ร้านขายยาในอเมริกา ถูกสั่งห้ามใช้ Facial recognition จับขโมย หลังแจ้งจับผิดคนหลายพันเคส

Loading

การนำเทคโนโลยีมาใช้กับธุรกิจ กลายเป็นเรื่องวุ่นวายที่ทางการต้องเข้ามาสั่งระงับ โดยร้านขายยา Rite Aid ที่มีสาขาหลายพันแห่งในอเมริกา ได้รับการร้องเรียนจากลูกค้า จนนำมาสู่การเจรจายอมทำตามข้อตกลงกับคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ หรือ FTC

อะไรกันอยู่ดี ๆ ก็โดนแฮ็ก ! รับมืออย่างไรในวันที่มิจฉาชีพก็ปรับตัวตามโลกดิจิทัล

Loading

ในโลกที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 เข้ามาเป็นปัจจัยเร่งชั้นดีให้พวกเราปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์ หลายองค์กรก็ได้เร่งทำ Digital Transformation ต้องบอกเลยว่ามิจฉาชีพก็ปรับตัวเองก็เช่นกัน ในโลกออนไลน์ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าและสำคัญที่สุดคือ “ข้อมูล” เรียกได้ว่าบนโลกออนไลน์เป็นขุมทรัพย์แห่งใหม่ของเหล่ามิจฉาชีพเลยก็ว่าได้

เทคโนโลยีจดจำใบหน้าทำงานพลาด! ส่งชายอเมริกันเข้าคุกทั้งที่ไม่ผิด

Loading

Facial Recognition   นักกฎหมายผู้หนึ่งกล่าวว่า การใช้เทคโนโลยีระบบการจดจำใบหน้าของทางการรัฐหลุยเซียนานำไปสู่การจับกุมที่ผิดพลาด โดยเจ้าหน้าที่ได้ใช้หมายจับในการจับกุมตัวชายชาวจอร์เจีย ซึ่งคดีนี้เป็นคดีที่รื้อฟื้นความสนใจในเรื่องของความไม่เสมอภาคทางเชื้อชาติในการใช้เครื่องมือดิจิทัล   รายงานจากหนังสือพิมพ์ The Times-Picayune และ The New Orleans Advocate ระบุว่า แรนดัล เรด (Randall Reid) ชายวัย 28 ปี ต้องถูกจำคุกเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ ดีคัล์บ เคาน์ตี้ (DeKalb County) รัฐจอร์เจีย   โดยทอมมี่ คาโลเจอโร (Tommy Calogero) ทนายความของเขากล่าวว่าเจ้าหน้าได้ที่เชื่อมโยงใบหน้าของเรดกับการขโมยกระเป๋าแบรนด์หรูที่เขตเจฟเฟอร์สัน แพริช (Jefferson Parish) และเมือง แบตัน รูจ (Baton Rouge) ด้วยความผิดพลาด ทำให้เขาถูกจับกุมเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน และได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 1 ธ.ค.   เรดเป็นชายผิวดำและการที่เขาถูกจับกุมนี้ทำให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจในการใช้เทคโนโลยีที่บรรดาผู้คัดค้านกล่าวว่าส่งผลให้อัตราการระบุตัวคนผิวสีผิดพลาดสูงกว่าคนผิวขาว   เรดเล่าว่า…

‘เอไอ’ กับการสืบสวนอาชญากรรม เทคโนโลยีเพื่อการไขคดีอย่างแม่นยำ

Loading

  เปิดโลกของเอไอกับการจัดการด้านอาชญากรรม ทำความรู้จักบทบาทต่างๆ ของเอไอในการสืบสวนคดี ตรวจจับ และการป้องกันอาชญากรรม   กระบวนการสืบสวนคดีความและอาชญากรรมเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน การมองข้ามแม้เพียงรายละเอียดเล็ก ๆ ระหว่างกระบวนการอาจนำไปสู่สมมุติฐานที่ผิดพลาด ทำให้ไม่สามารถคลี่คลายคดีความหรือหาต้นตอและอาชญากรตัวจริงได้   ในภาพยนตร์สืบสวนเราต่างเคยเห็นนักสืบอัจฉริยะมากมาย แต่ในความเป็นจริง เราคงไม่สามารถสืบสวนอาชญากรรมอย่างละเอียดและเฉียบขาดได้ตลอดเวลา ด้วยพลังที่มีขีดจำกัดของมนุษย์ แต่ถ้าหากเรามีผู้ช่วยอย่างเอไอแล้ว สิ่งที่เคยทำไม่ได้อาจกลายเป็นเรื่องง่าย   บทความนี้ผมจะพาทุกคนไปเปิดโลกของเอไอกับการจัดการด้านอาชญากรรม ทำความรู้จักบทบาทต่างๆ ของเอไอในการสืบสวนคดี ตรวจจับ และการป้องกันอาชญากรรม เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบันส่งผลให้เอไอมีความสามารถใกล้เคียงนักสืบมือฉมัง และเป็นผู้ช่วยชั้นเยี่ยมของตำรวจเลยทีเดียวครับ   ในกระบวนการพิสูจน์หลักฐาน เอไอก็ได้เข้าไปมีบทบาทไม่น้อยเลย งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยลีออน ประเทศสเปน ได้ทำการเทรนโมเดลโครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) ในการตรวจจับร่องรอยของอาชญากรในสถานที่เกิดเหตุ   โดยใช้ข้อมูลภาพสถานที่เกิดเหตุจำนวนหลายพันภาพเทรนอัลกอริธึมให้ตรวจจับรูปแบบของร่องรอยและหลักฐานในที่เกิดเหตุ อาทิ รอยเท้า กระสุน อาวุธปืน เป็นต้น รวมถึงยังสามารถตรวจจับรูปแบบร่องรอยที่สื่อถึงอาชญากรคนเดียวกันจากหลาย ๆ คดีได้อีกด้วย   สารคัดหลั่งในจุดเกิดเหตุเป็นอีกหลักฐานน่าเชื่อถือและมีประโยชน์ต่อรูปคดีมาก แต่การตรวจสอบอย่างละเอียดนั้น โดยปกติต้องอาศัยกระบวนการทางนิติเวชที่ต้องใช้เวลายาวนาน รวมถึงยังต้องแยกระหว่างสารคัดหลั่งจากผู้ต้องหากับสารคัดหลั่งของตำรวจที่เข้าไปในจุดเกิดเหตุอีกด้วย   หากเราทำการเทรนเอไอให้เข้ามาทำหน้าที่นี้ โดยใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมสร้างโมเดลที่ประมวลผลได้อย่างถูกต้องแม่นยำตามหลักการแพทย์ ก็จะช่วยลดเวลาในการทำงานและนำไปสู่การสรุปผลคดีที่ถูกต้องและโปร่งใส…

ญี่ปุ่นเจ๋ง! พัฒนาระบบ AI จดจำใบหน้าแม้จะสวมใส่หน้ากากอนามัย

Loading

  ในช่วงสถานการณ์ Covid-19 นี้เป็นที่แน่นอนว่าทุกคนจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่กำลังระบาด แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือในขณะที่สวมใส่หน้ากากอนามัยนั้น เราจะไม่สามารถทราบได้ว่าใครเป็นใคร ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมได้ หรือหากต้องถอดหน้ากากอนามัยเพื่อยืนยันตัวตนก็อาจจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้เกิดนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท NEC จากประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า NeoFace Live Facial Recognition ซึ่งเป็นอัลกอริทึมที่ทำให้สามารถยืนยันตัวตนได้แม้ว่าจะใส่หน้ากากอนามัยก็ตาม โดยระบบการทำงานของเจ้าตัวอัลกอริทึมนี้จะสแกนในส่วนของใบหน้าที่ไม่ได้ถูกปกปิด และจากการคิดค้นพัฒนาจนได้ระบบที่มีประสิทธิภาพนั้นจึงทำให้การยืนยันตัวตนของ NeoFace Live Facial Recognition ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งวินาที โดยมีอัตราความแม่นยำมากกว่า 99.99% เลยทีเดียว โดยตำรวจนครบาลของญี่ปุ่นได้เป็นกลุ่มผู้ทดลองใช้ระบบของ NEC เพื่อการเปรียบเทียบใบหน้าในฝูงชน นอกจากนี้สายการบินลุฟต์ฮันซา (lufthansa) และสวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ (Swiss International Air Lines) ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มลูกค้าของ NEC ด้วย และ NEC ยังได้ทดลองใช้ระบบสำหรับการชำระเงินอัตโนมัติที่ร้านค้าในสำนักงานใหญ่ในโตเกียวอีกด้วย     Shinya Takashima ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกแพลตฟอร์มดิจิทัลของ NEC ได้กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ระบบดังกล่าวจะทำให้ผู้คนสามารถเลี่ยงการสัมผัสกับพื้นผิวต่าง ๆ ได้ เป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้คนได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้คนเกิดข้อกังวลว่า ระบบดังกล่าวจะเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวหรือไม่…