3 มุมมองความท้าทาย ’เอไอ‘ บนจุดตัดด้านจริยธรรม และธรรมาภิบาล

Loading

  การบังคับใช้กฎหมายด้านเอไอเพื่อให้มีจริยธรรม และธรรมาภิบาลเป็นความท้าทายใหม่ที่เข้ามาในทุกอุตสาหกรรม และการกำกับดูแลของภาครัฐว่าจะมีทิศทางอย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้รอบด้านทุกมิติ   ภายในงานเสวนา: AI Ethic: Trust & Transparency จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ”   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช.กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากของการใช้เอไอคือ สังคมมีความเป็นห่วงมากเกินไป ว่าเป็นดาบสองคม แต่ไม่รู้จักว่าจะใช้งานทางบวกอย่างไร และระวังเรื่องทางลบอย่างไร ด้านบวกหากไม่ใช่ ก็เปรียบเสมือนดาบทื่อ กลายเป็นไม่นำมาใช้ประโยชน์ใดๆ เลย   ส่วนเรื่องการออกกฎหมายนั้น เชื่อว่า เป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และ เป็นเรื่องของการบังคับใช้มาสเตอร์แพลน ที่ย่อมต้องตามมากับพัฒนาการ การใช้เอไอนั่นคือ การใช้งานอย่างมีจริยธรรม และมีกฎหมาย ต้องให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ควบคู่กับการพัฒนาคนให้ใช้งานอย่างมีจริยธรรม ต่อไปเมื่อมีการนำเอไอมาใช้ จะเชื่อได้อย่างไร ถ้าเอไอตอบคำถามผิด จะรู้หรือมีกลไกในการตรวจสอบอย่างไร เพราะการตรวจเอไอไม่ได้ง่ายเหมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่สามารถทดสอบออกมาได้ว่าโปรแกรมนี้ถูกหรือไม่   “เอไอขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ข้อมูลที่หลากหลายคำตอบที่ได้ จะดีที่สุดกับองค์กรของท่านหรือไม่ หรือดีในแง่ของจริยธรรมหรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างที่กฎหมายกำลังขับเคลื่อน เราต้องตอบตัวเองให้ได้ ว่าจะมีการจำกัดดูแลกลไกของมันได้อย่างไร”…

ด่วน! 15 บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ต้องแจ้งข้อมูลกับ ETDA ไม่ปฏิบัติตามมีโทษ

Loading

15 บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล รีบแจ้งข้อมูลกับ ETDA ตามกฎหมาย DPS (Digital Platform Service) รีบลงทะเบียนก่อน 18 พ.ย. 66 กลุ่มบุคคลธรรมดารายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ถ้าแพลตฟอร์มไหนไม่ปฏิบัติตาม จะมีโทษตามกฎหมาย DPS หรือกฎหมายการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 โดย 15 บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่ต้องแจ้งข้อมูลกับ ETDA ตามกฎหมาย DPS ดังนี้

กฎหมายใหม่ กำกับธุรกิจแพลตฟอร์ม คุ้มครองผู้ใช้บริการ

Loading

ตลาดดิจิทัลแพลตฟอร์มในประเทศไทย มีมูลค่าตลาดของธุรกิจแพลตฟอร์มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เฉพาะตลาด e-Commerce มีมูลค่าสูงถึง 21.41 ล้านล้านบาท ซึ่งนำมาพร้อมโอกาสทางเศรษฐกิจที่เปิดกว้างขึ้นและอาชีพใหม่ ๆ แต่ในขณะเดียวกันเมื่อมีผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มจำนวนมาก ย่อมทำให้การกระจายของข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว

กฎหมาย DPS คืออะไร วิธีการแจ้งข้อมูล ตามกฎหมาย DPS

Loading

กฎหมาย DPS คืออะไร DPS ย่อมาจาก Digital Platform Services หรือชื่อทางการคือ พระราชกฤษฎีกา การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ซึ่งบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อ 21 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา กฎหมายนี้เพื่อคุ้มครองผู้ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล ลดความเสี่ยงจากการฉ้อโกงออนไลน์

เจาะลึก!! กฎหมาย Digital Platform Services ใครได้ ใครเสียประโยชน์

Loading

  พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ “กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 นี้ เป็นอีกหนึ่งกฏหมายที่ถูกปรับมาให้สอดคล้องกับโลกยุคใหม่ คนที่ใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัลควรต้องรู้ !!!!   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอรนิกส์ หรือ ETDA เปิดข้อมูลอินไซต์ “กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services) หรือที่รู้จักกันในชื่อ พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 ที่จะถึงนี้ แน่นอนว่าในมุมของผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างผู้ให้บริการ หรือ ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพตลฟอร์มดิจิทัลนั้น คงติดตามความเคลื่อนไหวและมีการทำความเข้าใจกับกฎหมายฉบับนี้มาอย่างต่อเนื่อง   กฎหมายฉบับนี้ ได้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เปิดรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนรวบรวมประเด็นเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงกฎหมายซึ่งได้มีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง     จาก…