‘นักสืบโซเชียล’ กับข้อมูล รอยเท้าบนโลกดิจิทัล

Loading

    ข้อมูลที่ถูกนำมาเปิดเผยต่างๆ ไม่ใช่แค่ข้อมูลประเภทที่เป็น “รอยเท้าบนโลกดิจิทัล” (Digital Footprint) ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีต่างๆ แต่ยังรวมไปถึงข้อมูลดิจิทัลจากกล้อง CCTV ภาพถ่าย ตามสถานที่ต่างๆ ด้วย   กรณีการเสียชีวิตของนักแสดงสาว “แตงโม นิดา” เป็นข่าวดังที่สุดในสื่อต่างๆ ของบ้านเราช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะข่าวการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ของคดีที่มีอยู่ในโลกโซเชียล แม้ข้อมูลที่นำมาเสนอในโลกโซเชียล จะมีออกมามากมาย ทั้งที่จริงและเท็จ บ้างก็เป็นความเห็นต่างๆ ที่ทำให้สังคมสับสนยิ่งขึ้น แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่า ข้อมูลในบางเรื่องที่ชาวโซเชียลขุดออกมามีประโยชน์ไม่น้อย ทำให้สังคมมีข้อมูลที่มีความชัดเจนขึ้น แม้กระทั่งตำรวจยังต้องออกมายอมรับในความสามารถของนักสืบโซเชียลที่ช่วยให้มีข้อมูลต่างๆ นำไปสู่การสืบสวนที่ดี   ข้อมูลที่ถูกนำมาเปิดเผยต่างๆ ไม่ใช่แค่ข้อมูลประเภทที่เป็น “รอยเท้าบนโลกดิจิทัล” (Digital Footprint) ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีต่างๆ แต่ยังรวมไปถึงข้อมูลดิจิทัลจากกล้อง CCTV ภาพถ่าย ตามสถานที่ต่างๆ ด้วย   ปัจจุบันเราอยู่บนโลกของดิจิทัลทำให้ข้อมูลต่างๆ ของเราทุกเก็บไว้มากมาย การที่คนไทยใช้เวลาเฉลี่ยราว 9 ชั่วโมงต่อวัน ในการเล่นอินเทอร์เน็ตทำให้เราทิ้งข้อมูลเอาไว้บนโลกดิจิทัลอย่างมากมาย ทั้งการใช้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ติ๊กต็อก…