EU AI Act กฎหมายเปลี่ยนโลก ควบคุมเอไอความเสี่ยงสูง

Loading

  เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 รัฐสภายุโรปได้อนุมัติ EU AI Act โดยกฎหมายดังกล่าว ได้กำหนดหลักการที่สำคัญหลายประการ   อาทิ มาตรการที่เหมาะสมสำหรับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป (General-purpose AI) ข้อจำกัดในการใช้ข้อมูลชีวภาพเพื่อการระบบระบุตัวตนโดยหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ข้อห้ามการให้คะแนนทางสังคม และระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้ในการจัดการหรือหาประโยชน์จากช่องโหว่ของผู้ใช้ และสิทธิของผู้บริโภคในการร้องเรียนและสิทธิในการได้รับคำอธิบายจากการประมวลผลโดยระบบปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น   EU AI Act มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐาน ประชาธิปไตย หลักนิติธรรม และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมจากระบบปัญญาประดิษฐ์ที่มีความเสี่ยงสูง ส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างยุโรปให้เป็นผู้นำในสาขานี้ กฎระเบียบดังกล่าวกำหนดพันธกรณีสำหรับระบบปัญญาประดิษฐ์ โดยพิจารณาจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและระดับผลกระทบ   โดยจำแนกระบบปัญญาประดิษฐ์ตามระดับความเสี่ยงไว้ 4 จำพวก ได้แก่ กลุ่มที่ไม่อาจยอมรับได้ ความเสี่ยงสูง ความเสี่ยงจำกัด และความเสี่ยงต่ำ โดยระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ไม่อาจยอมรับความเสี่ยงได้นำมาซึ่งข้อห้ามการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Prohibited Artificial Intelligence Practices) ในกรณีดังต่อไปนี้   1. การดำเนินการที่เกี่ยวกับจิตสำนึก มีเจตนาบิดเบือนหรือหลอกลวง 2. การใช้ประโยชน์จากความเปราะบาง (อายุ ความทุพพลภาพ…

AI Act คืออะไร ? เมื่อ EU กฎหมายควบคุม AI ฉบับแรกของโลก

Loading

ทำความรู้จักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ AI ฉบับแรก ซึ่งล่าสุด สหภาพยุโรป หรือ EU เพิ่งผ่านกฎหมาย “EU AI Act” ซึ่งต่อจากนี้ ประเทศหลายๆในยุโรป จะนำกฎหมายฉบับดังกล่าวไปบังคับใช้ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการ

กฎหมาย AI ควบคุมการใช้ AI สึนามิแห่งโลกยุคปัจจุบัน

Loading

เทคโนโลยีกับโลกยุคปัจจุบันคงเป็นอะไรที่แยกออกจากกันไม่ได้ ในเมื่อมนุษย์เราต่างมองหาความสะดวกสบายเพื่อเข้ามาช่วยส่งเสริมคุณภาพในการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นเช่นนี้ตลอดมานับแต่มนุษย์ยุคโบราณรู้จักการใช้ไฟ และการเพาะปลูก นำมาซึ่งการก้าวกระโดดของวิวัฒนาการผ่านการทำการเกษตรเพื่อดำรงชีพมากกว่าการพเนจรย้ายถิ่นฐานไปเรื่อย ๆ

รัฐสภายุโรปผ่านร่างกฎหมายปัญญาประดิษฐ์ของยุโรป (EU AI Act)

Loading

    เว็บไซต์ The New York Times รายงานเมื่อ 14 มิ.ย.66 ว่า รัฐสภายุโรปได้ผ่านร่างกฎหมายปัญญาประดิษฐ์เมื่อ 14 มิ.ย.66 เพื่อเข้าสู่การพิจารณาในวาระสุดท้ายก่อนมีผลบังคับใช้ เพื่อปกป้องผู้บริโภคของสหภาพยุโรปจากการใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่อาจเป็นอันตราย ทั้งนี้ กฎหมาย AI ของสหภาพยุโรปจะใช้วิธีการอิงตามความเสี่ยง (Risk-Based Approach) จากศักยภาพสูงสุดที่จะสามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ และให้ความสำคัญกับระบบ AI ที่นำมาใช้ในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านน้ำและพลังงาน และในระบบกฎหมาย นอกจากนี้ยังกำหนดข้อบังคับต่าง ๆ เช่น ห้ามใช้ระบบการจดจำใบหน้า (facial recognition) ตามเวลาจริง และห้ามใช้ชุดข้อมูลชีวมาตรจากสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างฐานข้อมูล รวมถึงการใช้ข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ซึ่งมิใช่ของตนในการฝึกระบบ AI นอกจากนี้ ผู้สร้างระบบ AI จะต้องทำการประเมินความเสี่ยงก่อนการให้บริการ ซึ่งคล้ายกับกระบวนการอนุมัติยา และต้องวางมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้ AI สร้างเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน สหรัฐฯ ได้ออกนโยบายและมาตรการทดสอบระบบ AI ก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวของชาวอเมริกัน ขณะที่จีนกำลังร่างกฎหมายควบคุมผู้ผลิต AI ในจีนให้ประเมินความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ก่อนนำออกสู่สาธารณะ…