ETDA พาสำรวจ 5 ประเทศต้นแบบรัฐบาลดิจิทัล พัฒนา e-Government สร้างบริการสุดล้ำเพื่อประชาชน

Loading

  โลกแห่งเทคโนโลยีหมุนและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วขึ้นทุกวัน ทุกประเทศต่างล้วนปรับตัวตามให้ได้ไวมากที่สุด ขณะที่ เทคโนโลยีก็ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของประชากรโลกเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในหลายๆ เรื่อง ด้วยเหตุนี้ ทำให้หลายประเทศโดยเฉพาะในฝั่งภาครัฐ ต่างปรับตัว และการให้บริการก้าวสู่โลกออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ด้วยรูปแบบการให้บริการที่หลายคนต่างคุ้นหู อย่าง e-Government หรือ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ คือ การจัดการบริการต่างๆ ของภาครัฐให้กับประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการติดต่อและขอรับบริการจากภาครัฐได้ง่าย รวดเร็ว และประหยัดเวลาในการตรวจสอบ การจัดทำเอกสารสำคัญต่างๆ ที่ภาครัฐร้องขอ ที่สำคัญประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย สำหรับ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) (Electronic Transactions Development Agency) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะหน่วยงานภาครัฐมีบทบาทสำคัญที่จะผลักดันและส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศดิจิทัล หรือ Digital Ecosystem ที่มั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ ทั้งระหว่างภาครัฐกับรัฐ ธุรกิจกับธุรกิจ หรือแม้แต่ภาครัฐกับภาคธุรกิจ เพื่อให้การทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ เชื่อมโยงระบบข้อมูลได้อย่างคล่องตัวและช่วยให้ประชาชนได้รับการบริการจากแต่ละหน่วยงานได้อย่างสะดวก พร้อมทั้งมีเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รองรับการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกิด e-Government ขึ้น เพื่อยกระดับความสามารถของภาครัฐในการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดย e-Government…

ETDA เปิด 4 ภัยออนไลน์ ที่ธุรกิจต้องเจอยุคดิจิทัล แนะช่องทางนักธุรกิจรุ่นเก๋า-หน้าใหม่ เสริมภูมิคุ้มกันปิดช่องโหว่มิจฉาชีพ

Loading

ทุกวันนี้ โมเดล ‘ปลาเร็วกินปลาช้า’ ได้กลายเป็นแนวคิดการทำธุรกิจของหลายๆ อุตสาหกรรม ที่ต่างต้องเขย่าโครงสร้าง รูปแบบการทำงานขององค์กรและทีมงาน เพื่อปรับตัวให้ธุรกิจเติบโตเท่าทันโลกยุคดิจิทัล ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่หลายธุรกิจ ทั้งนักธุรกิจมือเก๋าผู้บริหารธุรกิจมานานหลายปี และนักธุรกิจมือใหม่ไฟแรง ล้วนมองเห็นโอกาสตรงกันที่จะช่วยสร้างความได้เปรียบให้ธุรกิจตนเอง และขยายการเติบโตอย่างรวดเร็วโดยเลี่ยงหนีไม่ได้ นั่นคือ “การทำธุรกิจบนโลกออนไลน์” โดยมีการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยให้การทำงานสะดวกยิ่งขึ้น อาทิ การติดต่อสื่อสาร การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมการซื้อ-ขายสินค้าผ่านออนไลน์ การเปิดให้สมัครสมาชิกผ่านระบบออนไลน์ การตกลงทำสัญญาซื้อ-ขาย หรือสัญญาต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ รวมถึงการสอบถามข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ อย่างไรก็ตาม เมื่อธุรกิจผันตัวมาทำงานบนโลกออนไลน์มากขึ้นแล้ว โอกาสที่ได้เจอมิตรแท้ทางธุรกิจก็มีมาก แต่แนวโน้มเสี่ยงเจอมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาในรูปแบบ ‘ภัยออนไลน์’ ก็มีมากเช่นกัน ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยทางออนไลน์ที่เกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงเพิ่มความมั่นใจมากขึ้น โดยเฉพาะด้านธุรกิจทั้งในมุมเจ้าของธุรกิจ คนทำงาน รวมถึงคนทั่วไป ETDA จึงได้ก่อตั้งสถาบัน ADTE by ETDA (เอ็ดเต้ บาย เอ็ตด้า) ที่ได้รวบรวมหลักสูตรดิจิทัลด้านต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนได้พัฒนาองค์ความรู้ เรียนรู้การเติมทักษะดิจิทัล ความเชี่ยวชาญด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในมิติที่สำคัญ พร้อมสร้างภูมิคุ้มกันภัยออนไลน์จากการศึกษาเคสกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง แต่ก่อนจะไปรู้ว่ามีหลักสูตรจำเป็นใดบ้าง ไปรู้จักภัยออนไลน์ที่ธุรกิจต้องเจอในยุคดิจิทัลกันว่ามีประเภทใดบ้าง…

‘เอ็ตด้า’ขู่ ‘แพลตฟอร์มดิจิทัล’ ต่างชาติต้องจดทะเบียน

Loading

    ‘เอ็ตด้า’ เสียงแข็งยันแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างชาติ ต้องจดแจ้งในไทย ฝ่าฝืน ผิดกฎหมายมีบทลงโทษหนัก ดึงโมเดลกฎหมายญี่ปุ่น-ยุโรป มาปรับใช้ต่างใช้กฎหมายนี้แล้ว   นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า กล่าวว่า (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. …. เป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องปฏิบัติตาม ไม่เช่นนั้นจะถือเป็นผู้ให้บริการผิดกฎหมาย ไม่มีธรรมาภิบาลในการประกอบธุรกิจ   โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการต่างประเทศเมื่อต้องการมาลงทุนในประเทศไทยก็ต้องดำเนินธุรกิจตามกฎหมายไทย และหากไม่จดแจ้งคนไทยก็ไม่ควรใช้บริการของแพลตฟอร์มต่างชาติ หรือ แพลตฟอร์มใดๆก็ตามที่ทำผิดกฎหมาย   “หากไม่ทำจะมีตั้งคณะกรรมการร่วม โดยมีปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธาน และปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธาน นอกจากนี้ยังมีกรรมการที่มาจากทั้งตัวแทนภาครัฐและเอกชนกว่า 20 คน ในการร่วมกันกำหนดเงื่อนไขและส่งหนังสือไปยังสถานทูตในประเทศที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติตั้งสำนักงานใหญ่อยู่เพื่อเรียกร้องให้ปฏิบัติตามกฏหมายไทยด้วย”   เขา กล่าวว่า เอ็ตด้ามีหน้าที่ตั้งแต่ การจดแจ้ง,การขึ้นทะเบียน และการอนุญาต แต่กฎหมายฉบับนี้เอ็ตด้าให้ดำเนินการตามอำนาจเพียงการจดแจ้งเท่านั้นซึ่งนับว่าไม่ได้เป็นภาระของผู้ประกอบการแต่อย่างใด โดยเฉพาะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติที่ต้องมีการแจ้งรายได้ประจำปีต่อสำนักงานตามกม.นั้น จำเป็นต้องปฏิบัติเพราะจัดอยู่ในมาตรา 32 เรื่องความเสี่ยง โดยความมั่นคงทางการเงินและพาณิชย์เป็น หนึ่งในความเสี่ยงที่ต้องแจ้งด้วย เพราะเกี่ยวข้องกับผู้ใช้บริการคนไทย…