จะเป็นอย่างไร หาก ‘เอไอ’ กลายเป็นภัยคุกคามโลก?

Loading

เมื่อวันพุธ คณะทำงานของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ กางแผนเบื้องต้นในการรับมือกับโมเดลปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ขั้นสูงจากจีนและรัสเซีย โดยนักวิจัยจากภาครัฐและเอกชนต่างกังวลว่าประเทศคู่แข่งสหรัฐฯ อาจใช้ AI เป็นเครื่องมือในการสร้างภัยคุกคามได้หลากหลายรูปแบบ

ไบเดนลงนามคำสั่งพิเศษยกระดับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ท่าเรือเพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์

Loading

    เว็บไซต์ BNNbreaking รายงาน เมื่อ 21 ก.พ.67 ว่า นายโจเซฟ ไบเดน ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ลงนามในคำสั่งพิเศษ (Executive Order) ในวันเดียวกัน เพื่อยกระดับมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางทะเลของสหรัฐฯ โดยให้อำนาจแก่หน่วยยามฝั่งกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่สำหรับท่าเรือ รวมถึงป้องกันและรับมือต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์และอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐานที่นำเข้าจากต่างประเทศ    คำสั่งพิเศษนี้มีจุดเริ่มต้นมาจาก กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Department of Homeland Security – DHS) ต้องการขยายอำนาจในการต่อต้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ทางทะเลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คำสั่งดังกล่าวให้อำนาจแก่กองทัพสหรัฐซึ่งรับผิดชอบทางด้านไซเบอร์ดำเนินการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับท่าเรือทั้งเชิงรุกและเชิงรับ   หน่วยยามฝั่งจะต้องตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางทะเลของสหรัฐฯ และมีอำนาจสั่งให้เรือที่ต้องสงสัยว่าเป็นภัยคุกคามหยุดเดินเรือ เพื่อดำเนินการตรวจสอบได้ นอกจากนี้ ยังให้มีการจัดทำรายงานการโจมตีทางไซเบอร์ต่อโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางทะเลอีกด้วย   สหรัฐฯ ตระหนักว่าการโจมตีทางไซเบอร์ต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางทะเล ได้แก่ ท่าเรือ โครงข่ายไฟฟ้า ท่อส่งไฟฟ้า ถือเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรง ซึ่งการตรวจสอบด้านไซเบอร์ อาทิ การโจมตีของแรนซัมแวร์ (Ransomware Attacks) หรือการติดมัลแวร์ (Malware Infection) และการทำให้ภารกิจท่าเรือหยุดชะงัก จะสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็ว  …