“สกมช. ผนึก VNU” จัดงาน “Cybersec Asia & Thailand International Cyber Week 2024”

Loading

พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมกับ VNU Asia Pacific เตรียมจัดงาน “Cybersec Asia & Thailand International Cyber Week 2024” นิทรรศการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ปี 2567 เพื่อบูรณาการ พัฒนาศักยภาพ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

เปิด ‘ความเสี่ยงไซเบอร์’ องค์กรไทย หวั่น ‘มัลแวร์-แฮ็กบัญชี’ โจมตีหนัก

Loading

  ‘พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์’ เปิดรายงานสถานการณ์ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียนปี 2566 ข้อมูลในรายงาน ระบุว่า เมื่อปีที่ผ่านมาประเทศไทยพบปัญหา “การโจมตีที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก” ในปริมาณน้อยที่สุดมีองค์กร 22% ขณะที่องค์กรไทยหนักใจ “มัลแวร์” มากสุด   พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์’ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เปิดรายงานสถานการณ์ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียนปี 2566 ข้อมูลในรายงาน ระบุว่า เมื่อปีที่ผ่านมาประเทศไทยพบปัญหา “การโจมตีที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก” ในปริมาณน้อยที่สุดมีองค์กร 22% ที่พบจำนวนอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% เมื่อเทียบอดีต   ทั้งนี้ การปกป้องเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) โดยเฉพาะระบบที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญยังคงเป็นข้อกังวลหลัก เพราะบริการพื้นฐานสำคัญเหล่านั้นต้องเผชิญกับการโจมตีที่สร้างความเสียหายในระดับที่สูงกว่าภาคส่วนอื่น ๆ     ข้อกังวลอันดับต้น ๆ องค์กรไทย   ขณะที่ ประเภทการโจมตีที่องค์กรในไทยมีความกังวลมากที่สุด ได้แก่ มัลแวร์ 57% และการเข้าควบคุมบัญชีผู้ใช้ 57% และการโจมตีรหัสผ่าน 53% ซึ่งภายใต้สถานการณ์ที่ต้องพึ่งพาบริการและแอปพลิเคชันระบบคลาวด์มากขึ้น ธุรกิจในไทยระบุว่า…

‘สกมช.’ ลุยปั้นคนไซเบอร์ เตรียมพร้อมไทยรับมือยุคดิจิทัล

Loading

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่เพิ่มขึ้นแบบทวีคูณและส่งผลกระทบต่อทั้งการใช้ชีวิต องค์กรภาครัฐ และภาคธุรกิจ ผลักดันให้ผู้คนเกิดการตื่นตัว เป็นหนึ่งใน “วาระแห่งชาติ” ที่หลายภาคส่วนหันมาให้ความสำคัญ…เปิดแผน คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

ปัญหาขององค์กรคืออะไร? เมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาพร้อมกับภัยคุกคามไซเบอร์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

Loading

“สมัยนี้ธุรกิจจำเป็นต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เพื่อการวิเคราะห์ คาดการณ์ และบริหารงานต่าง ๆ ซึ่งก็เป็นแรงจูงใจให้องค์กรโยกย้ายข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่โลกออนไลน์ เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ  แต่ในทางตรงกันข้ามก็เป็นตัวกระตุ้นชั้นดีให้กับมิจฉาชีพที่จ้องจะฉวยโอกาสจากช่องโหว่ เพื่อเข้าถึงข้อมูลสำคัญ ๆ

ยุค ‘SaaS Sprawl’ ถึงเวลาคิดทบทวน Cybersecurity ครั้งใหญ่

Loading

  การนำ Software-as-a-Service (SaaS) มาใช้งานในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบในการดำเนินธุรกิจ ความสามารถในการขยายเครือข่าย และโซลูชันที่เอื้อต่อการปรับใช้ให้เหมาะกับความต้องการ ได้เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลง   โดยทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “SaaS Sprawl” คือการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของแอปพลิเคชัน (App) บนคลาวด์ภายในองค์กร   นอกจากนี้ยังได้สร้างความท้าทายด้านความปลอดภัยที่สำคัญหลายอย่าง รวมถึงการแชร์ข้อมูลที่มากเกินไป การรั่วไหลของข้อมูล การขาดมาตรฐาน การกำกับดูแลแบบรวมศูนย์ และความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นในการจัดการเพื่อเข้าถึงและการอนุญาตของผู้ใช้งาน   ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจำนวนแอปพลิเคชัน SaaS ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องบวกกับความก้าวหน้าของ AI อย่าง ChatGPT ทำให้องค์กรต่าง ๆ หันมาใช้งานแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ อย่าง Microsoft 365, Google Workspace และ Salesforce กันมากขึ้น   ตั้งแต่ปี 2558 อุตสาหกรรม SaaS เติบโตจาก 31.4 พันล้านดอลลาร์เป็นประมาณ 167.1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2565 ซึ่งเท่ากับการเติบโตมากกว่า 5 เท่าในเวลาเพียง…

FraudGPT เครื่องมือใหม่ Dark Web Markets

Loading

  ทุกวันนี้ภัยไซเบอร์มีหลากหลายรูปแบบจนในบางครั้งเราก็อาจตามไม่ทันและสุดท้ายต้องตกเป็นเหยื่อของการคุกคามในที่สุด เหล่าบรรดาแฮกเกอร์มุ่งพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ ขึ้นเพื่อใช้เปิดโจมตี ซึ่งในวันนี้ผมจะขอนำเสนอ AI ตัวใหม่ที่มีชื่อว่า “FraudGPT” ซึ่งมีการเผยแพร่อย่างแพร่หลายในตลาด Dark Web และช่องทาง Telegram ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา   ผู้เชี่ยวชาญต่างพากันลงความเห็นว่า FraudGPT เป็นเครื่องมือที่ควรจะต้องเฝ้าระวังอีกตัวหนึ่งเลยทีเดียว จากข้อมูลพบว่ามีการออกโปรโมตเกี่ยวกับ FraudGPT ว่าเป็นโซลูชันที่ครบวงจร สามารถตอบโจทย์ความต้องการของอาชญากรทางไซเบอร์ได้เป็นอย่างดี   เพราะเครื่องมือจะประกอบไปด้วยฟีเจอร์พิเศษต่าง ๆ ที่สามารถสร้างอีเมล spear-phishing การรวมมัลแวร์ที่หลีกเลี่ยงการตรวจจับ การสร้างหน้าฟิชชิง การแจ้งเตือนเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ และการสอนเทคนิคแฮ็กต่าง ๆ   โดย Generative AI Tool นี้เองที่ช่วยให้แฮ็กเกอร์มีฟังก์ชันการทำงานได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีซึ่งนั่นก็คือ ความสามารถในการทำงานด้วยความเร็วและขนาดที่เพิ่มมากขึ้น   แน่นอนว่า เหล่าแฮ็กเกอร์สามารถสร้างแคมเปญฟิชชิงได้อย่างรวดเร็วและเปิดตัวใช้งานได้พร้อมกันมากขึ้น และจุดนี้เองที่ทำให้ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านภัยคุกคามตัดสินใจเฝ้าติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของ FraudGPT รวมถึงแฮ็กเกอร์ที่อยู่เบื้องหลังอย่างใกล้ชิด เพราะก่อนหน้านี้แฮ็กเกอร์เคยเป็นผู้ค้าในตลาด Dark Web หลายแห่งเลยก็ว่าได้   นอกจากนี้ แฮ็กเกอร์ยังปรับใช้วิธีการเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์เพื่อหลบหลีกกลโกงต่าง…