับซ้อนได้ •  ระบบ AI จะมีประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนในส่วนของการสอนและฝึกอบรมบุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญมากพอ   ภัยจากโลกออนไลน์ในตอนนี้ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนน่าจะเคยพบเจอกันมาเป็นอย่างดี และไม่ว่าจะองค์หรือตัวบุคคลก็ต้องทำเรียนรู้การป้องกัน การดำเนินงานของตัวเองจากภัยคุกคามทางไซเบอร์   การเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ในช่วงที่ผ่านมาให้เข้ากับเทคโนโลยีอื่นๆ นั้นได้กลายเป็นเครื่องอันทรงพลังที่พลิกโฉมประวัติศาสตร์โดยสิ้นเชิง รวมไปถึงในวงการความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วย และ AI ยกระดับประสิทธิภาพและนวัตกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อนมาสู่การป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์   พัฒนาการของ AI ในโลกของ Cybersecurity เทคโนโลยี Machine Learning และ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ในระบบปัญญาประดิษฐ์สามารถทำให้ตัวมันเองเรียนรู้ซ้ำๆ ผ่านข้อมูลจำนวนมหาศาล ทำงานได้รวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มีพัฒนาการด้านความเร็ว ความแม่นยำของการตรวจจับภัยคุกคาม การตอบสนอง และการบรรเทาผลกระทบเพิ่มขึ้นมากอย่างก้าวกระโดด  …

6 เทรนด์ Cybersecurity ปี 2024 โดย Gartner

Loading

ในโลกที่ Generative AI เฟื่องฟู การเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยย่อมต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรับมือความซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้นด้วย Gartner ได้สรุป 6 เทรนด์ด้าน Cybersecurity สำหรับปี 2024 และอนาคตอันใกล้ ติดตามอ่านกันได้ในบทความนี้

Cybersecurity กับ Cyber Resilience เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

Loading

  เราคงคุ้นชินกับคำว่า Cybersecurity หรือความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์กันอยู่แล้ว แต่ในระยะหลัง ๆ เราจะได้ยินคำว่า Cyber Resilience มากขึ้น (ยังรอผู้เชี่ยวชาญหาคำแปลไทยที่มีความหมายตรงอยู่ บทความนี้จึงขอใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษไปพลางก่อน)   โดยเฉพาะการที่องค์กรถูกโจมตีด้วย ransomware แล้วทำให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหยุดชะงัก อาจส่งผลให้การดำเนินงานและธุรกิจหยุดชะงักตามไปด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับการทำ digital transformation ที่ให้ระบบงาน กระบวนการดำเนินธุรกิจต้องพึงพิงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สลับซับซ้อนแบบในยุคปัจจุบันมากน้อยแค่ไหน   สำหรับความหมายหลักของ Resilience จะมี 2 ความหมายคือ ความยืดหยุ่น และความสามารถในการฟื้นคืนสู่ปรกติ ซึ่งความหมายหลังจะตรงกับบริบทของ Cyber Resilience ทีจะกล่าวต่อไป ยิ่งหากจะเติมภาระกิจที่เชื่อมโยงก็จะเป็นคำว่า Cyber Resilience and Recovery   หากเปรียบเทียบระบบเทคโนโลยีสารทนเทศเหมือนกับบ้านหลังหนึ่ง ระบบรักษาความปลอดภัยของบ้าน ก็เพื่อป้องกันทรัพย์สินสำคัญต่าง ๆ ของเรา เช่นการมีรั้วรอบขอบชิด มีเสาแหลม ๆ เสริมโดยรอบ (perimeter protection) ติดกล้องวงจรปิดและสัญญาณกันขโมยรอบบ้าน (monitoring & threat…

‘ความปลอดภัยทางไซเบอร์’ ปมท้าทายผู้นำโลกปี 2024

Loading

  การประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม (WEF) 2024 ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 15-19 ม.ค.นี้ ประเด็นความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความสามารถในการรับมือ รวมทั้งการปรับตัวเพื่อดำรงภาวะที่เป็นปกติ เป็นหนึ่งในประเด็นหารือที่สำคัญในการประชุม   รายงานว่าด้วยเรื่อง แนวโน้มความปลอดภัยทางไซเบอร์ 2024 (Global Cybersecurity Outlook 2024) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ การประชุม WEF 2024 ได้ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นความท้าทายในรูปแบบต่าง ๆ ที่บรรดาผู้นำโลกต้องเผชิญ ท่ามกลางความพยายามในการเตรียมตัวหาแนวทางป้องกันตัวเองจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ความทนทานต่อการบุกรุกและการโจมตีระบบ รวมทั้งความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และการกู้คืนระบบให้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ หรือที่เรียกโดยรวมว่า Cyber Resilience   ความท้าทายที่กล่าวมานี้ จะมาในหลากหลายรูปแบบตั้งแต่การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ ไปจนถึงการมีบทบาทมากขึ้นของ Generative AI ซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์สุดอัจฉริยะที่สามารถสร้างเนื้อหาใหม่ ๆ จากผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เคยทำไว้ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ เสียง ข้อความ และอื่น ๆ แต่ความฉลาดของ Generative AI…

คนไม่ไหว AI ต้องช่วย! ระวังปี 67 ภัยไซเบอร์ล้นมือ (Cyber Weekend)

Loading

  ชัดเจนแล้วว่าแนวโน้มหลักในวงการไซเบอร์ซิเคียวริตีปี 2567 จะต่อยอดจากปี 2566 ทั้งภาวะภัยออนไลน์ที่ส่อแววล้นทะลักยิ่งขึ้นจนมนุษย์ไม่อาจจัดการได้เอง และการยกทัพปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาช่วยเสริมแกร่งกระบวนการต้านโจรไฮเทค   สถานการณ์แบบนี้ทำให้หลายบริษัทหนักใจกับระบบไซเบอร์ซิเคียวริตีของตัวเอง โดยเฉพาะบริษัทที่ยังใช้งานอุปกรณ์เครือข่ายรุ่นดั้งเดิม ซึ่งอาจใช้งานคนละยี่ห้อหรือมีการแยกกันทำงานเป็นชิ้นเพราะเมื่อทำงานร่วมกันไม่ได้ การสร้างระบบป้องกันภัยไซเบอร์ที่ทำงานอัตโนมัติก็เกิดไม่ได้จึงต้องมีการเพิ่มพนักงานเข้ามาดูแล และสุดท้ายทำให้ไม่สามารถพาตัวเองให้รองรับภัยมหาศาลในปีถัด ๆ ไป แถมยังอาจทำให้เสียต้นทุนโดยใช่เหตุ   ความเสียหายนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะผลวิจัยบอกว่าเวลาที่ถูกโจมตี บริษัทส่วนใหญ่ใช้เวลาเฉลี่ยกว่า 21 วันในการตรวจสอบพบเจอ แปลว่ากว่าจะได้เริ่มดำเนินการอุดช่องโหว่แฮ็กเกอร์สามารถนำข้อมูลไปทำสิ่งร้ายได้นานหลายสัปดาห์แล้ว ความท้าทายเหล่านี้ทำให้คำว่าการดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย (Security Operations) หรือที่คนทั่วโลกเรียกกันว่า SecOps นั้นมีความสำคัญมากขึ้น โดยการสำรวจล่าสุดพบว่า 52% ของบริษัททั่วโลกนั้นมอง SecOps เป็นงานมีความยุ่งยาก และบริษัทในประเทศไทยจำนวนมากยังไม่มี   ***ภัยล้นคนไม่ไหว   รัตติพงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย กล่าวถึงผลสำรวจใหม่ที่จัดทำร่วมกับ IDC เกี่ยวกับสถานการณ์การดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย ในหัวข้อ The State of…