Meta ยอมจ่าย 725 ล้านเหรียญเพื่อยุติคดีข้อมูลหลุดไปยังบริษัท Cambridge Analytica

Loading

  Meta ได้ยินยอมจ่ายเงิน 725 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อยุติคดีที่บริษัทถูกฟ้องร้องมาตั้งแต่ปี 2018 จากเหตุข้อมูลผู้ใช้หลุดไปยังบริษัทวิจัยสัญชาติอังกฤษ Cambridge Analytica   คดีนี้เกิดจากการที่กลุ่มผู้ใช้ Facebook ได้ยื่นฟ้องร้องแบบกลุ่มต่อศาลรัฐบาลกลางของเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย หลังจากมีการเปิดเผยว่า Meta ได้ให้ข้อมูลผู้ใช้มากถึง 87 ล้านบัญชีกับ Cambridge Analytica ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยที่ให้บริการพรรคการเมืองทั่วโลกเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลคะแนนเสียงและความนิยมในแง่มุมต่างๆ   ฝั่งโจทก์เผยรายละเอียดข้อตกลงยุติคดีต่อศาลว่า นับตั้งแต่มีการฟ้องร้อง Meta ได้ยกเลิกการอนุญาตให้บุคคลที่สามเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ผ่านคนรู้จักที่สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ของบริษัทได้ นอกจากนี้ ยังควบคุมและดูแลข้อมูลอย่างเข้มงวดมากขึ้นและปรับปรุงวิธีการแจ้งผู้ใช้ว่าข้อมูลใดจะถูกจัดเก็บและส่งต่อบ้าง   นอกจากนี้ ฝ่ายโจทก์กล่าวว่า กรณีนี้ถือว่าเป็นการชดเชยความเสียหายครั้งใหญ่ที่สุดในการฟ้องร้องแบบกลุ่มในเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและเป็นจำนวนเงินมากที่สุดที่ Facebook เคยจ่ายเพื่อยุติคดีฟ้องร้องแบบกลุ่ม ทั้งนี้ แม้ว่าจำนวนเงินจะดูเป็นจำนวนที่สูงมาก แต่กลุ่มผู้เสียหายรวมก็เป็นกลุ่มผู้ใช้ Facebook ในสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2007-2022 รวมหลายร้อยล้านคน ทำให้ค่าเสียหายที่ได้รับจริงก็น่าจะคนละไม่มากนัก     ที่มา: Bloomberg       ————————————————————————————————————————————————————————————————– ที่มา : …

วิธีปกป้องความเป็นส่วนตัวบน Facebook

Loading

  วิธีปกป้องความเป็นส่วนตัวบน Facebook การที่เรามีบัญชี Facebook ใส่ข้อมูลประวัติบางอย่าง นั่นหมายความว่าจะมีคนอื่นๆเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือข้อมูลประวัติทั่วไป ทุกคนบน Facebook สามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณได้ ดังนั้นการรักษาความเป็นส่วนตัวใน Facebook จึงเป็นเรื่องสำคัญและขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นการตั้งค่าเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวบน Facebook   วิธีปกป้องความเป็นส่วนตัวบน Facebook   1. อย่าเพิ่มคนไม่รู้จักเลยเป็นเพื่อน เพราะเราไม่มีทางรู้เจตนาหรือตัวตนที่แท้จริงของพวกเขาว่าคิดดีกับเราหรือไม่ แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดคือเพิ่มเฉพาะคนที่เรารู้จักเป็นการส่วนตัว และเคยเจอคุยกันในชีวิตจริงเท่านั้น   2. อย่าอัปโหลดข้อมูลทั้งหมดของคุณ Facebook มีส่วนเฉพาะที่ผู้ใช้สามารถเพิ่มข้อมูลส่วนบุคคล การศึกษา และรายละเอียดการทำงาน แต่การเพิ่มข้อมูลนั้นมันจำเป็นจริงๆ หรือ? Facebook และผู้ใช้รายอื่นจำเป็นต้องรู้ว่าคุณเรียนจบในวัยมัธยมที่ไหน? แม้การให้ข้อมูลทุกอย่างอาจดูน่าสนใจ แต่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องอัปโหลดข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมด คุณควรเพิ่มเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อ เมือง และรูปโปรไฟล์ล่าสุดของคุณและหลีกเลี่ยงการอัปโหลดข้อมูลลับให้เห็นในรูปแบบสาธารณะ   3. ปรับแต่งความเป็นส่วนตัวของโพสต์ของคุณ ทุกโพสต์ที่คุณแชร์มีตัวเลือกในการแก้ไขความเป็นส่วนตัวและทำให้ผู้ชมบางคนเห็นได้ ผู้ใช้สามารถอัปโหลดรูปโปรไฟล์และเปลี่ยนการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเป็นเพื่อนหรือเฉพาะฉัน ขั้นตอนมีดังนี้   iT24Hrs   ใน Facebook Stories ยังมีตัวเลือกในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายคุณควรเปลี่ยนการตั้งค่าผู้ชมเป็นเพื่อนเท่านั้นหรือเพื่อน…

