ข่าวปลอม อย่าแชร์! ข้อมูลผู้ป่วยรพ. ศิริราชกว่า 39 ล้านคน รั่วไหลถูกนำไปประกาศขายในอินเทอร์เน็ต

Loading

  ตามที่มีการส่งต่อข้อความในประเด็นเรื่องข้อมูลผู้ป่วยรพ. ศิริราชกว่า 39 ล้านคน รั่วไหลถูกนำไปประกาศขายในอินเทอร์เน็ต ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ   จากกรณีที่มีการส่งต่อเรื่องราวโดยระบุว่าข้อมูลผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราช รั่วและถูกนำไปเสนอขาย โดยรายละเอียดข้อมูลที่รั่วคือ ชื่อ สกุล ที่อยู่ รหัสบัตรประชาชน เบอร์โทร เพศ วันเกิด และอื่นๆ   ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตรวจสอบและชี้แจงว่าขณะนี้ยังไม่พบการรั่วไหลของข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และโรงพยาบาลในสังกัด   ทั้งนี้ โรงพยาบาลศิริราชยังเปิดให้บริการตามปกติ และไม่มีผลกระทบต่อการรักษาและการให้บริการทางการแพทย์แต่อย่างใด โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเรียนให้ผู้รับบริการทุกท่านมั่นใจว่า คณะฯ ให้ความสำคัญในการปกป้องและรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยอย่างสูงสุดตามมาตรฐานสากล โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลไม่มีนโยบายการติดต่อกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลเพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ   ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.si.mahidol.ac.th/th หรือติดตามข้อมูลข่าวสารจากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.)   บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ขณะนี้ยังไม่พบการรั่วไหลของข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และโรงพยาบาลในสังกัด ทั้งนี้…

ดีอีเอส สรุป 10 อันดับ “ข่าวปลอม” ประเด็นปากท้อง-สุขภาพคนสนใจมากสุด

Loading

    ดีอีเอส สรุป 10 อันดับ “ข่าวปลอม” สัปดาห์นี้ พบคนสนใจประเด็นเศรษฐกิจปากท้องและสุขภาพมากสุด เจอบ่อย “ออมสิน” ปล่อยกู้ดอกเบี้ยถูก – งดใช้ตู้ ATM กรุงไทย   วันที่ 19 มีนาคม 2565 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ “ดีอีเอส” สรุปผลการมอนิเตอร์สถานการณ์รอบสัปดาห์ของศูนย์ต่อต้าน “ข่าวปลอม” พบ 10 อันดับ ข่าวที่ได้รับความสนใจมากสุด เกาะกลุ่มประเด็นเศรษฐกิจปากท้องและสุขภาพ   นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้ง “ข่าวปลอม” ประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 11-17 มี.ค. 2565 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม คัดกรองแล้วพบว่า มีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) จำนวน 230 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 113 เรื่อง  …

คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ทักษะที่จำเป็น บนโลกออนไลน์

