‘ดีอี’ วาง 3 นโยบาย ‘ศูนย์เฟคนิวส์’ ทำงานเชิงรุกช่วยคนไทยมีภูมิคุ้มกันทางออนไลน์

Loading

รัฐมนตรีดีอี เผยผลดำเนินงาน “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม” (Anti Fake News Center) พร้อมวางนโยบายทำงานเชิงรุกให้คนไทย สร้างวัฒนธรรมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนแชร์ต่อในโลกออนไลน์ รัฐบาลให้ความสำคัญและมุ่งเน้นการจัดการข้อมูลที่เป็นเท็จทางสื่อออนไลน์

ลูกชาย “ทรัมป์” โดนแฮ็ก โพสต์ปล่อยข่าว “โดนัลด์ ทรัมป์” เสียชีวิต

Loading

ข้อความหยาบคาย และเฟกนิวส์ ถูกโพสต์จากแอคเคานต์ส่วนตัวของ ทรัมป์ จูเนียร์ ลูกชายคนโตของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งมีผู้ติดตามมากกว่า 10 ล้านคน อาทิ “ผมเสียใจที่ต้องประกาศว่า พ่อของผม โดนัลด์ ทรัมป์ เสียชีวิตแล้ว และผมจะลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีปีหน้า”

SIM Swap Fraud การสวมซิมควบคุมเครื่องโทรศัพท์ โอนเงินออกจากบัญชีมีจริงหรือ?

Loading

  SIM Swap Fraud การสวมซิมควบคุมเครื่องโทรศัพท์ โอนเงินออกจากบัญชีมีจริงหรือ หลังมีแชร์ในโซเชียลเกี่ยวกับการสวมซิม หรือ SIM SWAP เพื่อควบคุมเครื่องโทรศัพท์และโอนเงินออกจากบัญชีไป   ล่าสุด 26 กรกฎาคม 2566 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงข่าว กรณีมีการหลอกลวงทางเทคโนโลยีขั้นสูงที่เรียกว่า SIM SWAP FRAUD อ้างว่าขณะใช้งานโทรศัพท์อยู่ตามปกติ เครือข่ายโทรศัพท์ไม่มีสัญญาณ (Zero Bar) เป็นระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นไม่นาน มีโทรศัพท์อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแจ้งว่ามีปัญหาเครือข่ายสัญญาณมือถือ จากนั้นแนะนำให้กด 1 เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายอีกครั้ง เมื่อกด 1 เครือข่ายจะปรากฏขึ้นทันทีชั่วคราวและจะไม่มีสัญญาณอีกครั้ง (Zero Bar) ช่วงนี้คนร้ายได้ควบคุมเครื่องโทรศัพท์และโอนเงินออกจากบัญชีไป ขณะที่เจ้าของโทรศัพท์จะไม่ได้รับการแจ้งเตือนใด ๆ เนื่องจากซิมถูกเปลี่ยนขณะที่มือถือถูกตัดสัญญาณโทรศัพท์   พ.ต.อ.ก้องกฤษฎา กิตติถิระพงษ์ รองผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี(รอง ผบก.ตอท.) และ นายเลิศรัตน์ รตะนานุกูล กรรมการบริหารและประชาสัมพันธ์ สมาคมโทรคมนาคมฯ ชี้แจงว่า…

Save พ่อแม่จากเฟกนิวส์ : ลูกหลานสื่อสารอย่างไร เมื่อผู้สูงวัยเชื่อกลุ่มไลน์มากกว่าข้อเท็จจริง

