รัฐบาลอินเดียเปิดประมูลจัดซื้อกล้องจับใบหน้าบนตู้รถไฟกว่า 40,000 ตู้
การรถไฟอินเดียที่ดูแลระบบรางทั่วประเทศเปิดประมูลจัดซื้อจัดจ้างการติดตั้งกล้องจดจำใบหน้าบริเวณทางเข้าและทางออกในตู้รถไฟทั้งหมด 44,000 ตู้
การรถไฟอินเดียที่ดูแลระบบรางทั่วประเทศเปิดประมูลจัดซื้อจัดจ้างการติดตั้งกล้องจดจำใบหน้าบริเวณทางเข้าและทางออกในตู้รถไฟทั้งหมด 44,000 ตู้
สิงค์โปร์ลงทุนระบบ AI วิเคราะห์เสียงจากกล้องวงจรปิด ตรวจจับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน อย่างเสียงปืน และแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ให้ทันเวลาก่อนเหตุการณ์ลุกลาม ย้อนกลับไปเมื่อปี 2018 สิงคโปร์ได้ริเริ่มใช้ AI ในการวิเคราะห์เสียงเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างเสียงปืน จากกล้องวงจรปิดกว่าพันตัว ในสนามบินชางงี เฮง สวีคีต รัฐมนตรีสิงคโปร์ เล่าว่า แม้ว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่า เป็นหนึ่งในเมืองที่ปลอดภัยที่สุดในโลก
กระแสโซเชียลประมาณว่าคนที่ถูกจับใช่ตัวจริงหรือไม่ จากการที่รูปลักษณ์ใบหน้ามีการเปลี่ยนแปลงไปนิดหน่อย การใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Image Analysis Toolset – IAT ซึ่งเป็นแอปบนมือถือสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ สามารถวิเคราะห์ใบหน้าของบุคคล และสามารถตรวจสอบได้อย่างแม่นยำ
ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรในการจัดหาและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ตรงกับคุณสมบัติตามที่ต้องการ รวมทั้งดูแลรักษาให้พนักงานอยู่กับองค์กรให้ได้นานที่สุดเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีและเอไอจำนวนมากได้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถที่หลากหลายและง่ายต่อการใช้งาน เป็นตัวช่วยในการทำงานด้านต่าง ๆ รวมทั้งนำมาใช้เป็นตัวช่วยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับทีมทรัพยากรบุคคลได้ในหลายด้านด้วยกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกบุคลากรในการ ร่างเอกสารคุณสมบัติและหน้าที่ในตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัคร (Job Description) โดยการใช้ Generative AI เช่น ChatGPT ช่วยเขียนและเรียบเรียงข้อความให้น่าสนใจ รวมถึงมีรายละเอียดของงาน หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ทักษะที่ต้องการ รวมถึงวัฒนธรรมขององค์กรที่ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งช่วยให้ผู้สมัครเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนพิจารณาสมัครในตำแหน่งนั้น ๆ หลังจากนั้นเอไอยังช่วย คัดเลือกเรซูเม่ (Resume Screening) จากการอ่านข้อมูลของผู้สมัครทั้งหมดและเลือกผู้สมัครที่มีคุณสมบัติที่ตรงกับความต้องการที่ทางบริษัทกำหนดไว้มากที่สุด รวมทั้งช่วยวิเคราะห์เบื้องต้นได้ว่า บุคคลนั้น ๆ มีแนวโน้มที่สามารถร่วมงานกับองค์กรและเป็นบุคลากรคุณภาพในอนาคตได้หรือไม่ ในขั้นตอนการสัมภาษณ์ เอไอมีส่วนช่วยในการ สร้างชุดคำถาม (Creating Interview Questions) ที่เหมาะสมกับตำแหน่งและสายงานนั้น ๆ ที่ช่วยให้เราวัดความรู้ ความสามารถ ประเมินความเชี่ยวชาญในการทำงานของผู้สมัคร มองเห็นทัศนคติและมุมมองทางความคิดที่ส่งผลต่อการทำงานในอนาคต และสุดท้ายเอไอจะช่วยทำสรุปผลการสัมภาษณ์ (Interview Summarization) เพื่อนำเสนอต่อทีมที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป…
เมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงกลาโหมของยูเครนได้เริ่มใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าของ Clearview AI แล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ที่บริษัทสตาร์ทอัพของสหรัฐฯ ได้เสนอเข้ามา มีประโยชน์ที่จะช่วยเปิดเผยหน้าผู้จู่โจมชาวรัสเซีย ต่อสู้กับข้อมูลที่ผิด และระบุชื่อผู้เสียชีวิตได้โดยไม่ต้องเช็คไอดี แผนดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นหลังจากรัสเซียบุกยูเครนและผู้บริหารระดับสูงของ Clearview Hoan Ton-That ส่งจดหมายถึง Kyiv เพื่อให้ความช่วยเหลือ ผู้ก่อตั้ง Clearview บอกกับสื่อว่า บริษัทมีฐานข้อมูลรูปของชาวรัสเซียมากกว่า 2 พันล้านภาพ ซึ่งได้มาจากบริการโซเชียลมีเดียของรัสเซีย VKontakte จากฐานข้อมูลทั้งหมดกว่าหนึ่งหมื่นล้านภาพ โดยฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถช่วยให้ยูเครน ระบุผู้เสียชีวิตได้ง่ายกว่าการพยายามจับคู่ลายนิ้วมือและทำงานได้แม้ว่าใบหน้าจะเสียหาย นอกจากนี้ Clearview สามารถใช้เพื่อรวมตัวผู้ลี้ภัยที่ต้องแยกจากครอบครัวของพวกเขา สามารถระบุตัวทหารชาวรัสเซียที่อาจแอบแฝงเข้ามา และช่วยรัฐบาลยูเครนต่อสู้กับข้อมูลที่ผิด ที่มาข้อมูล https://www.reuters.com/technology/exclusive-ukraine-has-started-using-clearview-ais-facial-recognition-during-war-2022-03-13/ ——————————————————————————————————————————————- ที่มา : Techhub / วันที่เผยแพร่ 21 มี.ค.65 Link :…
การสัญจรด้วยรถไฟใต้ดินหรือ “เมโทร” ในกรุงมอสโกของรัสเซีย จัดว่าเป็นทางเลือกยอดนิยมและสะดวกอย่างยิ่ง ด้วยเส้นทางที่เชื่อมต่ออย่างเป็นระบบ ใช้การสังเกตจดจำด้วยหมายเลขของเส้นทางแต่ละสาย การกำกับด้วยสี บรรยากาศภายในโถงชานชาลาก็สวยงามอลังการ เป็นแหล่งท่องเที่ยวใต้ดินที่ไม่ควรพลาด อีกทั้งระบบการชำระค่าโดยสารที่เป็นรูปแบบของบัตรแตะเข้าภายในสถานีก็ใช้ได้ง่าย ล่าสุด มอสโกได้เปิดตัวระบบการชำระเงินด้วยเทคโนโลยีตรวจสอบและจดจำใบหน้า (Face Recognition) ที่ใช้ชื่อว่า “เฟซเพย์” (Face Pay) ในระบบรถไฟใต้ดินของเมืองหลวงแห่งนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีจดจำใบหน้า เมื่อเข้าสู่รถไฟใต้ดินผู้โดยสารไม่จำเป็นต้องใช้การ์ดหรือสมาร์ทโฟน พวกเขาเพียงแค่ต้องมองกล้องที่ตรงประตูเปิดปิด ทั้งนี้ ผู้โดยสารต้องกรอกข้อมูลเพื่อสมัครใช้ระบบดังกล่าว โดยผูกกับบัญชีธนาคารที่มีข้อมูลไบโอเมตริกของผู้โดยสารรถไฟใต้ดินคนนั้น แต่ใช่ว่าจะเป็นการบังคับ ซึ่งก็แล้วแต่ความสมัครใจ ทางการมอสโกคาดการณ์ว่าระบบเฟซเพย์ จะถูกใช้งานโดยผู้โดยสาร 10-15% ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า ส่วนวิธีการชำระเงินแบบเดิมก็จะยังคงอยู่เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิต่างวิพากษ์วิจารณ์เทคโนโลยีจดจำใบหน้านี้ เนื่องจากปกติก็ใช้กันอยู่แล้วในซุปเปอร์มาร์เกตในมอสโกหลายสิบแห่ง และยังใช้เป็นเครื่องมือในการบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมองว่านี่คือตัวอย่างของการสอดส่องของรัฐบาลที่กำลังคืบคลานเข้ามา. ———————————————————————————————————————————————— ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ / วันที่เผยแพร่ …
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว