ภาครัฐเร่งพัฒนาจริยธรรม เทคโนโลยี AI หลังเอกชนตื่นตัวลงทุนมากขึ้น

Loading

  ETDA ร่วมกับ สวทช. เผยความพร้อมองค์กรในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI สำหรับบริการดิจิทัล เตรียมวางหลักเกณฑ์ด้านธรรมาภิบาล   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดทำการศึกษาเกี่ยวกับความพร้อมขององค์กร เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรม   การใช้ดัชนีการวัด 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านยุทธศาสตร์และความสามารถขององค์กร 2. ด้านข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐาน 3. ด้านบุคลากร 4. ด้านเทคโนโลยี 5. ด้านธรรมาภิบาล   ผลที่ได้จากการประเมินตามด้านต่าง ๆ จะนำไปสู่การแบ่งความพร้อมขององค์กรได้เป็น 4 ระดับ คือ ระดับ Unaware = ยังไม่มีความตระหนัก/ อยู่ในช่วงเริ่มต้นเรียนรู้ Aware = มีความตระหนักและเริ่มนำ…

“DPS” กลไกกำกับแพลตฟอร์มดิจิทัล หวังลดโกงออนไลน์อุ้มคนไทย

Loading

  กำลังจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว ในวันที่ 21 ส.ค นี้  สำหรับ พ.ร.ฎ.การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ กฎหมาย DPS  (Digital Platform Services)   หลังได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.65 ซึ่งทาง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอ็ตด้า ภายใต้ การกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนกฎหมายฉบับนี้   การที่รัฐต้องตรากฎหมายนี้ออกมาก เพื่อหวังให้เป็นกลไกในการดูแลผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ให้มีความโปร่งใส และมีแนวทางในการคุ้มครองเยียวยาแก่ผู้ใช้บริการ ได้อย่างเป็นธรรม!?!   หลังจากที่ผ่าน ๆ มา คนไทยที่ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล พอเกิดความเสียหาย ก็ไม่รู้ต้องดำเนินการอย่างไร ต้องแจ้งไปที่ไหน หรือติดต่อผู้ให้บริการได้อย่างไร เพื่อขอความช่วยเหลือ!!   ภาพ pixabay.com   เช่นหลังจากในปีที่ผ่านมามีการร้องเรียนเรื่องการใช้งานแพลตฟอร์ม และถูกฉ้อโกง ซื้อขายออนไลน์ กว่า 6 หมื่นเรื่อง!! แล้วใครบ้างล่ะ? ที่เข้าข่ายต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของก.ม. นี้?   หากอธิบายง่าย ๆ ก็คือ …

กฎหมายกับการกำกับธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล

Loading

    “Platform economy” หรือ เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจำนวนมากได้ ดังนั้น กฎหมายเพื่อควบคุมและดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล จึงมีเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน   ผู้เขียนจึงข้อหยิบยกเนื้อหาบางส่วนของกฎหมายฉบับนี้ มาอธิบายให้ฟัง   ที่มาของกฎหมาย   ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีการตรา พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 (พ.ร.ฎ. แพลตฟอร์มดิจิทัล) โดยเป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความ พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้กำหนด “สิทธิ” ให้บุคคล “สามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” ได้   หากภาครัฐเห็นว่า การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เช่นว่านั้น อาจกระทบกับความมั่นคงทางการเงิน การพาณิชย์ หรือเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นกับประชาชน ก็สามารถตรากฎหมาย เพื่อกำหนดให้การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว เป็นกิจการที่ต้องแจ้งให้ทราบ   แจ้งให้หน่วยงานใดทราบ?   กฎหมายกำหนดให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลต้องแจ้งให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ทราบก่อนการประกอบธุรกิจ อย่างไรก็ดี หากเป็นผู้ซึ่งประกอบธุรกิจอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.ฎ. ฉบับนี้ใช้บังคับ ให้มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายภายใน 90…

เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลของเรารั่วไหล❗️ เราจะรับมือแล้วป้องกันอย่างไร❓