Loading

    ตั้งแต่อิลูมินาติ จนถึง CIA ตั้งฐานทัพในประเทศไทย หรือพระธาตุที่หน้าตาคล้ายซิลิก้าเจล จนถึงการดื่มปัสสาวะรักษาโรค – ข้อมูลข่าวสารมากมายที่แชร์กันผ่านกลุ่มไลน์ อาจยากที่จะแยกว่าอะไรจริงหรือไม่จริง ยิ่งหากเป็นข้อมูลที่มาจากเพื่อนสนิท หรือคนที่ไว้ใจ ก็อาจทำให้หลายคนหลงเชื่อ โดยไม่คิดตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม   โดยทั่วไป เรามักพบว่ากลุ่มที่ตกเป็นเหยื่อของ ‘เฟกนิวส์’ โดยไม่ได้ตั้งใจ ก็คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ยิ่งหากว่าเฟกนิวส์ต่างๆ มาจากช่องทางที่ผู้สูงอายุติดตามเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นรายการข่าวที่โปรดปราน หรือกลุ่มเพื่อนสนิทวัยเก๋าที่ไว้ใจ ก็ยิ่งมีความเป็นไปได้ว่า ปู่ย่าตายายของเราจะเชื่อข้อมูลเหล่านั้น โดยไม่คิดหาเหตุผลโต้แย้ง   มีการศึกษาที่พบว่า ผู้สูงอายุมักตกเป็นเหยื่อของเฟกนิวส์ง่ายกว่าช่วงอายุอื่นๆ โดยการศึกษาพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียในสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มักแชร์บทความที่ไม่มีข้อเท็จจริงรองรับ สูงกว่าคนที่อายุระหว่าง 18-29 ปี ถึง 7 เท่า   อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย ระบุว่าผู้สูงอายุที่มีการใช้สื่อดิจิทัลเพิ่มขึ้น มักแชร์ข้อมูลต่างๆ ออกไปด้วยความปรารถนาดี แต่ปัญหาคือ ก่อนแชร์ข้อมูลมักไม่ทันได้ตรวจสอบว่า ข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด เป็นข้อมูลที่มีความคิดเห็นเจือปน…

กรมประชาฯ เจอดี มิจฉาชีพทำเพจปลอม “ข่าวจริงประเทศไทย” ล้วงตับชาวเน็ต

Loading

  ทีมงานข่าวจริงประเทศไทย สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ แจ้งความเอาผิดกับคนที่ทำเพจปลอมเลียนแบบ ทักแชตแล้วอ้างศูนย์ดำรงธรรม ให้ส่งข้อมูลไปที่ไอดีไลน์และลิงก์ ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ   เมื่อ 3 มิ.ย. รายงานข่าวแจ้งว่า ทีมงานข่าวจริงประเทศไทย สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ ได้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่แอบอ้างกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ หลังจากที่มีเพจเฟซบุ๊กใช้ชื่อเลียนแบบว่า “ข่าวจริงประเทศไทย” สร้างขึ้นเมื่อเดือน เม.ย. 2566 ที่ผ่านมา มีผู้ติดตาม 379 คน   สำหรับพฤติกรรมของเพจเลียนแบบก็คือ เมื่อเข้าไปที่กล่องข้อความแล้วพิมพ์ข้อความ จะมีข้อความอัตโนมัติ ระบุว่า “สวัสดีครับ ผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีออนไลน์ สามารถแจ้งหรือร้องทุกข์ได้ที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรม Line : … (ขอสงวนไอดีไลน์) คลิก : … (ขอสงวนลิงก์) ส่งหลักฐานประวัติการสนทนาและสลิปที่ถูกหลอกลวงหรือฉ้อโกงให้เจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมเพื่อดำเนินการสืบสวนขยายผลดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้นะครับ” ซึ่งเป็นไอดีไลน์ปลอม   พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ให้ข้อมูลว่า กลุ่มคนร้ายมักจะดำเนินการในลักษณะดังกล่าว ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ หากคลิกลิงก์หรือแอดไลน์…

โจรไซเบอร์แสบ! ปั่นข่าวปลอม “ออมสิน” ปล่อยสินเชื่อปลอดดอกเบี้ย คนแห่สนใจอันดับ 1

Loading

    ดีอีเอส ออกโรงเตือนประชาชนระวังโจรไซเบอร์ หลังประชาชนแห่สนใจเรื่องการกู้เงินออนไลน์ให้วงเงินสูง ปลอดดอกเบี้ย หลังมิจฉาชีพปลอมตัวเป็นธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อเงินกู้ฉุกเฉิน ขณะที่ข่าวปลอม ครม. อนุมัติถอนเงินชราภาพได้ก่อน 30% กดรับสิทธิผ่านลิงก์ ขึ้นแท่นข่าวปลอมที่คนสนใจสูงสุด   ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และโฆษกกระทรวงดีอีเอส เปิดเผยว่า ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่  12-18 พฤษภาคม 66 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,189,887 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 274 ข้อความ โดยช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social listening จำนวน 240 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 34 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 189 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 85 เรื่อง…