ETDA เตือนประชาชนระวังเว็บไซต์ปลอมแอบเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัล

Loading

ETDA เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ หลังมีเว็บไซต์หรือโพสต์บนโซเชียลที่แอบอ้างเป็นบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แจ้งการประกอบธุรกิจกับ ETDA ภายใต้“กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services)

กฎหมายแพลตฟอร์มดิจิทัล 2 ฉบับ แตกต่าง…แต่ลงตัว

Loading

เป็นที่กล่าวขานในวงกว้างสำหรับกฎหมาย DPS (Digital Platform Services) หรือ พระราชกฤษฎีกา การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2566 ฎหมายฉบับนี้จะถูกใช้เป็นกรอบในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล

กฎหมาย DPS คืออะไร วิธีการแจ้งข้อมูล ตามกฎหมาย DPS

Loading

กฎหมาย DPS คืออะไร DPS ย่อมาจาก Digital Platform Services หรือชื่อทางการคือ พระราชกฤษฎีกา การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ซึ่งบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อ 21 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา กฎหมายนี้เพื่อคุ้มครองผู้ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล ลดความเสี่ยงจากการฉ้อโกงออนไลน์

เจาะลึก!! กฎหมาย Digital Platform Services ใครได้ ใครเสียประโยชน์

Loading

  พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ “กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 นี้ เป็นอีกหนึ่งกฏหมายที่ถูกปรับมาให้สอดคล้องกับโลกยุคใหม่ คนที่ใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัลควรต้องรู้ !!!!   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอรนิกส์ หรือ ETDA เปิดข้อมูลอินไซต์ “กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services) หรือที่รู้จักกันในชื่อ พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 ที่จะถึงนี้ แน่นอนว่าในมุมของผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างผู้ให้บริการ หรือ ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพตลฟอร์มดิจิทัลนั้น คงติดตามความเคลื่อนไหวและมีการทำความเข้าใจกับกฎหมายฉบับนี้มาอย่างต่อเนื่อง   กฎหมายฉบับนี้ ได้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เปิดรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนรวบรวมประเด็นเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงกฎหมายซึ่งได้มีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง     จาก…

“DPS” กลไกกำกับแพลตฟอร์มดิจิทัล หวังลดโกงออนไลน์อุ้มคนไทย

Loading

  กำลังจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว ในวันที่ 21 ส.ค นี้  สำหรับ พ.ร.ฎ.การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ กฎหมาย DPS  (Digital Platform Services)   หลังได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.65 ซึ่งทาง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอ็ตด้า ภายใต้ การกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนกฎหมายฉบับนี้   การที่รัฐต้องตรากฎหมายนี้ออกมาก เพื่อหวังให้เป็นกลไกในการดูแลผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ให้มีความโปร่งใส และมีแนวทางในการคุ้มครองเยียวยาแก่ผู้ใช้บริการ ได้อย่างเป็นธรรม!?!   หลังจากที่ผ่าน ๆ มา คนไทยที่ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล พอเกิดความเสียหาย ก็ไม่รู้ต้องดำเนินการอย่างไร ต้องแจ้งไปที่ไหน หรือติดต่อผู้ให้บริการได้อย่างไร เพื่อขอความช่วยเหลือ!!   ภาพ pixabay.com   เช่นหลังจากในปีที่ผ่านมามีการร้องเรียนเรื่องการใช้งานแพลตฟอร์ม และถูกฉ้อโกง ซื้อขายออนไลน์ กว่า 6 หมื่นเรื่อง!! แล้วใครบ้างล่ะ? ที่เข้าข่ายต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของก.ม. นี้?   หากอธิบายง่าย ๆ ก็คือ …

ดีอีเอสบี้ ‘แฟลตฟอร์มดิจิทัล’ แสดงตัวคาดเข้าข่ายพันราย

Loading

  เตรียมตัวให้พร้อม! “ดีอีเอส” ขีดเส้น 21 ส.ค.-18 พ.ย. 2566 บี้ผู้ให้บริการแฟลตฟอร์มดิจิทัลที่เข้าข่ายกว่า 1 พันราย ทยอยรายงานตัว หลังกฎหมาย DPS ปักหมุดบังคับใช้ ขู่เมินพร้อมงัดโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 1 แสนบาท ยันแม่ค้าออนไลน์-อินฟลูเอ็นเซอร์ไม่กระทบ ดีเดย์ 26 มิ.ย. นี้ เดินเครื่องรับฟังความคิดเห็นเรื่องการยืนยันตัวตนของผู้ให้บริการ ปิดช่องมิจฉาชีพหลอกลวง   22 มิ.ย. 2566 – นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวภายหลังการประชุมทำความเข้าใจสร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของ พ.ร.ฎ.การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ กฎหมาย DPS (Digital Platform Services) ที่จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 21 ส.ค. นี้ ว่า ตามที่มีการประกาศ พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ส่งผลให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลตามเกณฑ์ต้องมาแจ้งกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)…