Loading

    วันนี้ ETDA ขอเสนอแนวทางป้องกันกรณีข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล! ที่คัดพิเศษมาให้สำหรับคนทั่วไป และหน่วยงานที่ทำการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ? ตามไปดูกันได้เลย   แนวทางป้องกันตัวเองจากผู้ไม่หวังดี ที่อาจจะแอบใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของเราที่รั่วไหล   1. หยุด   โอนเงิน ให้ข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลสำคัญ กับบุคคลที่ไม่รู้จัก ที่ติดต่อเรา มาทาง อีเมล SMS หรือโทรศัพท์ เพราะผู้ไม่หวังดีอาจปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ติดต่อมาหาเรา และใช้ข้อมูลที่รั่วไหล สร้างความน่าเชื่อในการพูดคุยกับเรา   2. คิดก่อนคลิก   หลีกเลี่ยงการเปิดลิงก์หรือไฟล์แนบ จากอีเมลหรือ SMS ที่ไม่รู้จัก เพราะผู้ไม่หวังดี อาจส่งลิงก์หรือไฟล์แนบ มายังอีเมลหรือ SMS และหวังให้เราหลงกล กดคลิกติดตั้ง malware เพื่อขโมยข้อมูลสำคัญของเราไปใช้ทำธุรกรรมการเงินต่อได้   ดังนั้น เมื่อได้รับการติดต่อจากคนที่เราไม่รู้จัก หรือ ไม่แน่ใจว่าเป็นตัวจริง   โปรด!!! หยุด…

คำถามนี้ “ดี” พี่ตอบให้: ความน่าเชื่อถือของ e-Signature และการรับฟังพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์

Loading

กลับมาอีกครั้งกับคำถามที่ทุกคนต้องถาม ! “e-Signature” คำดี คำเดิม !!   ถึงแม้กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะบอกชัดเจนว่า การเซ็นด้วยลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีผลทางกฎหมายเทียบเท่ากับลายเซ็นลงบนกระดาษ… แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ ว่ามันน่าเชื่อถือจริงๆ หรือเปล่า ? ต้องเป็นข้อมูลแบบไหน / ลายเซ็นอิเล็กทรอนิก์แบบไหนกันนะ ถึงจะใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ ?? วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจของทุกคนกันค่ะ   1. ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้หรือไม่ ? ตอบ : ได้ ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 11 วรรคแรก ระบุไว้ว่า “ ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน ในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่นใด เพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์… ”   แต่การที่ศาลจะเชื่อถือในพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือความพยายามหลักฐาน โดยศาลอาจพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือวิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น เช่น การสร้าง การเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้น ศาลอาจพิจารณาถึงความครบถ้วน…

คำถามนี้ดีพี่ตอบให้! รวมคำถามฮิต e-Signature / Digital Signature

Loading

1. “รูปลายเซ็น ตัด แปะ” ลงในไฟล์ PDF และส่งทางอีเมลถือเป็น e-Signature หรือไม่ ? ตอบ : ก่อนอื่นต้องมาทบทวนความหมายของ e-Signature กันก่อน เนื่องจาก e-Signature หรือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ คือ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่ถูกสร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น เพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น   ดังนั้น จากคำถามข้างต้น สามารถวิเคราะห์ได้ว่า รูปลายเซ็นที่ตัดแปะลงในไฟล์ PDF สามารถเป็น e-Signature ตามมาตรา 9 ของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งจะเรียกกันว่า “e-Signature แบบทั่วไป” นั่นเอง โดย e-signature ดังกล่าวตามกฎหมายจะต้องระบุองค์ประกอบ 3 ข้อ ได้ ดังนี้ 1. สามารถระบุตัวตนของเจ้าของลายเซ็นได้ ว่าผู้เซ็นลายเซ็นคือใคร 2. สามารถระบุเจตนาตามข้อความที่เซ็นได้ ว่าเป็นการเซ็นเพื่ออะไร…