พ.ร.บ.เดินอากาศ พ.ศ.2497 กับ อากาศยานไร้คนขับ

Loading

  คงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันนี้ผู้คนส่วนใหญ่จะได้ยินหรือรู้จักกับคำว่า “โดรน DRONE” หรือถ้าจะเรียกอย่างเป็นทางการคือ “อากาศยานไร้คนขับ หรือ UNMANNED AERIAL VEHICLE – UAV”   ยานพาหนะตัวนี้ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะนำมาใช้ในงานของทางราชการ งานของเอกชน หรือบุคคลทั่วไป งานราชการ เช่น การสำรวจพื้นที่ การสำรวจเหตุอุทกภัย การสำรวจรังวัดพื้นที่เขตป่าสงวน หรือใช้ในราชการทหาร เช่น ทางยุทธวิธี ฯลฯ   ส่วนของเอกชนก็นำมาใช้ในงานถ่ายภาพเทศกาลต่าง ๆ หรือถ่ายภาพโฆษณา ถ่ายเพื่อความสนุกสนาน ถ่ายสำรวจรังวัดพื้นที่ สำรวจเส้นทาง หรือพ่นยาฆ่าแมลง เป็นต้น     การใช้ โดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับ โดยเฉพาะของเอกชนหรือบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่หน่วยงานของราชการ การจะใช้งานหรือทำการบินได้ จะต้องมีการจดทะเบียนโดรน มีการขออนุญาตใช้โดรน และขออนุญาตใช้คลื่นความถี่     เนื่องจากพระราชบัญญัติเดินอากาศ พ.ศ.2497 ได้ถือว่า “โดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับ” เป็นอากาศยานประเภทหนึ่ง…

รวมคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์และไอทีจากราชบัณฑิตยสภา

Loading

  รวมคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์และไอทีจากราชบัณฑิตยสภา โดยเพจสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้รวบรวมคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาไทย พร้อมกับความหมายของคำ ที่เชื่อว่าบางท่านอาจไม่รู้ว่า ศัพท์นี้เรียกเป็นคำไทยว่าอะไร ความหมายเป็นอะไร และเขียนอย่างไร เพจนี้ได้รวมไว้นานแล้วเป็นอัลบั้มเลยทีเดียว เลยจะมาดูคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์และไอทีเป็นภาษาไทยกัน   รวมคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์และไอทีจากราชบัณฑิตยสภา ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ * หมายเหตุ ศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภาที่เผยแพร่นี้มีจุดประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน โดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาจะนำข้อเสนอแนะของท่านไปปรับปรุงแก้ไของค์ความรู้ที่เผยแพร่นี้ก่อนจะบันทึกลงฐานข้อมูลงานวิชาการและจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มต่อไป   cyber bully การระรานทางไซเบอร์ ความหมายคือ การกลั่นแกล้ง การให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นทางสื่อสังคมต่าง ๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์   cybersecurity ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ภาวะที่เครือข่าย ระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรม และข้อมูล พ้นจากภัยคุกคาม มีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ คงความลับ คงความถูกต้องครบถ้วน และคงความพร้อมใช้งาน ภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยบุคลากร กระบวนการทำงาน และเครื่องมือ ที่เหมาะสม   cybercrime;…

‘โดรน’ ให้คุณหรือโทษแก่มวลมนุษยชาติกันแน่?

Loading

อากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน ที่ล้ำสมัยขึ้นเรื่อยๆ ได้สร้างประโยชน์ให้กับนักวิทยาศาสตร์ ตำรวจ และภาคธุรกิจ แต่ในทางกลับกันราคาของโดรนที่ถูกลงและหาซื้อได้ง่ายนั้น อาจเป็นช่องทางในการผลิตอาวุธสังหารแบบเคลื่อนที่เร็วได้ด้วยเช่นกัน เรื่องนี้สร้างความกังวลให้กับวงการตำรวจ โดย Larry Satterwhite จาก Houston Police Department ในรัฐเท็กซัส บอกว่า เทคโนโลยีรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว และในฐานะตำรวจก็ต้องเล่นไล่จับกับเทคโนโลยีที่ใช้ในทางมิชอบในปัจจุบัน เช่นเดียวกับที่ Richard Lusk นักวิทยาศาสตร์จาก Oak Ridge National Laboratory บอกว่า มีหลายเหตุการณ์ที่ใช้โดรนขนส่งยาเสพติดและอาวุธปืนไปให้กับนักโทษในเรือนจำสหรัฐฯ หรือในตะวันออกกลางได้ใช้โดรนทิ้งระเบิดเข้าทำร้ายพลเมืองเลยก็มี คุณ Richard ย้ำว่า แนวทางรับมือการโจมตีจากโดรน สามารถทำได้ด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทำลายระบบควบคุมระบบระบุพิกัดบนโลก หรือ GPS ที่อยู่ภายในโดรน และใช้คลื่นวิทยุรบกวนระบบการสื่อสารระหว่างโดรนและผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม ในด้านมืดก็มีด้านสว่าง เพราะการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีโดรน อาจเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยชีวิตผู้คนเอาไว้ได้เช่นกัน อย่างอุตสาหกรรมเคมี ได้เลือกใช้อากาศยานไร้คนขับนี้เพื่อตรวจสอบโครงสร้างภายในและทำหน้าที่แทนมนุษย์ในงานที่เสี่ยงอันตราย ที่โรงกลั่นน้ำมัน Shell ใกล้กับเมือง Houston เริ่มใช้โดรนในงานเสี่ยงภัยแทนมนุษย์เมื่อปีก่อน Gary Scheibe ตัวแทนจากโรงกลั่นน้ำมัน…