Meta ลงโทษพนักงานและไล่ออกกว่า 20 ราย พบขายบัญชีผู้ใช้ให้แฮ็กเกอร์

Loading

  เอกสารภายในบริษัทและแหล่งข่าวของ Wall Street Journal ระบุว่า Meta ได้จัดการกับพนักงานกว่า 20 รายด้วยการไล่ออกหรือลงโทษทางวินัยเมื่อปีที่แล้ว หลังพบว่าพนักงานควบคุมบัญชีผู้ใช้งาน Facebook และ Instagram ขายบัญชีผู้ใช้ให้กับแฮ็กเกอร์   พนักงานที่ถูกลงโทษบางส่วนทำงานเป็นผู้ดูแลศูนย์บริการของ Meta และได้นำข้อมูลบัญชีผู้ใช้ออกไปให้บุคคลที่สามผ่านทางระบบที่เรียกเป็นการภายในบริษัทว่า Oops ย่อมาจาก Online Operations ที่ Meta อนุญาตให้พนักงานสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อจัดการกับข้อมูลผู้ใช้ได้ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการความช่วยเหลือ เช่น ต้องการรีเซ็ตรหัสผ่าน หรือเมื่อบัญชีถูกแฮก   การขโมยข้อมูลผู้ใช้มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการติดสินบนและขายบัญชีให้แฮกเกอร์นำไปขายต่อซึ่งมีมูลค่าเป็นหมื่นเหรียญสหรัฐ หรือในรูปแบบบริษัทกลางหรือคนกลางรับจ้างรีเซ็ตบัญชีที่ไปจ้างพนักงานภายใน Meta อีกทอดหนึ่ง บางกรณีเป็นคนใกล้ตัวที่พนักงานไว้ใจที่มาจ้างให้รีเซ็ตบัญชีของบุคคลที่สามให้ นอกจากนี้ ยังมีการปรับเปลี่ยนวิธีการขโมยข้อมูลเพื่อหลบหลีกการตรวจสอบจาก Meta ด้วย   สาเหตุสำคัญเกิดจากที่ Meta มีข้อมูลผู้ใช้กว่า 3 พันล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายบริการลูกค้าทางออนไลน์ เมื่อผู้ใช้พบปัญหาก็ต้องติดต่อผ่านพนักงานทางโทรศัพท์หรืออีเมลและให้พนักงานเป็นผู้จัดการบัญชีให้ ซึ่งเป็นช่องโหว่ให้มีการขายบัญชีผู้ใช้     ที่มา: Wall Street Journal  …

การทดลองเผย แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ล้มเหลวในการกรองข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐฯ

Loading

  Global Witness องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านสิทธิมนุษยชน และทีมงาน Cybersecurity for Democracy (C4D) แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์กเผยว่า Facebook และ TikTok ล้มเหลวในการขัดขวางโฆษณาที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐอเมริกาที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน   โดย Global Witness ได้ทำการทดสอบมาตรการป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลเท็จบนโซเชียลมีเดีย ด้วยการสร้างบัญชีปลอมบน Facebook, TikTok และ YouTube จากนั้นใช้บัญชีเหล่านี้สร้างโฆษณาทั้งในภาษาอังกฤษและสเปน   ทางองค์กรระบุว่าโฆษณาแต่ละตัวมีเนื้อหาที่เป็นข้อมูลเท็จอย่างชัดเจน อย่างการอ้างว่าคนที่จะไปเลือกตั้งได้ต้องฉีดวัคซีนก่อน หรืออ้างว่าต้องโหวต 2 ครั้งถึงจะมีความหมาย โฆษณาบางตัวก็ใส่วันที่ของการเลือกตั้งแบบผิด ๆ   พื้นที่เป้าหมายของโฆษณาเหล่านี้คือรัฐที่มีการแข่งขันกันอย่างสูสีระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ ได้แก่ แอริโซนา โคโลราโด จอร์เจีย นอร์ทแคโรไลนา และเพนซิลเวเนีย   ผลก็คือมีเพียง YouTube เท่านั้นที่สามารถปิดกั้นโฆษณาทั้งหมด รวมถึงยังสามารถบล็อกบัญชีที่สร้างโฆษณาเท็จได้ด้วย   ในทางกลับกัน ในการทดลองครั้งแรก Facebook อนุมัติถึงร้อยละ 20 ของโฆษณาปลอมที่เป็นภาษาอังกฤษ และอนุมัติครึ่งหนึ่งของโฆษณาภาษาสเปน ในขณะที่การทดลองใหม่อีกครั้ง…

