ถอดรหัส ’Digital Transformation’ คือการเดินทาง ไม่ใช่ปลายทาง

Loading

    เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก ทั้งแนวคิด สังคม ชีวิตประจำวัน รวมถึงวิธีการทำงาน   ด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดและความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ส่งผลให้หลากหลายองค์กรต่างต้องหาหนทางปรับตัวตาม ไม่ว่าจะเป็นการ Upskill การ Reskill และใช้เทคโนโลยีเข้ามาต่อยอด เพื่อยกระดับองค์กรให้ก้าวทันกับการถูก Digital Disruption   ดังนั้นจะเห็นได้ชัดว่า Digital Transformation จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยให้ธุรกิจเอาตัวรอดจากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไปได้   OPEN-TEC ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Tech Knowledge Sharing Platform) ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP หยิบยกมุมมองในการทำ Digital Transformation จากผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขามาร่วมมาแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งหากใครไม่อยากตกขบวนแล้วละก็ต้องรีบศึกษาไว้เลย   Digital Transformation คืออะไร   Digital Transformation (DX) คือ การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและธุรกิจเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่รากฐานขององค์กรไปจนถึงกระบวนการส่งมอบให้ลูกค้า   เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดมากขึ้นในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ และแม้ปัจจุบัน Digital Transformation…

ความปลอดภัยมีความสำคัญสูงสุด ในเวลาที่องค์กรเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลต่อเนื่อง

Loading

  ผลสำรวจ Global Customer Tech Outlook 2023 จากเร้ดแฮท เผยว่าความปลอดภัยมีความสำคัญสูงสุดในเวลาที่การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง   Global Tech Outlook 2023 ผลสำรวจครั้งที่ 9 ของเร้ดแฮท และเช่นเดียวกับหลายปีที่ผ่านมา เร้ดแฮทสำรวจข้อมูลว่าองค์กรต่างๆ อยู่ ณ จุดใดในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน การจัดลำดับความสำคัญของเงินลงทุนด้านไอทีและด้านที่ไม่เกี่ยวกับไอที และความท้าทายต่างๆ ที่องค์กรกำลังเผชิญอยู่ โดยทำการสำรวจผู้นำด้านไอทีมากกว่า 1,700 รายทั่วโลกจากอุตสาหกรรมหลากหลาย เพื่อช่วยให้เข้าใจแง่มุมใหม่ๆ ด้านการใช้เทคโนโลยีและติดตามแนวโน้มต่างๆ ได้ดีขึ้น ต่อไปนี้เป็นแนวโน้มและข้อมูลที่น่าสนใจที่ได้จากรายงานฉบับนี้ และผลสำรวจเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป   ไม่แปลกใจ : ความปลอดภัยยังคงมีความสำคัญเป็นลำดับแรก   ความปลอดภัยยังคงเป็นความสำคัญสูงสุดของการจัดสรรงบประมาณด้านไอทีของทุกภูมิภาค และเกือบทุกอุตสาหกรรม ผู้ตอบแบบสอบถาม 44% ยกให้ความปลอดภัยเป็น 1 ใน 3 อันดับแรกของการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งสูงกว่าด้านโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ ซึ่งสำคัญเป็นลำดับ 2 โดยแบ่งความสำคัญของการจัดสรรงบประมาณด้านความปลอดภัยออกเป็นความปลอดภัยของเน็ตเวิร์ก (40%) ความปลอดภัยของคลาวด์ (38%) เป็น…

ยุคทอง ’Machine Learning’ จุดเปลี่ยนไอทียุคใหม่

Loading

  รายงาน “Technology Radar” ฉบับล่าสุดโดย “Thoughtworks” บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีชั้นนำคาดการณ์ว่า แมชีนเลิร์นนิงจะมีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนเทคโนโลยีไอโอทีและระบบการบริหารจัดการภายในต่าง ๆ   รีเบคกา พาร์สันส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี Thoughtworks ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ Machine Learning (แมชีนเลิร์นนิง) ว่าจากที่เคยต้องใช้ชุดข้อมูลขนาดใหญ่และการเข้าถึงพลังประมวลผลมหาศาลเพื่อจัดการกับปัญหาทางธุรกิจที่ซับซ้อนนั้น   ขณะนี้ องค์กรด้านไอทีสามารถใช้ประโยชน์จาก Machine Learning ได้เพิ่มขึ้น ทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ในหลายภาคส่วนมากขึ้น สืบเนื่องมาจากการพัฒนาของเครื่องมือ แอปพลิเคชัน และเทคนิคต่าง ๆ ที่ก้าวหน้าไปอย่างมาก     ท้าทาย การบริหารข้อมูล   ด้วยประสิทธิภาพในการคำนวณที่ดีขึ้นบนอุปกรณ์ทุกขนาดและทุกประเภท รวมทั้งการใช้เครื่องมือแบบ open-source ที่แพร่หลายและใช้งานได้ง่ายขึ้น ได้ส่งผลให้ Machine Learning สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แม้กระทั่งองค์กรที่มีขนาดเล็กมาก   นอกจากนี้ ข้อกำหนด และข้อควรระวังของข้อมูลส่วนบุคคลที่เข้มงวดมากขึ้น ได้ผลักดันให้องค์กรต่างๆ พยายามค้นหาเทคนิค เช่น federated machine learning…