Loading

  การรับมือข้อมูลหลอกลวงและข่าวปลอม ที่แชร์อยู่ในโลกออนไลน์นั้น เราต้องวิเคราะห์และตรวจสอบอย่างรอบคอบก่อนทุกครั้งที่จะแชร์ข่าวเท็จ หรือนำเสนอต่อบุคคลอื่น ในปัจจุบัน ในแต่ละนาทีมีข่าวสารที่เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งต่างกับอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อนอย่างสิ้นเชิง เราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทางและรวดเร็วมากกว่าในอดีต เช่น จากสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น ฯลฯ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับนั้นมาจากหลายแหล่งที่มา ทั้งจากแหล่งที่เชื่อถือได้และไม่น่าเชื่อถือ ผู้รับข่าวสารจำนวนมากอาจไม่สามารถวิเคราะห์และการกลั่นกรองข่าวสารที่ได้รับว่าจริงหรือปลอม จึงหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ รวมทั้งอาจมีส่วนร่วมในการสร้างความเสียหายให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยแชร์ข่าวเท็จหรือแบ่งปันข้อมูลเท็จที่ได้รับ การแชร์ข้อมูลเท็จที่ได้รับมานั้น สร้างความเสียหายและผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อมเกิดขึ้นต่อตัวบุคคลผู้แชร์ข้อมูล หรือผู้ที่ถูกกล่าวถึง ทำให้ความน่าเชื่อถือของตนเองลดลง รวมทั้งเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย ส่งผลให้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีและเสียค่าปรับต่างๆ หรือกระจายข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ส่งผลให้ผู้อื่นหลงกรอกข้อมูลหรือเป็นเหยื่อจากลิงก์หรือข่าวที่เราแชร์   ดังนั้น เราต้องมีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลว่า ข่าวปลอมนั้นมีลักษณะและมีช่องทางที่มาอย่างไร โดยทั่วไป ลักษณะและการหลอกลวงที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ มีดังนี้ 1.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเพิ่มองค์ประกอบเพื่อสร้างความน่าเชื่อ ประเด็นความน่าสนใจโดยส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเชิงลบ เพื่อสร้างกระแสและเป็นประเด็นในวงกว้าง และสร้างความอยากรู้อยากเห็นของคนทั่วไป เช่น “คิดอย่างไรกับสถานการณ์นี้” หรือ “พบสมุนไพรไทยช่วยต้านโควิด-19” 2.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นจะชักนำไปในเรื่องของความเชื่อเพื่อเล่นกับความรู้สึกของบุคคล เพราะโดยทั่วไปพฤติกรรมของคนมักแบ่งการรับรู้ออกเป็นสองด้าน เช่น ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร มีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ 3.เป็นข่าวที่มีผลกระทบกับความเชื่อมั่น แบ่งแยกมุมมองและสื่อสารไปกับเฉพาะกลุ่ม โดยเป็นข่าวสารหรือข้อมูลตามสถานการณ์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้น ซึ่งในบางครั้งอาจจะเป็นข่าวสารหรือข้อมูลเก่าที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วนำมาสร้างกระแสใหม่ เพื่อสร้างผลกระทบต่อคนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ อีกครั้ง…

ดีอีเอสเปิดรายชื่อ 7 หน่วยงานทำเวลาสกัดข่าวปลอมได้ภายใน 1 ชั่วโมง

Loading

  “ภุชพงค์” รองปลัดดีอีเอส อัปเดตความร่วมมือหน่วยงานรัฐในการเดินหน้าแก้ไขปัญหาเฟกนิวส์ เปิด 7 รายชื่อผลงานเด่น ใช้เวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง ยืนยันข้อเท็จจริงตอบกลับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวระหว่างเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้งานระบบสำหรับผู้ประสานงานการตรวจสอบข่าวปลอมเพื่อสร้างเครือข่ายผู้ปฏิบัติงาน และวิธีการแก้ไขปัญหาข่าวปลอม” วันนี้ (29 ก.ย.) ว่า กิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมอบรมกว่า 600 คน จากหน่วยงานจำนวนมากกว่า 300 แห่ง ครอบคลุมหน่วยงานราชการ องค์การมหาชน และบริษัทมหาชน โดยกระทรวงฯ และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ประสานงานเครือข่าย กลุ่มนิติกร ตลอดจนเครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจในกระบวนการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม บทบาท ขั้นตอนของผู้ประสานศูนย์ฯ ให้สามารถตรวจสอบและการแจ้งกลับมาผ่านศูนย์ฯ ตลอดจนการเผยแพร่ข่าวที่ถูกต้องตรวจสอบแล้วได้ ขณะที่จากการจัดอันดับ 10 หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือมากสุดกับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมในการตรวจสอบยืนยันข้อเท็จจริง ล่าสุด พบว่า ในจำนวนนี้มีอยู่ 7 หน่วยงาน ที่มีระยะเวลาในการตอบกลับโดยเฉลี่ยไม่ถึง 1 ชั่วโมง โดยหนึ่งในนี้คือ กรมประชาสัมพันธ์…

ระวัง!! หมอพร้อม ไม่มีเวอร์ชั่นเว็บไซต์ มีแต่แอปบนมือถือเท่านั้น หากกรอกข้อมูลบนเว็บคือเว็บปลอม!!

Loading

  ระวัง!! หมอพร้อม ไม่มีเวอร์ชั่นเว็บไซต์ สาธารณสุข เตือนประชาชน เว็บไซต์หมอพร้อม (หรือที่ขึ้นต้นด้วย w.w.w.หมอพร้อม) ไม่ใช่ของรัฐ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสาธารณสุข ใดๆทั้งสิ้น.. หมอพร้อมของแท้ จากทางกระทรวงสาธารณสุข จะใช้แอพ หมอพร้อม และทางไลน์ เท่านั้น ดังนั้น อย่าไปหลงเชื่อ,ไปให้ข้อมูลส่วนตัว หรือกดเข้าไปดูเด็ดขาด เพราะอาจจะสูญเสียข้อมูลสำคัญและทำให้มิจฉาชีพนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดได้   ระวัง!! หมอพร้อม ไม่มีเวอร์ชั่นเว็บไซต์ มีแต่แอปหรือบน LINE ผ่านมือถือเท่านั้น     จากกรณีการเผยแพร่ลิงก์เว็บไซต์ หมอพร้อม.com ทางกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบเว็บไซต์ดังกล่าวและชี้แจงว่า เว็บไซต์ชื่อ หมอพร้อม.com เป็นเว็บปลอม ไม่ใช่เว็บไซต์ที่กระทรวงสาธารณสุขพัฒนาขึ้นแต่อย่างใด และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเว็บดังกล่าว โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลการได้รับวัคซีนของประชาชน ภายใต้ชื่อ หมอพร้อม ซึ่งรองรับการใช้งานผ่าน Application หมอพร้อม และ Line หมอพร้อม เท่านั้น LINE OA…

สังคมโลก : ยุคเฟคนิวส์

Loading

  พรรคประชาธิปไตยเกาหลีหรือ ดีพีเค (DemocraticParty of Korea : DPK) พรรครัฐบาลเกาหลีใต้ ใกล้บรรลุเป้าหมายผลักดันกฎหมายสื่อสารมวลชนฉบับแก้ไขใหม่ ซึ่งมีเป้าหมายต่อสู้กับข่าวปลอมหรือข่าวบิดเบือน ที่กำลังสร้างความปั่นป่วน ในทุกภาคส่วนสังคมของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ร่างกฎหมาย Acton Press Arbitration and Remedies ผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว ของรัฐสภาเกาหลีใต้ เมื่อปลายเดือนก.ค. และผ่านขั้นกรรมาธิการ เมื่อวันที่ 25ส.ค. ที่ผ่านมา และคาดว่าจะผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมรัฐสภา ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้โดยสมบูรณ์ในอีกไม่นาน กฎหมายสื่อฉบับใหม่กำหนดบทลงโทษปรับหนักขึ้น 5 เท่า สำหรับความผิดฐานตีพิมพ์เผยแพร่รายงาน ที่เป็นเท็จหรือบิดเบือน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิของผู้เสียหาย หรือทำให้เกิดภาวะบีบคั้นทางจิตใจ ไม่ว่าการเผยแพร่จะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ยังกำหนดให้สำนักข่าวหรือองค์กรสื่อ รวมถึงเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ต้องแก้ไขความผิดพลาด หรือชี้แจงข้อเท็จจริงโดยระบุว่า เป็นการเผยแพร่โดยตั้งใจหรือ ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อย่างไรก็ตาม กฎหมายไม่ระบุชัดคำนิยามของ “ข้อมูลเท็จหรือบิดเบือน” นอกจากนั้น การกำหนดค่าเสียหายกฎหมายกำหนดให้ศาลพิจารณาจาก “อิทธิพลทางสังคม และยอดจำหน่าย” ขององค์กรสื่อ ซึ่งหมายความว่าหากเป็นหนังสือพิมพ์ สำนักข่าว สถานีโทรทัศน์…