Meta เตือน 402 แอปพลิเคชัน แอบขโมยข้อมูลล็อกอิน Facebook

Loading

  Meta ออกประกาศเตือนถึงแอปพลิเคชันที่แอบขโมยข้อมูลล็อกอิน Facebook ด้วยการปลอมเป็น เกม โปรแกรมแก้ไขรูปภาพ VPN และยูทิลิตี้อื่น ๆ กว่า 402 แอปพลิเคชัน   Meta เตือนผู้ใช้ Facebook เกี่ยวกับแอปพลิเคชันจำนวนหลายร้อยแอปทั้งในระบบ iOS และ Android ที่ออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลสำหรับการเข้าสู่ระบบของแอปพลิเคชันโซเชียลเน็ตเวิร์กโดยเฉพาะ Meta ระบุว่า มีแอปพลิเคชันที่เป็นอันตรายกว่า 402 แอป ที่ปลอมแปลงเป็นเกม โปรแกรมแก้ไขรูปภาพ และยูทิลิตี้อื่น ๆ ที่ทำให้ผู้ใช้งานเปิดโอกาส “ให้บุกรุกบัญชีของตนโดยไม่รู้ตัวด้วยการดาวน์โหลดแอปเหล่านี้และแบ่งปันข้อมูลประจำตัว” ซึ่งส่งผลกระทบถึงผู้ใช้งานนับล้านราย   Meta ระบุในโพสต์ว่า แอปหลอกล่อให้ผู้คนดาวน์โหลดแอปด้วยรีวิวปลอมและสัญญาว่าจะมีฟังก์ชันที่เป็นประโยชน์ (ทั้งกลวิธีทั่วไปสำหรับแอปหลอกลวงอื่น ๆ ที่พยายามหลอกเอาเงินของคุณมากกว่าข้อมูลการเข้าสู่ระบบ) แต่เมื่อเปิดแอปบางตัวขึ้นมาใช้ ผู้ใช้งานจะได้รับแจ้งให้เข้าสู่ระบบด้วย Facebook ก่อนที่พวกเขาจะเข้าไปใช้งานอะไรได้จริง ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้นักพัฒนาสามารถขโมยข้อมูลประจำตัวของพวกเขาได้   Meta กล่าวว่า ได้รายงานแอปดังกล่าวไปยัง Google และ Apple เพื่อนำออกแล้ว แต่ไม่เข้าใจว่าพวกเขารองรับลงใน…

รายงานเผย Facebook และ Instagram เก็บข้อมูลผู้ใช้มากที่สุดในบรรดาแอปโซเชียล

Loading

    Tech Shielder เว็บที่เก็บข้อมูลและวิจัยด้านความปลอดภัย เปิดเผยรายงาน Hack Hotspots ที่รายงานการเก็บข้อมูลของแอปโซเชียลและบันเทิง ที่ได้รับความนิยม รวมถึงแนวโน้มของปริมาณความสนใจในการแฮกแอปเหล่านี้   รายงานเผยว่าแอปในกลุ่ม Meta ล้วนมีการเก็บชุดข้อมูลของผู้ใช้ในสัดส่วนที่สูงที่สุด โดย Facebook และ Messenger เก็บชุดข้อมูลถึง 70% ของจำนวนชุดข้อมูลที่สามารถเก็บได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล รองลงมาเป็น Instagram ที่ 67%, Snapchat 59%, WhatsApp และ Twitter เท่ากันที่ 53%   ขณะที่ในแง่แนวโน้มความสนใจในการแฮกแอปเหล่านี้ Tech Shielder สำรวจง่ายๆ จากปริมาณการเสิร์ชบน Google ด้วยคำเช่นว่า ‘Facebook Hacked’ และพบว่า Facebook มีการค้นหามากที่สุดที่เฉลี่ย 500,000 ครั้งต่อเดือน ตามมาห่าง ๆ ด้วย Instagram 246,000 ครั้ง…