ควบคุมการใช้ ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) แบบไหนจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด

Loading

  เมื่อการใช้ประโยชน์จาก ‘ข้อมูลส่วนบุคคล’ สามารถสร้างรายได้ สร้างชื่อเสียง ขณะเดียวกัน การนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องก็สามารถทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือสูญเสียทรัพย์สินได้ หลายประเทศจึงบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมดูแลการใช้ข้อมูลของภาคส่วนต่าง ๆ   ตั้งแต่มีการออก กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ General Data Protection Regulation: GDPR ของสหภาพยุโรป และบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 จนถึงการบังคับใช้กฎหมาย PDPA ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ข้อมูลจากเว็บไซต์ของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development หรือ UNCTAD) ระบุว่า มี 137 จาก 194 ประเทศที่ออกกฎหมายเพื่อปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัว โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีสัดส่วนการบังคับใช้กฎหมายแล้ว 57%   กฎควบคุมการใช้ Data มีอิมแพ็กต่อการลงทุน   รู้หรือไม่ การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ดังกล่าว ส่งผลต่อการลงทุนของบริษัทข้ามชาติ…

จาก Cyber Risk สู่ Digital Risk – ประเทศไทยจะก้าวข้าม Data Privacy Threats ที่หลบซ่อนอยู่ได้อย่างไร

Loading

  สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วม Exclusive Talk เรื่อง “จาก Cyber Risk สู่ Digital Risk – ประเทศไทยจะก้าวข้าม Data Privacy Threats ที่หลบซ่อนอยู่ได้อย่างไร” พร้อมเปิดมุมมอง Digital Risk & Digital Inequality แนวโน้มใหม่ที่กำลังเปลี่ยนโลกดิจิทัลอย่างสิ้นเชิง กับความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมรับมือ “ความเสี่ยงดิจิทัล” (Digital Risk) ที่องค์กรต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่ามีความหมายไม่เหมือน “ความเสี่ยงไซเบอร์” (Cyber Risk)   โดย อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้ก่อตั้งและประธาน ACIS Professional Center ที่เพิ่งจัดไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือต้องการรับชมการบรรยายซ้ำอีกครั้ง สามารถเข้าชมวิดีโอบันทึกย้อนหลังได้ที่บทความนี้ครับ   วิทยากรรับเชิญ: อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ประธานกรรมการบริหาร ACIS Professional Center   ภัยคุกคามยุคสมัยใหม่ไม่ใช่แค่การโจมตีจากแฮ็กเกอร์อีกต่อไป เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ทวีความซับซ้อนและรุนแรงขึ้น ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านดิจิทัลด้วยการตระหนักรู้และเข้าใจถึงการเปลี่ยนผ่านจากสู่…

ไทยรั้งท้าย ‘ดัชนีดิจิทัล’ เอเชียแปซิฟิก วิกฤติ ‘บุคลากร’ อุปสรรคใหญ่

Loading

  ดัชนีความคล่องตัวทางดิจิทัลภูมิภาคเอเชีย-แปซิก ประจำปี 2565 โดย “ไอดีซี” และ “Workday” ผู้ให้บริการเทคโนโลยีด้านการเงินและทรัพยากรบุคคลสำหรับองค์กร ระบุว่า องค์กรส่วนใหญ่ในประเทศไทย 91% ยังคงล้าหลังในเรื่องของความคล่องตัวทางดิจิทัล (Digital Agility)   “ไอดีซี” และ “Workday” เผยว่า ดัชนีความคล่องตัวทางดิจิทัลขององค์กรไทยจัดอยู่ในระดับที่ “ดำเนินการล่าช้า” หรือ “กำลังวางแผน” ซึ่งนับว่าสวนทางกับโอกาสในการเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล หรือดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน และการปรับใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด   นอกจากนี้ พบด้วยว่าในแง่ของการสรรหาและดึงดูดบุคลากร ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความชำนาญถือเป็นหนึ่งในปัญหาท้าทายที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรไทย และเป็นอุปสรรคต่อการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น     ไทยรั้งท้าย ตกไปอยู่ที่อันดับ 9   จากผลการศึกษา พบว่า 9 ประเทศที่ได้รับการสำรวจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีระดับความก้าวหน้าด้านความคล่องตัวทางดิจิทัลที่แตกต่างกัน   สำหรับองค์กรไทย มีเพียง 9% เท่านั้นที่มีความคล่องตัวทางดิจิทัลในระดับสูง ส่งผลให้ไทยครองอันดับ 9 โดยลดลงหนึ่งอันดับเมื่อเทียบกับการจัดอันดับเมื่อปี 2563   โดยไทยถูกแซงหน้าโดยอินโดนีเซีย ซึ่งครองอันดับ 8…