AMBER Alert ไทย ใช้ยังไง ? ระบบช่วยตามหาเด็กหาย-ถูกลักพาตัว ด้วยพลังโซเชียล

Loading

  หลังจาก Meta เปิดตัว AMBER Alert ระบบช่วยตามหาเด็กหาย-ถูกลักพาตัว ด้วยพลังโซเชียล ผ่านการแจ้งเตือนบน Facebook และ Instagram มันใช้ยังไง ?   วิธีการทำงานของระบบ AMBER Alert บนแพลตฟอร์มของ Meta อย่าง Facebook และ Instagram คือ เมื่อตำรวจได้รับแจ้งและวิเคราะห์ข้อมูลของเด็กที่หายไป เช่น การลักพาตัว หากตำรวจตัดสินใจแล้วว่าเคสนี้เร่งด่วน ก็จะส่งให้ศูนย์ประสานงาน Meta ทำการส่งแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในรัสมี 160 กิโลเมตร(100 ไมล์) จากจุดที่ถูกลักพาตัว   โดยภายในแจ้งเตือนจะมีรูป เบาะแสให้สังคมช่วยสังเกตุ เช่น ป้ายทะเบียนรถ ชุดที่เด็กใส่ เป็นต้น และในโพสต์นั้นก็จะมีช่องทางติดต่อเพื่อให้เบาะแสต่าง ๆ ซึ่งหากเราพบเบาะแสก็สามารถส่งข้อมูลตามเบอร์ในโพสต์หรือแจ้งที่สถานีตำรวจท้องถิ่นได้ ถ้าลูกเราหาย ต้องทำอย่างไร ?   ในกรณีที่พบว่าบุตรหลานของเราตกเป็นเหยื่อถูกลักพาตัว ก็สามารถแจ้งความได้ที่สถานีตำรวจใกล้บ้านได้ทันที และเมื่อตำรวจได้รับแจ้งก็จะเข้าสู่ขั้นตอนสืบสวน ซึ่งถ้าเป็นกรณีที่ร้ายแรงและต้องอาศัยสายตาสอดส่องจากประชาชนเป็นการเร่งด่วน ตำรวจก็จะส่งเรื่องไปยังศูนย์ประสานงานได้ทันที…

Facebook และ Instagram สามารถติดตามผู้ใช้จากเบราว์เซอร์ที่ติดตั้งในแอปได้

Loading

  ถ้าสังเกตให้ดี ในกรณีที่แอป Facebook และ Instagram ได้เปิดลิงก์จากเว็บไซต์อื่นขึ้นมา จะมิได้เยื่อมโยงไปยังแอปเว็บเบราว์เซอร์หลักของอุปกรณ์โดยตรง แต่เป็นการเปิดจากเบราว์เซอร์ที่ติดตั้งในแอป ล่าสุดนักวิจัยนามว่า เฟลิกซ์ เคราซ์ (Felix Krause) ได้เปิดเผยว่า Facebook และ Instagram ได้ใส่โค้ด JavaScript ลงในทุกเว็บไซต์ที่แอปเปิดขึ้นมา ซึ่งทำให้ Meta ซึ่งบริษัทแม่ของ Facebook และ Instagram สามารถติดตามผู้ใช้ที่เข้าเว็บไซต์นั้น ๆ ได้ เคราซ์ได้กล่าวว่า “แอป Instagram ได้ใส่โค้ดติดตามผู้ใช้ลงในทุกเว็บไซต์และโฆษณาด้วยที่ปรากฏขึ้นทุกตัว ซึ่งทำให้พวกเขา (หมายถึงทีมงานของ Meta) สามารถติดตามการตอบสนองของผู้ใช้บนเว็บไซต์ได้ได้ เช่น การกดปุ่มหรือลิงก์ , ข้อความที่เลือก , การบันทึกภาพหน้าจอ รวมถึงข้อมูลที่กรอกลงไป เช่น พาสเวิร์ด , ที่อยู่ และหมายเลขบัตรเครดิต เป็นต้น” เคราซ์ได้กล่าวเสริมว่า “โค้ดที่ Facebook และ…

Meta ชี้ว่าแฮกเกอร์เบลารุสพยายามหลอกให้กองทัพยูเครนยอมแพ้

Loading

  Meta ระบุในรายงานความมั่นคงปลอดภัยประจำไตรมาสว่า UNC1151 กลุ่มแฮกเกอร์จากเบลารุสพยายามแฮกเข้าไปยังบัญชี Facebook ของบุคลากรทางการทหารของยูเครนจำนวนมากเพื่อโพสต์วีดิโอเรียกร้องให้กองทัพยูเครนยอมแพ้   การแฮกในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งปฏิบัติการแฮกที่ผู้เชี่ยวชาญเรียกว่า ‘Ghostwriter’ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลเบลารุส พันธมิตรสำคัญของรัสเซีย   อย่างไรก็ดี ปฏิบัติการแฮกดังกล่าวสามารถเข้าควบคุมได้เพียงไม่กี่บัญชีเท่านั้น และในกรณีที่สามารถควบคุมบัญชีได้และพยายามโพสต์วีดิโอปลอม ทาง Meta ก็สามารถยับยั้งไม่ให้วีดิโอเหล่านี้ถูกนำไปเผยแพร่ต่อได้   นอกจากความพยายามในการแฮกบุคลากรทางการทหารของยูเครนแล้ว รายงานของ Meta ยังได้เผยให้เห็นถึงความพยายามในการโจมตีผู้สนับสนุนยูเครนด้วยวิธีการในทางลับรูปแบบอื่น อย่างหน่วย KGB ของเบลารุสที่พยายามยุยงให้มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาลโปแลนด์ (ซึ่งต่อต้านรัสเซียและสนับสนุนยูเครน) ในกรุงวอร์ซอ เมืองหลวงของโปแลนด์ แต่โชคดีที่ Meta สามารถปิดบัญชีเจ้าปัญหาได้ทัน   ที่มา The Verge     ————————————————————————————————————————————————– ที่มา : Beartai                 / วันที่เผยแพร่ 10 เม.ย.65 Link…

แฮ็กเกอร์ใช้ช่องทางขอข้อมูลฉุกเฉิน หาข้อมูลผู้ใช้ Apple , Facebook , Discord , Snap

Loading

ภาพโดย B_A Bloomberg อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวระบุว่าปีที่ผ่านมากลุ่มแฮ็กเกอร์ Recursion Team พยายามหาข้อมูลเหยื่อผ่านทางแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ เช่น Apple , Facebook , Discord , และ Snap โดยอาศัยช่องทางการขอข้อมูลฉุกเฉินที่มีการตรวจสอบน้อยกว่า โดยปกติแล้วผู้ให้บริการแพลตฟอร์มมักมีกฎเกณฑ์สำหรับการขอข้อมูลผู้ใช้ เช่น อีเมล , หมายเลขโทรศัพท์ , ไอพี , หรือข้อมูลการใช้งานอื่นๆ โดยต้องผ่านการตรวจสอบหลายชั้น ต้องขอหมายศาลที่เกี่ยวข้อง แต่ขณะเดียวกันก็มักเปิดช่องทางขอข้อมูลฉุกเฉินในกรณีที่ต้องการข้อมูลเร่งด่วนโดยมีการตรวจสอบน้อยกว่า Recursion Team อาศัยการปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ โดยการแฮ็กบัญชีอีเมลเจ้าหน้าที่เอง และส่งเอกสารพร้อมปลอมลายเซ็น ทำให้แพลตฟอร์มเชื่อและส่งข้อมูลให้ ตอนนี้บริษัทต่างๆ ยังไม่ยืนยันว่าส่งข้อมูลให้คนร้ายไปมากน้อยเพียงใด มีเพียง Discord ที่ระบุว่ารู้ตัวว่าถูกหลอกขอข้อมูล ได้สอบสวนเหตุการณ์และติดต่อหน่วยงานที่ถูกแฮ็กอีเมลแล้ว ที่มา – Bloomberg     ที่มา : blognone    /   วันที่เผยแพร่ 31 มี.ค.65 Link…

เตือนแอปอันตรายบน Android หลอกขโมยรหัสผ่าน Facebook

Loading

credit : Pradeo   ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยบนมือถือ Pradeo ได้ออกเตือนพบแอปพลิเคชันอันตรายบน Play Store ที่มีการดาวน์โหลดไปแล้วกว่าแสนครั้ง   แอปพลิเคชัน ‘Craftsart Cartoon Photo Tools’ โฆษณาตัวเองว่าใช้สำหรับแปลงรูปภาพให้เป็นการ์ตูน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ารูปภาพโปรไฟล์แบบนี้ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง แต่นักวิจัยจาก Pradeo พบว่าแอปกลับแฝงมาด้วยโทรจัน FaceStealer โดยที่คนร้ายอาศัยการแก้ไขแพ็กเกจและ inject โค้ดอันตรายไปยังแอปอื่นๆด้วย เพื่อให้รอดพ้นจากการตรวจตราของ Play Store   เมื่อติดตั้งแล้วแอปจะไม่ทำงานอะไรให้จนกว่าผู้ใช้จะผ่านหน้าล็อกอินของ Facebook หากเหยื่อหลงเชื่อคนร้ายก็จะได้ Credentials ของเราไปนั่นเองโดยการอัปโหลดไปยังเซิร์ฟเวอร์ควบคุม หากล็อกอินเสร็จแล้วแอปก็จะมีความสามารถเพียงแค่รับรูปผู้ใช้ส่งไปยัง URL ‘http://color.photofuneditor.com/’ ซึ่งแปลงภาพส่งกลับมาแสดงในแอปให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดหรือส่งให้เพื่อน ด้วยความที่ไม่ได้มีอะไรดีเลย รีวิวใน Play Store จึงมีแต่คนต่อว่า   จุดสังเกตของแอปมีหลายจุดคือโดยฟังก์ชันแล้วไม่จำเป็นต้องขอให้ล็อกอิน Facebook ก็ได้ แต่แอปกลับยืนกรานให้เป็นขั้นแรก ซึ่งเหยื่อหลายคนคงหลงเชื่อ อีกด้านคือคอมเม้นต์จากผู้ใช้ว่าห่วยมาก แถมข้อมูลนักพัฒนายังน่าสงสัยหลายส่วน สุดท้ายแล้ว Pradeo ได้แจ้งไปยัง Google…

Facebook ลบวิดีโอ Deepfake ของประธานาธิบดี Zelensky ที่เผยแพร่หลังสำนักข่าวยูเครนโดนแฮ็ก

Loading

    Meta รายงานว่าทางบริษัทสั่งตรวจสอบและลบวิดีโอ Deepfake ของประธานาธิบดี Volodymyr Zelensky บนแพลตฟอร์ม Facebook แล้ว เป็นไปตามกฎของ Facebook ที่ไม่อนุญาตให้มีวิดีโอประเภทนี้บนแพลตฟอร์ม   วิดีโอปลอมของประธานาธิบดี Zelensky นี้ออกแถลงการณ์ในลักษณะขอให้ประชาชนวางอาวุธเลิกต่อต้านทหารรัสเซีย และมีรายงานว่าวิดีโอนี้เผยแพร่ผ่านช่องโทรทัศน์และเว็บไซต์ของสำนักข่าว Ukraine 24 ที่มีรายงานว่าโดนแฮ็กด้วย   Nathaniel Gleicher หัวหน้าฝ่ายนโยบายความปลอดภัยของ Meta ระบุว่าทีมได้ตรวจสอบและลบวิดีโอ Deepfake ของประธานาธิบดี Zelensky ที่แถลงการณ์ในสิ่งที่เขาไม่ได้พูดแล้ว วิดีโอนี้ปรากฏในเว็บไซต์ที่ถูกโจมตีและหลังจากนั้นก็เผยแพร่ไปทั่วอินเทอร์เน็ต ทาง Meta จึงได้ตรวจสอบและลบวิดีโอเนื่องจากฝ่าฝืนนโยบายเกี่ยวกับสื่อที่ถูกบิดเบือนและแจ้งเตือนไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ ด้วย อ้างอิง  https://www.facebook.com/www.ukraine24.ua/posts/1847515155441880   ที่มา – Engadget, Snopes   ——————————————————————————————————————————————————- ที่มา : Blognone by Nutmos       …