‘ดีอี’ จ่อดึงบุรุษไปรษณีย์ 25,000 คน ช่วยยืนยันตัวตนรับ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’
เพิ่มช่องทางยืนยันตัวตนให้แก่ประชาชน โครงการดิจิทัล วอลเล็ต ล่าสุดจ่อดึงตัวบุรุษไปรษณีย์ไทย 25,000 คนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ รู้จักบ้านประชาชนทุกหลัง ช่วยทำ KYC
เพิ่มช่องทางยืนยันตัวตนให้แก่ประชาชน โครงการดิจิทัล วอลเล็ต ล่าสุดจ่อดึงตัวบุรุษไปรษณีย์ไทย 25,000 คนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ รู้จักบ้านประชาชนทุกหลัง ช่วยทำ KYC
งานบริการของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุญาตมีอยู่ประมาณ 3,830 บริการ สามารถพัฒนาเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ 2,420 บริการ ณ กลางปี 2566 สามารถให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้แล้วประมาณร้อยละ 60
การสแกนใบหน้าเพื่อทำธุรกรรมออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน โดยบริการที่ใช้มากเป็น อันดับต้นๆ หนีไม่พ้นบริการทางการเงินผ่าน Mobile Banking แต่ความล้ำเหล่านี้ก็เป็นดาบหลายคม เพราะได้กลายเป็นช่องว่างให้มิจฉาชีพเข้ามาฉวยโอกาสหลอกเหยื่อตามที่เป็นข่าว สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริมผลักดันให้คนไทยเข้าใจมีการใช้งาน ตลอดจนตระหนักในการใช้กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่านกิจกรรมต่างๆ ทางออนไลน์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “Digital ID” เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น ปลุกคนไทยมั่นใจใช้ตัวตนดิจิทัล’ พร้อมไขข้อข้องใจว่าการใช้ Digital ID เชื่อถือได้แค่ไหน ทำความรู้จัก Digital ID หากบัตรประจำตัวประชาชน คือ เอกสารที่ใช้แสดงตนและยืนยันตัวตนในการติดต่อหรือทำธุรกรรมต่างๆ ในโลกออฟไลน์ Digital Identity หรือเรียกสั้นๆ ว่า ดิจิทัล ไอดี (Digital ID) ก็เปรียบได้กับบัตรประชาชนในโลกออนไลน์ ที่ช่วยบอกว่า “เราเป็นใคร” เพื่อเปิดทางให้เราสามารถทำธุรกรรมออนไลน์หรือเข้าถึงการบริการต่างๆ จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เชื่อถือได้ ทำได้ทุกที่ทุกเวลา โดย…
ETDA เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ หลังมีเว็บไซต์หรือโพสต์บนโซเชียลที่แอบอ้างเป็นบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แจ้งการประกอบธุรกิจกับ ETDA ภายใต้“กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services)
วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี กล่าวว่า หนึ่งภารกิจสำคัญที่ต้องเร่งผลักดันให้เกิดขึ้น คือ การเปลี่ยนผ่านการให้บริการภาครัฐ โดยเฉพาะบริการสำคัญๆ ให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Service เพื่อให้การทำธุรกรรมทางออนไลน์ การติดต่อราชการของประชาชน มีความสะดวกสบาย รวดเร็วและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา เราพบว่า มีภาครัฐหลายหน่วยงานต่างตื่นตัวและให้ความสำคัญในการพัฒนาปรับปรุงบริการของตนเองมาอยู่ในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้นต่อเนื่อง
การบังคับใช้กฎหมายด้านเอไอเพื่อให้มีจริยธรรม และธรรมาภิบาลเป็นความท้าทายใหม่ที่เข้ามาในทุกอุตสาหกรรม และการกำกับดูแลของภาครัฐว่าจะมีทิศทางอย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้รอบด้านทุกมิติ ภายในงานเสวนา: AI Ethic: Trust & Transparency จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ” พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช.กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากของการใช้เอไอคือ สังคมมีความเป็นห่วงมากเกินไป ว่าเป็นดาบสองคม แต่ไม่รู้จักว่าจะใช้งานทางบวกอย่างไร และระวังเรื่องทางลบอย่างไร ด้านบวกหากไม่ใช่ ก็เปรียบเสมือนดาบทื่อ กลายเป็นไม่นำมาใช้ประโยชน์ใดๆ เลย ส่วนเรื่องการออกกฎหมายนั้น เชื่อว่า เป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และ เป็นเรื่องของการบังคับใช้มาสเตอร์แพลน ที่ย่อมต้องตามมากับพัฒนาการ การใช้เอไอนั่นคือ การใช้งานอย่างมีจริยธรรม และมีกฎหมาย ต้องให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ควบคู่กับการพัฒนาคนให้ใช้งานอย่างมีจริยธรรม ต่อไปเมื่อมีการนำเอไอมาใช้ จะเชื่อได้อย่างไร ถ้าเอไอตอบคำถามผิด จะรู้หรือมีกลไกในการตรวจสอบอย่างไร เพราะการตรวจเอไอไม่ได้ง่ายเหมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่สามารถทดสอบออกมาได้ว่าโปรแกรมนี้ถูกหรือไม่ “เอไอขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ข้อมูลที่หลากหลายคำตอบที่ได้ จะดีที่สุดกับองค์กรของท่านหรือไม่ หรือดีในแง่ของจริยธรรมหรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างที่กฎหมายกำลังขับเคลื่อน เราต้องตอบตัวเองให้ได้ ว่าจะมีการจำกัดดูแลกลไกของมันได้อย่างไร”…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว