28 ประเทศ-อียู ร่วมลงนามใน “ปฏิญญาความปลอดภัยของเอไอ”

Loading

ประเทศต่าง ๆ ทั้งหมด 28 ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร, สหรัฐ, จีน และสหภาพยุโรป (อียู) ร่วมลงนามในปฏิญญาความปลอดภัยของปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) โดยเห็นพ้องถึง “ความจำเป็นในการดำเนินการระหว่างประเทศ” ระหว่างการประชุมสุดยอดเกี่ยวกับเอไอครั้งแรกของโลก ซึ่งมีผู้นำทางการเมืองและผู้นำด้านเทคโนโลยีเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

แอมเนสตี้เผย เวียดนามอาจเอี่ยวการโจมตีด้วยมัลแวร์ “พรีเดเตอร์”

Loading

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุรายละเอียดในรายงานว่า บัญชีแพลตฟอร์ม “เอ็กซ์” ที่เชื่อมโยงกับเวียดนาม พยายามส่งมัลแวร์ที่เรียกว่า “พรีเดเตอร์” เข้าไปในโทรศัพท์ของผู้คนและสถาบันหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น นักข่าวชาวเวียดนามในต่างประเทศ, เจ้าหน้าที่ของอียู และเจ้าหน้าที่รัฐของสหรัฐ หรือแม้กระทั่งประธานาธิบดีไช่ อิง-เหวิน ผู้นำไต้หวัน

รวมข้อมูลเท็จ EU ให้คะแนนติดลบ ยัน X เป็นจุดเริ่มต้นข่าวปลอม

Loading

ที่ผ่านมาทาง EU เผยได้มีการประเมินแพลตฟอร์มดังกล่าวมาโดยตลอด โดยดูว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลเท็จได้ง่ายแค่ไหน กับมีวิธีการรับมืออย่างไร และผลการประเมินคือ สหภาพยุโรปหรือ EU ได้กำหนดให้ X ชื่อใหม่ของ Twitter เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ที่มีสัดส่วนการโพสต์ข้อมูลเท็จหรือบิดเบือนมากที่สุด

EU จ่อใช้กฎหมายตลาดดิจิทัล กระทบยักษ์ใหญ่เทคโนโลยี 6 แห่ง

Loading

คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ระบุเมื่อวันพุธ (6 ก.ย.) ว่า EC ได้กำหนดให้บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ 6 แห่งเป็น “ผู้เฝ้าประตู” (gatekeepers) ภายใต้กฎหมายตลาดดิจิทัล (Digital Markets Act – DMA) ซึ่งเป็นกฎหมายกำกับดูแลด้านการแข่งขันฉบับใหม่ที่อาจพลิกโฉมรูปแบบธุรกิจของแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่

EU มีมติผ่านกรอบความร่วมมือ อนุญาตบริษัทเทคถ่ายโอนข้อมูลข้ามทวีประหว่างสหรัฐ-ยุโรป

Loading

      คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) อนุมัติกรอบความร่วมมือว่าด้วยความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (EU – U.S. Data Privacy Framework) เปิดทางให้บริษัทเทคโนโลยีสามารถถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของชาวยุโรปไปยังเซิร์ฟเวอร์ในสหรัฐอเมริกาได้แล้ว   คณะกรรมาธิการยุโรปให้เหตุผลว่า รายละเอียดของการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวภายใต้กรอบนี้ ถือว่ามีความปลอดภัยเพียงพอ และตอบโจทย์ข้อกังวลและข้อเสนอแนะของศาลยุติธรรมยุโรป (European Court of Justice) เช่น จำกัดการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ เท่าที่จำเป็น หรือการตั้งศาล Data Protection Review Court ที่ชาวยุโรปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้   บริษัทที่ลงนามเข้าร่วมกรอบความร่วมมือนี้จะสามารถถ่ายโอนข้อมูลจากยุโรปกลับไปยังสหรัฐได้อย่างปลอดภัย โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรการความปลอดภัยอื่นๆ มาครอบอีกที   อย่างไรก็ตาม กรอบความร่วมมือนี้มีโอกาสถูกอุทธรณ์จากกลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านความเป็นส่วนตัว เพราะมองว่าปัญหาอยู่ที่กฎหมายด้านการสอดส่อง (surveillance law) ของสหรัฐฯ รวมถึงตั้งคำถามถึงท่าทีของ EU ซึ่งที่ผ่านมาต่อต้านแนวทางนี้มาตลอด อย่างกรณีปี 2020 ที่ศาลของ EU สั่งห้ามการส่งข้อมูลกลับสหรัฐฯ ก็เพราะกฎหมายฉบับดังกล่าว   ที่มา :…

สหภาพยุโรปเตรียมออกกฎหมายควบคุมการใช้ข้อมูลผู้บริโภคและองค์กรในยุโรป

Loading

ประเทศในสหภาพยุโรปและฝ่ายนิติบัญญัติของสหภาพยุโรปบรรลุข้อตกลงในการออกพระราชบัญญัติข้อมูล (Data Act) เมื่อ 27 มิ.ย.66 เพื่อควบคุมบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ (Big Tech) และบริษัทอื่น ๆ ในการใช้ข้อมูลของผู้บริโภคและองค์กรในยุโรป รวมถึงป้องกันรัฐบาลนอกสหภาพยุโรปเข้าถึงข้อมูลอย่างผิดกฎหมาย ทั้งนี้จะครอบคลุมไปถึงข้อมูลของผู้บริโภคที่สร้างบนอุปกรณ์อัจฉริยะ เครื่องจักร และสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ กฎหมายนี้กำหนดให้ผู้ให้บริการระบบคลาวด์จะต้องให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการถ่ายโอนข้อมูลที่ผิดกฎหมาย ต้องมีการสร้างหรือพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ หากเป็นการใช้ข้อมูลที่ซ้ำกัน  นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้บริโภคและบริษัทสามารถคัดลอกหรือถ่ายโอนข้อมูลจากผู้ให้บริการรายเดิมไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ได้ง่ายขึ้น และคาดว่าจะส่งผลให้การบังคับให้ผู้บริโภคแบ่งปันข้อมูลแก่บุคคลที่สามลดน้อยลง —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                             เว็บไซต์ Reuters                         / วันที่เผยแพร่  28…