รัฐบาลสิงคโปร์เดินหน้าลดความเสี่ยงด้าน IT หลัง Digital Transformation อย่างรวดเร็วในช่วงโควิด 19

Loading

  คณะกรรมการ Public Accounts Committee ของสิงคโปร์รายงานถึงสถานการณ์ของระบบดิจิทัลและ IT ภายในภาครัฐ โดยพบความเสี่ยงในหลายด้านเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัลอย่างกว้างและรวดเร็วในช่วงวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ก็เป็นโจทย์ด้าน IT ที่รัฐบาลวางแผนจะแก้ไขต่อไป รายงานของ Public Accounts Committee เผยถึงจุดอ่อนและความเสี่ยงในระบบ IT ของหน่วยงานราชการสิงคโปร์ในปี 2020 ที่ผ่านมา โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก Digital Transformation ที่ถูกเร่งให้เกิดในช่วงโรคระบาด ความเสี่ยงเหล่านี้ก็มีเช่น ความปลอดภัยของข้อมูล การรักษาความปลอดภัยระบบ การจัดการกับบัญชีผู้ใช้สำหรับพนักงานของรัฐที่โยกย้ายตำแหน่งหรือไม่ใช้งานแล้ว ระบบ Log ที่สามารถตรวจสอบการเข้าใช้งานระบบ IT ได้ และกลกไกการจัดการอื่นๆ เช่น กระบวนการรายงานเหตุเกี่ยวกับความปลอดภัยข้อมูล โดยความเสี่ยงเหล่านี้มีทั้งปัญหาเชิงเทคโนโลยี กระบวนการทำงาน และเชิงนโยบาย แผนการต่อไปของรัฐบาลสิงคโปร์จึงเป็นการอุดรูรั่วเหล่านี้ และเสริมสร้างระบบไอทีที่แข็งแรง ตรวจสอบได้ขึ้น เพื่อให้เป็นที่น่าเชื่อถือในอนาคตที่จะมีการพึ่งพาระบบดิจิทัลมากขึ้น สิงคโปร์มีหน่วยงานอย่าง Smart Nation and Digital Government Group (SNDGG) มาช่วยประเมินความเสี่ยง และจัดการปัญหาด้วยโครงการต่างๆ…

การปรับปรุงองค์การการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน ด้วย Digital Transformation ตอนที่ 1

Loading

  คำว่า “Digital transformation” ตามนิยามภาษาไทยจาก Wikipedia คือ การใช้สิ่งที่ใหม่ ที่เร็ว และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของ Digital Technology เพื่อแก้ปัญหา ซึ่งเข้าใจได้ว่าเป็นการนำเอาประโยชน์จาก Digital Technology เข้ามาปรับวิถีการทำงาน สมรรถนะของบุคลากร และนำไปแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่   ปัจจุบันการนำ Digital Transformation มาปรับปรุงงานในประเทศไทยส่วนใหญ่พบในภาคธุรกิจและการตลาด โดยนำมาประยุกต์ใช้ในทุกภาคส่วน ซึ่งในแต่ละส่วนมีการใช้ต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพพื้นฐาน รูปแบบและวัฒนธรรมภายในของกลุ่มธุรกิจและการตลาด วิธีดำเนินการ การให้บริการ ตลอดจนประเภทสินค้าในธุรกิจนั้น สำหรับการนำ Digital Transformation มาปรับประสิทธิภาพในส่วนราชการขณะนี้ คาดว่า “โอกาสที่จะเป็น” เป็นไปได้ยาก  เนื่องจากแต่ละหน่วยงานภายในหน่วยงานรัฐต่างมีวัฒนธรรมภายใน มีการกำกับการปฏิบัติงานด้วยระเบียบราชการและระเบียบภายในแต่ละหน่วยงานรัฐที่ต่างกัน อีกทั้งหน่วยงานรัฐบางแห่งยังมีกฎหมายรองรับเป็นการเฉพาะ เหล่านี้นับเป็นวิถีที่ไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ  แต่หากเห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการแล้ว ในขั้นต้นก็จำเป็นต้องปรับความเข้าใจระหว่างทุกกลุ่มผู้บริหารภายในให้ตรงกันอย่างชัดเจนโดยปราศจากอคติที่จะก่อความสับสนให้ได้ก่อนที่จะนำเสนอต่อกลุ่มผู้บริหารระดับที่สูงกว่า เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานความเข้าใจในทางเดียวกัน   สำหรับข้อที่ควรพิจารณาให้ชัดเจนก่อนวางเป้าประสงค์ที่จะนำ Digital Transformation มาปรับใช้กับองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนนั้น ประเด็นแรก คือทำความเข้าใจกับ ความเป็นมานับแต่อดีตถึงปัจจุบันขององค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน ประเด็นที่ 2 ความสอดคล้องและรองรับกันระหว่างกฎหมายและระเบียบราชการที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน…