ฝรั่งเศส สั่งปรับเงิน Google และ Facebook กว่า 8 พันล้านบาท ในประเด็นการติดตามข้อมูลของผู้ใช้งาน

Loading

  หน่วยงานตรวจสอบความเป็นส่วนตัวในประเทศฝรั่งเศส สั่งปรับเงินกูเกิล (Google) และเฟซบุ๊ก (Facebook) รวมกันเป็นเงิน 210 ล้านยูโร ภายหลังทั้งสองบริษัทมีความพยายามขัดขวางผู้ใช้งานในกรณีที่ไม่ต้องการให้ติดตามพฤติกรรมและข้อมูลของผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต   Commission Nationale de l’Informatique et des Libertés หรือ CNIL ซึ่งเป็นหน่วยงานตรวจสอบความเป็นส่วนตัวในประเทศฝรั่งเศส เปิดเผยว่า หน่วยงานได้ลงดาบกูเกิล ยักษ์ใหญ่ด้านเสิร์ชเอนจินเป็นจำนวนเงิน 150 ล้านยูโร (ราว 5,800 ล้านบาท) เนื่องจากกูเกิล สร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้ใช้งาน จนทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถปิดคุกกี้ (cookies) เพื่อหยุดการติดตามพฤติกรรมการใช้งานบนโลกไซเบอร์ เฟซบุ๊ก ก็ถูกหน่วยงานของประเทศฝรั่งเศสปรับด้วยเหตุผลเดียวกัน เพียงแต่ในรายของเฟซบุ๊ก ถือว่าเบากว่ากูเกิล เพราะโดนสั่งปรับเป็นเงิน 60 ล้านยูโร (ราว 2,300 ล้านบาท) เท่านั้น หน่วยงานตรวจสอบความเป็นส่วนตัว ยืนยันว่า การยอมรับการติดตามของคุกกี้ สามารถทำได้เพียงคลิกเดียว เพราะฉะนั้นแล้ว การที่จะปฏิเสธคุกกี้ ก็ต้องทำได้ง่ายพอๆ กับการกดยอมรับ ทั้งนี้ สิ่งที่กูเกิลและเฟซบุ๊กปฏิบัติกลับตรงกันข้าม…

ตามให้ทัน “เมตาเวิร์ส” หวั่นภัยไซเบอร์ลุกลาม

Loading

  กลายเป็นประเด็นให้พูดถึงในวงกว้างสำหรับ เมตาเวิร์ส (metaverse) หลังจากที่ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง เฟซบุ๊ก (Facebook) ได้ประกาศรีแบรนด์เปลี่ยนชื่อ บริษัท ใหม่ เป็น เมตา (Meta) ภายในงานประชุม Connect 2021 ขณะเดียวกันยังประกาศวิสัยทัศน์แบบก้องโลก ที่จะผลักดัน “เมตาเวิร์ส” สู่การใช้งานในชีวิตจริง ซึ่งเมตาเวิร์ส ถือเป็นยุคต่อไปของการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยขยายประสบการณ์สู่รูปแบบ “สามมิติ” หรือมีการแสดงภาพสู่โลกแห่งความจริง และเปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถแชร์ประสบการณ์โลกเสมือนจริงหรือโลกดิจิทัลแก่ผู้อื่น ที่สามารถโต้ตอบ แบ่งปันและใช้พื้นที่เสมือนจริงร่วมกันได้ ผ่าน “อวาตาร์” ที่เป็นตัวแทนของเราในโลกเสมือน หลังจากเมตาเวิร์ส ถูกจุดประเด็นขึ้น ยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศ ทั้ง “ไมโครซอฟท์” หรือบริษัทบันเทิง อย่าง “ดิสนีย์” ก็ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องการเชื่อมโยงโลกดิจิทัลให้ ใกล้ชิดกับคนมากยิ่งขึ้นในรูปแบบ “โลกเสมือนจริง” ผ่านเทคโนโลยีวีอาร์ (Virtual reality) หรือการจำลองสภาพแวดล้อมจริงในโลกเสมือนจริง และเทคโนโลยี เออาร์ (Augmented reality) ที่เป็นเทคโนโลยีที่ผสานโลกเสมือนเข้ากับโลกความเป็นจริง   ภาพจาก Meta (เฟซบุ๊ก)   “เมตาเวิร์ส” จึงกลายเป็นเรื่องใหม่ที่คนเฝ้าติดตามกันอย่างใกล้ชิดว่าในอนาคตข้างหน้าเทคโนโลยีนี้จะเปลี่ยนการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างเราไปอย่างไร? สำหรับประเทศไทยแล้วในมุมมองของผู้ที่อยู่ในแวววงไอที มีมุมมองในเรื่องนี้อย่างไร?? “บุญเลิศ นราไท”ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เออาร์ไอพี บอกว่า ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าในไทยคงต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะเป็นที่นิยม เพราะในต่างประเทศบริษัทต่าง ๆ เพิ่งเริ่มให้ความสำคัญ…

เฟสบุ๊ค สั่งถอดระบบจดจำใบหน้าในบัญชีผู้ใช้ 1 พันล้านคนทั่วโลก

Loading

  เฟสบุ๊ค ประกาศปิดระบบจดจำใบหน้าที่ใช้ในสื่อสังคมออนไลน์ภายในเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งจะมีผลกับผู้ใช้ในเฟสบุ๊คกว่า 1 พันล้านบัญชี ท่ามกลางความกังวลด้านสังคมเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าว ตามรายงานของรอยเตอร์ เจอโรม เพเซนที รองประธานฝ่ายระบบปัญญาประดิษฐ์ของเฟสบุ๊ค ระบุในบล็อกโพสต์เมื่อวันอังคาร (2 พฤศจิกายน) ว่า ในช่วงที่หน่วยงานกำกับดูแลยังอยู่ระหว่างการจัดทำกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้งาน และด้วยสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในระยะนี้ ทางเฟสบุ๊คเชื่อว่า การจำกัดการใช้ระบบจดจำใบหน้าเป็นมาตรการที่เหมาะสม เฟสบุ๊ค ระบุว่า มาตรการนี้จะมุ่งไปที่การปิดระบบเทมเพลตจดจำใบหน้าของบัญชีผู้ใช้กว่า 1 พันล้านราย ซึ่งทุกๆวัน จะมีผู้ใช้ระบบดังกล่าวราว 1 ใน 3 ของบัญชีผู้ใช้เฟสบุ๊ค และบริษัทคาดว่าจะถอดระบบดังกล่าวได้เสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคมนี้ อย่างไรก็ตาม ทางเฟสบุ๊ค ที่เพิ่งประกาศรีแบรนด์เป็น เมตา (Meta) เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยังไม่ได้ปิดประตูแห่งโอกาสสำหรับระบบจดจำใบหน้าไปอย่างถาวร โดยทางบริษัท ระบุในแถลงการณ์ว่า ยังคงเห็นว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง อย่างเช่น กับผู้คนที่ต้องการยืนยันตัวตนหรือผู้ที่ต้องการป้องกันการฉ้อโกงและการแอบอ้างเป็นบุคคลอื่นบนโลกออนไลน์ ซึ่งทางบริษัทจะยังคงเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีนี้ต่อไป   (มีเนื้อหาบางส่วนจากรอยเตอร์)   ————————————————————————————————————————————————– ที่มา : VOA Thai / วันที่เผยแพร่ 3…

Facebook ทำเงินจากคุณได้อย่างไร และล้วงข้อมูลอะไรไปบ้าง !?

Loading

  Facebook ทำเงินจากคุณได้อย่างไร และล้วงข้อมูลอะไรไปบ้าง !? ในทุก ๆ วัน มีคนเกือบ 2,000 ล้านคนทั่วโลกที่กำลังไถฟีด Facebook (เฟซบุ๊ก) และในทุก ๆ วันมีกว่า 300 ล้านภาพ ที่ถูกอัปโหลดเก็บไว้บนเฟซบุ๊ก เอาหน่วยย่อยลงมาหน่อย ในทุก 1 นาที มี 590,000 คอมเมนต์ และ 290,000 สเตตัสเกิดขึ้นบนเฟซบุ๊ก เราอาจคิดว่าเราทุกคนกำลังใช้เฟซบุ๊ก แต่แท้จริงแล้วเฟซบุ๊กกำลังใช้เรา 2,895 ล้านคนคือจำนวนของบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กล่าสุด ณ ปัจจุบัน ถ้าถามถึงสัดส่วนประชากรโลกก็เพียง 36 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง อ้าว! ยังไม่ถึงครึ่งอีกหรอเนี่ย แต่นั่นก็ทำให้เฟซบุ๊กกลายเป็นโซเซียลมีเดียที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก และคงไม่เกินเลยที่จะกล่าวว่า เฟซบุ๊กเป็นแพลตฟอร์มที่ทรงพลังที่สุด และมีอิทธิพลต่อผู้คนทั่วโลกมากที่สุด รวมทั้งเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจ สังคม จนไปถึงการเมืองได้เลย   รายได้ล่าสุด เมื่อครองโลกได้ขนาดนี้จึงไม่แปลกใจนัก ที่บริษัทเฟซบุ๊กจะทำเงินมหาศาล โดยตัวเลขล่าสุดในไตรมาสที่ 2 ของปี 2021…

วิธีเปิด Facebook Protect ยืนยันตัวตน เพื่อความปลอดภัย หากไม่ยืนยันจะถูกล็อกบัญชี

Loading

    วิธีเปิด Facebook Protect ยืนยันตัวตน ภายใน 15 วันก่อนถูกล็อกบัญชี เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน facebook ของคุณ ซึ่งเป็นการตั้งค่าให้บัญชี facebook มีความปลอดภัยขึ้นระดับสูงสุด หากคุณไม่ยอมตั้งค่าเปิดใช้งาน Facebook Protect ภายในเวลาที่กำหนด บัญชีของคุณจะถูกล็อก ไม่สามารถเข้าสู่ระบบของ facebook ได้ทันที จะบังคับให้ไปตั้งค่าเปิด Facebook Protect ให้เรียบร้อย   วิธีเปิด Facebook Protect บนแอป Facebook   แตะที่ไอคอน เมนู >> เลือก การตั้งค่าและความเป็นส่วนตัว >> เลือก การตั้งค่า แล้วเลือกที่ รหัสผ่านและการรักษาความปลอดภัย เลือกที่ Facebook Protect (สังเกตระบุว่า ยังปิดอยู่)   จะขึ้นข้อความแนะนำบริการ Facebook Protect ให้แตะที่ ถัดไป…

ไขข้อสงสัย!! Facebook Protect คืออะไร?? ต้องเปิดใช้งาน ไม่นั้นจะใช้งานเฟซบุ๊กไม่ได้

Loading

  เมื่อวานนี้หลาย ๆ คนคงจะได้รับการแจ้งเตือนจาก Facebook ให้เปิดใช้งาน Facebook Protect ซึ่งเป็นฟีเจอร์ความปลอดภัยของเฟซบุ๊ก​ (Facebook) ที่บังคับให้ผู้ใช้เปิดใช้งาน มิเช่นนั้นผู้ใช้จะไม่สามารถใช้บริการเฟซบุ๊กได้จนกว่าจะเปิดใช้งาน Facebook Protect ซึ่งก็มีผู้ใช้หลาย ๆ คนที่วิตกกังวล ว่าควรเปิดใช้งานดีหรือไม่ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ Facebook Protect กันดีกว่า ว่าตกลงแล้วคืออะไร??     เดิมทีเมื่อปีที่แล้ว Facebook Protect มีให้บริการในเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่บัญชีของนักการเมือง พรรคการเมือง หน่วยงานราชการ กรรมการการเลือกตั้ง และผู้ใช้ที่เป็นเจ้าของเพจที่ได้รับการรับรอง (เครื่องหมายถูกสีฟ้า) ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการการเลือกตั้ง ที่มีการกำหนดว่าผู้ใช้จะเป็นที่จะต้องตั้งค่าการยืนยันตัว 2 ขั้นตอน และเปิดให้เฟซบุ๊กสามารถมอนิเตอร์การใช้งานเพื่อตรวจสอบพฤติกรรมที่ผิดปกติเพื่อป้องกันการโดนแฮกนั่นเอง     ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีรายงานจาก Axios ว่าในปี 2021 นี้ เฟซบุ๊กจะมีการขยายประเทศที่ให้บริการ Facebook Protect กับประเภทบัญชีที่กว้างมากยิ่งขึ้น นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ผู้ใช้บางคนในประเทศไทยได้รับการแจ้งเตือนดังกล่าว ซึ่งถ้าไม่เปิดใช้งานภายใน 15 วัน…