รู้จักกับ Deepfake เทคโนโลยีที่หลอกคนได้นับล้าน

Loading

  ความรวดเร็วของอินเทอร์เน็ตช่วยย่อส่วนโลกให้เล็กลง ทุกวันนี้คุณสามารถเชื่อมต่อกับผู้คนจากทุกมุมของโลกได้ทันทีผ่านโซเชียลมีเดียที่มีอยู่หลายแพลตฟอร์ม ทั้งยังติดตามข้อมูลข่าวสารได้ด้วยเพียงนิ้วสัมผัส   แต่คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคนที่คุยอยู่ หรือแม้แต่เหตุการณ์ที่เห็นตรงหน้าจะเป็นความจริง   ช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยี Deepfake ก้าวหน้าขึ้นอย่างก้าวกระโดด แม้ว่าจะมีคนนำไปใช้ในเชิงบวก โดยเฉพาะในวงการบันเทิงและการศึกษา แต่อันตรายของมันก็มีอยู่มากมาย ตั้งแต่การเป็นเครื่องมือของอาชญากรไซเบอร์ที่นำไปใช้ในการหลอกเอาเงินและข้อมูลจากเหยื่อ ไปจนถึงการนำไปใช้แทรกแซงการเมืองระหว่างประเทศ     Deepfake คืออะไร และมีที่มาอย่างไร?   แหล่งกำเนิดของ Deepfake น่าจะมีจุดเริ่มต้นในปี 2017 จากผู้ใช้ Reddit ชื่อว่า Deepfake ได้โพสต์คลิปโป๊ที่นำภาพของผู้หญิงที่มีชื่อเสียง อาทิ กัล กาดอต (Gal Gadot) และ เทย์เลอร์ สวิฟต์ (Taylor Swift) เข้าแปะมาแทนที่ภาพของใบหน้าของดาราหนังโป๊   ศุภศรณ์ สุวจนกรณ์ อธิบายการทำงานของ Deep Learning ในการสังเคราะห์การเคลื่อนไหวของคนขึ้นมาใหม่ (ที่มา: TED)   ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าคำว่า Deepfake…

อลเวง Deepfake! วิธีสังเกต-ป้องกันตัวเองจากวิดีโอปลอม

Loading

  หลังจากมีข่าวว่ากูเกิล (Google) ได้แบนอัลกอริธึม “ดีพเฟค” (deepfake) ให้หมดจากบริการกูเกิลคอลาบอราทอรี่ (Google Colaboratory) ซึ่งเป็นบริการคอมพิวติ้งฟรีพร้อมการเข้าถึง GPU โลกก็รู้ว่ากูเกิลไม่ได้เป็นเจ้าเดียวที่พยายามควบคุม deepfake แต่หลายรัฐในสหรัฐฯ ต่างมีกฎหมายควบคุมอย่างจริงจัง แม้แต่ประเทศจีนก็มีการร่างกฎหมายกำหนดให้มีการระบุสื่อที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ และกำหนดกฎระเบียบ AI ของสหภาพยุโรป หรือ EU โดยในอนาคตอาจรวมเนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีเฉพาะนี้ด้วย นายวลาดิสลาฟ ทุชคานอฟ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ข้อมูล แคสเปอร์สกี้ ได้ออกมาอธิบายถึงตัวตนของ deepfake และวิเคราะห์ถึงเหตุผลที่ทำให้เกิดการโต้เถียงกันรอบด้าน เพื่อให้เข้าใจความสำคัญของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า Deepfake เป็นตัวอย่างสำคัญของเทคโนโลยีที่พัฒนาได้เร็วกว่าที่ผู้ใช้จะเข้าใจและสามารถจัดการความยุ่งยากได้ ด้วยเหตุนี้ deepfake จึงถูกมองว่าเป็นชุดเครื่องมือที่ใช้บิดเบือนข้อมูล เป็นความท้าทายสิ่งที่สังคมคิดว่าสามารถไว้วางใจได้ ***deepfake คืออะไร? แคสเปอร์สกี้ให้นิยามดีพเฟค หรือ Deepfake ว่า โดยทั่วไปหมายถึง สื่อสังเคราะห์ประเภทต่างๆ ที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้คนและสร้างขึ้นด้วยโครงข่ายประสาทเทียมระดับลึก deepfake อาจเป็นวิดีโอ ภาพถ่าย หรือการบันทึกเสียง การใช้การเรียนรู้เชิงลึกแทนเทคนิคการตัดต่อภาพแบบดั้งเดิมได้ช่วยลดความพยายามและทักษะที่จำเป็นอย่างมากในการสร้างภาพปลอมที่น่าเชื่อถือได้ “ในช่วงแรก คำว่า deepfake นี้หมายถึงซอฟต์แวร์ชิ้นหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมใน Reddit…

