รัฐบาลดิจิทัล (9) “เก็บ” ครั้งเดียวก็เกินพอ

Loading

  ทำไมต้องเอาสำเนาเอกสารราชการ ไปให้หน่วยงานรัฐที่เราไปติดต่อด้วย ทั้งๆ ที่เป็นเอกสารของราชการเอง แถมยังต้อง “ทำและรับรอง” สำเนาเท่ากับจำนวน “คำขอ” ที่เราจะยื่นอีก   หน่วยงานแห่งนั้นน่าจะยังไม่ได้ใช้ระบบไอที ทำให้แต่ละ “คำขอ” ต้องแนบเอกสารให้ครบจบในชุดเดียว จึงจะพิจารณาได้โดยไม่ต้องไปเปิดค้นเอกสารที่อื่นอีก ประชาชน“คนเดียว”มาติดต่อหลายเรื่องก็ต้องทำเป็น “หลายคำขอ”และสำเนาเอกสารแยกกัน   นี่เป็นการมองราชการเป็นศูนย์กลาง ถ้าหากมอง ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centric) แล้ว ประชาชนหนึ่งคน จะยื่นกี่คำขอก็ต้องถือเป็นเรื่องเดียวกันถ้ายื่นพร้อมกัน   ส่วนการรับรองสำเนา น่าจะเกิดจากการที่หน่วยงานรัฐไม่สามารถตรวจสอบ “ความจริงแท้” ของเอกสารสำเนาได้ จึงต้องให้นำทั้งเอกสาร “ตัวจริง”มาแสดง พร้อมกับ “ลงนาม” รับรองสำเนาถูกต้อง ถือว่า ประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบในเอกสารต่างๆ ที่ยื่นเข้ามา หากปลอมแปลงหรือเป็นเท็จ ก็มีฐานทางกฎหมายที่จะปฏิเสธการอนุญาตหรืออาจดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปได้   อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารนั้น ที่จริงแล้ว เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐผู้รับเรื่อง พ.ร.บ. วิ อิเล็กทรอนิกส์ จึงให้เจ้าหน้าที่ต้องเป็นคนทำสำเนาและลงนามรับรองเอกสารเอง ไม่ใช่ประชาชนผู้ยื่นเรื่องอีกต่อไป   หลักการ “การจัดเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียว”…

รัฐบาลดิจิทัล (8) : เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นยกเว้น

Loading

การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Government Data) เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบราชการไปสู่การเป็น “รัฐบาลเปิด” (Open Government) เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน สามารถตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ รวมถึงร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะ

รัฐบาลดิจิทัล (7) : ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ

Loading

ลองสมมติว่าตัวเองเป็นรัฐมนตรีของสักกระทรวงหนึ่ง วันแรกที่เข้าไปทำงาน อาจจะได้รายงานต่างๆ มาดูบ้าง แต่ถ้าอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม ก็ต้องไปรวบรวมมาจากกรมกองต่างๆ กว่าจะได้ข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ

รัฐบาลดิจิทัล (6) : สำนักงาน ‘น้อย’ กระดาษ

Loading

แฟ้มเอกสารกองโตบนโต๊ะ ตู้เอกสารเต็มทางเดินสำนักงาน นี่คือภาพที่ชินตาเวลาไปหน่วยงานของรัฐ ไม่นับพื้นที่เช่าคลังเก็บเอกสารอีกมากมายที่เรามองไม่เห็น คำถามคือเมื่อไร่ ภาครัฐจะเลิกใช้เอกสารกระดาษได้สักที

รัฐบาลดิจิทัล (5) : ไหนใครว่า “ติดระเบียบ” นะ

Loading

งานบริการของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุญาตมีอยู่ประมาณ 3,830 บริการ สามารถพัฒนาเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ 2,420 บริการ ณ กลางปี 2566 สามารถให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้แล้วประมาณร้อยละ 60

สกมช. จับมือ DGA ยกระดับป้องกันภัยทางไซเบอร์ ก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัลอย่างปลอดภัย

Loading

วันที่ 10 มิ.ย. 2567 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดย พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (DGA) โดย นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และยกระดับทักษะด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ทั้งในรูปแบบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ e-learning รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงสถานการณ์ที่เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ตลอดจนการดำเนินการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ร่วมกัน