Facebook ลบวิดีโอ Deepfake ของประธานาธิบดี Zelensky ที่เผยแพร่หลังสำนักข่าวยูเครนโดนแฮ็ก

Loading

    Meta รายงานว่าทางบริษัทสั่งตรวจสอบและลบวิดีโอ Deepfake ของประธานาธิบดี Volodymyr Zelensky บนแพลตฟอร์ม Facebook แล้ว เป็นไปตามกฎของ Facebook ที่ไม่อนุญาตให้มีวิดีโอประเภทนี้บนแพลตฟอร์ม   วิดีโอปลอมของประธานาธิบดี Zelensky นี้ออกแถลงการณ์ในลักษณะขอให้ประชาชนวางอาวุธเลิกต่อต้านทหารรัสเซีย และมีรายงานว่าวิดีโอนี้เผยแพร่ผ่านช่องโทรทัศน์และเว็บไซต์ของสำนักข่าว Ukraine 24 ที่มีรายงานว่าโดนแฮ็กด้วย   Nathaniel Gleicher หัวหน้าฝ่ายนโยบายความปลอดภัยของ Meta ระบุว่าทีมได้ตรวจสอบและลบวิดีโอ Deepfake ของประธานาธิบดี Zelensky ที่แถลงการณ์ในสิ่งที่เขาไม่ได้พูดแล้ว วิดีโอนี้ปรากฏในเว็บไซต์ที่ถูกโจมตีและหลังจากนั้นก็เผยแพร่ไปทั่วอินเทอร์เน็ต ทาง Meta จึงได้ตรวจสอบและลบวิดีโอเนื่องจากฝ่าฝืนนโยบายเกี่ยวกับสื่อที่ถูกบิดเบือนและแจ้งเตือนไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ ด้วย อ้างอิง  https://www.facebook.com/www.ukraine24.ua/posts/1847515155441880   ที่มา – Engadget, Snopes   ——————————————————————————————————————————————————- ที่มา : Blognone by Nutmos       …

ล้ำไปอีก! เตือนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้ Deep Fake ตัดต่อคลิปตำรวจ หลอกโอนเงิน

Loading

  MGR Online – รองโฆษก ตร. เตือนระวังภัยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ไฮเทคใช้ Deep Fake ตัดต่อคลิปภาพตำรวจ หลอกเหยื่อเอาเงิน ย้ำไม่มีนโยบายติดต่อทางระบบวิดีโอคอล   วันนี้ (11 มี.ค.) พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มีนโยบายให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทันถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ตรวจสอบพบว่า แก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมที่นำคลิปวิดีโอจากการให้สัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งสวมใส่หน้ากากอนามัย มาตัดต่อใส่เสียงของคนร้าย เพื่อทำการข่มขู่ผู้เสียหาย จนผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจริง และโอนเงินจำนวนมากให้กับคนร้าย นั้น   พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบในการหลอกลวงพี่น้องประชาชน โดยการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยมากขึ้นที่เรียกว่า Deepfake ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยี Deep Learning ในการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ ให้สามารถตัดต่อคลิปวิดีโอหรือภาพถ่ายของบุคคลหนึ่ง ให้สามารถขยับปากตามเสียงของบุคคลอื่นได้ ซึ่งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ก็ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าว มาตัดต่อคลิปหรือภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้พูดตามสิ่งที่คนร้ายพูด เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในการหลอกลวงทรัพย์สินจากพี่น้องประชาชน “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอเรียนพี่น้องประชาชน…

หนักกว่านิวเคลียร์ Deepfake ปลุกปั่นให้เกลียดชัง มหันตภัยใหม่ จากภาพปลอม

Loading

  James Cameron ผู้สร้าง The Terminator หรือที่เรารู้จักกันในนาม “คนเหล็ก” ออกมาให้สัมภาษณ์กับ BBC ว่า Skynet อาจจะทำลายมนุษย์ชาติด้วย Deepfake ไม่ใช่ Nukes อย่างในภาพยนตร์ . หนึ่งในบทสัมภาษณ์คือ “ทั้งหมดที่ Skynet ต้องทำ ก็แค่แกล้งคนจำนวนมาก โดยการปลุกปั่นให้พวกเขาเกิดความโกลาหล ปลุกปั่นให้เกิดการเกลียดชัง โดยการใช้แค่ Deepfakes” ยกตัวอย่างเช่น เลียนแบบคนที่มีอำนาจขึ้นมาเพื่อสั่งการอะไรบางอย่างออกไป . หากพูดถึง Skynet มันคือเครือข่าย Computer ขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ทั้งหมด มีความสามารถในการประมวลผลสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วจนตัวมันเองนั้นสามารถคิดแทนมนุษย์ได้ หากจะเปรียบในโลกแห่งความเป็นจริง เราก็มี AI ที่สามารถคิดแทนมนุษย์ได้แล้วจริง ๆ . James Cameron หยิบยกหัวข้อนี้ขึ้นมาในขณะที่พูดคุยถึงภัยคุกคามของวิดีโอ “Deepfake” ที่สร้างโดย AI สามารถบิดเบือนใบหน้าของใครบางคนให้พูดอย่างอื่นได้ คาเมรอนกลัวว่าเทคโนโลยีเดียวกันนี้อาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดเพื่อสร้างความวุ่นวายทางการเมืองหรือก่อสงคราม ซึ่งเขาได้ยกตัวอย่าง…

ผู้นำองค์กรต้องเพิ่มกลยุทธ์ป้องกันการปลอมแปลงอัตลักษณ์บุคคล (Deep-Fake)

Loading

  เดือนมีนาคม 2562 ซีอีโอของบริษัทพลังงานแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษได้รับสายด่วนจากเจ้านายซึ่งเป็นผู้บริหารของบริษัทแม่ที่เยอรมนี โดยเจ้านายชาวเยอรมันสั่งให้ลูกน้องของเขาโอนเงินจำนวน 220,000 ยูโร (ประมาณ 8.5 ล้านบาท) ให้กับตัวแทนซัพพลายเออร์ในฮังการี ซึ่งต้องโอนเงินเป็นกรณีเร่งด่วนและต้องแล้วเสร็จภายใน 1 ชั่วโมง เนื่องจากซีอีโอชาวอังกฤษจำสำเนียงเยอรมันที่โดดเด่นของเจ้านายได้ดี เขาจึงรีบอนุมัติการโอนเงินในทันที ทว่าโชคร้ายที่ซีอีโอชาวอังกฤษไม่ได้คุยกับเจ้านายของเขา แต่กลับคุยกับปัญญาประดิษฐ์ที่เลียนเสียงและแอบอ้างตัวเป็นเจ้านายชาวเยอรมัน   องค์กรธุรกิจควรต้องตระหนกกับเหตุการณ์นี้หรือไม่? คำตอบคือทั้งใช่และไม่ใช่ ที่ธุรกิจต้องกังวลคือรูปแบบความซับซ้อนในการหลอกลวงที่ดูแนบเนียนและที่สำคัญเป็นการโจมตีที่ประสบความสำเร็จ แต่ที่ยังเบาใจได้คือมันยังต้องใช้ความพยายามและทรัพยากรอย่างมากในการจู่โจมรูปแบบนี้และเป้าหมายใหญ่อย่างบริษัทข้ามชาติ ซึ่งสิ่งนี้กำลังจะเปลี่ยนไป โดยเครื่องมือที่ใช้บิดเบือนข้อมูลสามารถขยายเป็นสองทางอย่างน่าทึ่ง อย่างแรก คือ มันทำให้ผู้ที่ไม่หวังดีใช้วิธีนี้จู่โจมได้ง่ายมากขึ้น แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จน้อยแต่สิ่งที่ได้มาก็คุ้ม อย่างที่สองเมื่อเทคโนโลยี Deep-Fake หรือการปลอมแปลงอัตลักษณ์ของบุคคลด้วยปัญญาประดิษฐ์ที่ทรงพลังและใช้ง่ายตกอยู่ในมือคนจำนวนมากที่ทำให้ใครก็ได้สามารถโจมตีเป้าหมายที่ต้องการไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม   เทคโนโลยีเอไอ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (Machine Learning) แทรกซึมอยู่ในธุรกิจและการสื่อสารสมัยใหม่ ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่จะมีการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ไปในทางที่ผิดกฎหมาย การล่อลวงแบบดีปเฟก (Deepfakes) สามารถเป็นได้ทั้งเสียง รูปภาพ และวิดีโอที่ดูเสมือนจริงแต่กลับเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นด้วยเอไอ เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ครั้งล่าสุดของการบิดเบือนข้อมูลในแบบที่ RAND Corporation หน่วยงานด้านนโยบายระดับโลกของอเมริกา ได้อธิบายไว้ว่าเป็น “วัฒนธรรมการเสื่อมสลายของความจริง” (หรือ Truth Decay) เป็นพลวัตที่มีการถกเถียงอย่างมากถึงขอบเขตในด้านการเมืองและทฤษฎีสมคบคิด…