เรียนรู้ที่จะอยู่กับเฟคนิวส์

Loading

  เฟคนิวส์ กับ สื่อดิจิตัล หรือสื่อโซเชียล สื่อออนไลน์ แล้วแต่จะเรียก ดูจะเป็นของคู่กัน ไม่ใช่ว่าสื่อยุคก่อนไม่มีเฟคนิวส์ จริงๆแล้วมีเช่นเดียวกัน แต่สื่อขณะนั้นเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ ที่ไม่รวดเร็ว กว้างไกล แบบสื่อดิจิตัล และสื่อพวกนี้มีจรรยาบรรณที่ยึดถือ “ เสรีภาพพร้อมความรับผิดชอบ” แต่โลกสมัยใหม่ที่คนสื่อสารผ่านสื่อดิจิตัล คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว กว้างขวาง และง่ายขึ้น ทุกคนมีสิทธิเข้าถึงสื่อดิจิตัล พร้อมเสรีภาพในการแสดงออก แต่ไม่เคยพูดถึงความรับผิดชอบ ปัจจุบัน ทั้งผู้ใหญ่และเด็กต่างก็มีโทรศัพท์มือถือที่ใช้ติดต่อถึงกันและรับข้อมูลข่าวสาร เฟคนิวส์จึงถูกใช้ผ่านสื่อนี้มากขึ้น   คำว่า “เฟค นิวส์” เราใช้เป็นคำรวมเรียกข่าวที่ไม่จริง ไม่ว่าจะเป็นข่าวปลอม ข่าวปล่อย ข่าวลวง ข่าวหลอก ข่าวลือ ฯลฯ สรุปแล้วคือข่าวที่ไม่จริงนั่นเอง หรือข่าวบิดเบือน หรือจริงบางส่วน เท็จบางส่วน คงไม่มีใครปล่อยข่าวเท็จทั้งหมดจนคนรู้ทัน คนที่ปล่อยเฟคนิวส์มีความมุ่งหมายที่จะทำให้คนเข้าใจผิดและกระทำการในสิ่งที่ตนต้องการ เช่น สร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง ก่อการจลาจล ต่อต้านรัฐบาล หลงด่ารัฐบาล หรือทำลายสถาบันหลักของชาติ ฯลฯ   สภาพสังคมไทยปัจจุบัน…

อินฟลูเอนเซอร์ฝรั่งเศสเผยถูกชักชวนแชร์ข่าวปลอมเรื่องวัคซีนไฟเซอร์ แลกเงินก้อนโต

Loading

  สำนักข่าวเอพี รายงานว่า เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ หรือ คนดังที่มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในฝรั่งเศส เปิดเผยว่า บริษัทโฆษณาลึกลับได้เสนอเงินก้อนหนึ่งแลกกับการเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกัคนดังที่มีอิทธิพลPfizerบข้อเสียของวัคซีนโควิด-19 จากบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ลีโอ กราสเซ็ต ยูทูบเบอร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งมีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคน เปิดเผยในวันอังคารว่า ตนได้รับข้อเสนอเป็นเงินก้อนใหญ่เพื่อให้เผยแพร่ข้อมูลว่า วัคซีนของไฟเซอร์สร้างความเสี่ยงถึงชีวิตแต่เจ้าหน้าที่รัฐบาลและสื่อกระแสหลักต่างพยายามปิดข่าวนี้ แต่ตนได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว ขณะที่อินฟลูเอนเซอร์ชาวฝรั่งเศสอีกหลายคนที่มีผู้ติดตามจำนวนมากในทวิตเตอร์ อินสตาแกรม และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ต่างเผยว่าได้รับข้อเสนอในลักษณะเดียวกัน กราสเซ็ต กล่าวว่า ผู้ที่ติดต่อตนมานั้นใช้ชื่อว่า แอนตัน (Anton) ซึ่งขอให้ตนจัดทำวิดีโอความยาว 45 – 60 วินาทีเพื่อโพสต์ทางอินสตาแกรม ยูทูบ และติกต็อก โดยให้บอกว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ฉีดวัคซีนจากบริษัทไฟเซอร์ สูงกว่าวัคซีนของบริษัทแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ถึงสามเท่า พร้อมให้กล่าวหาว่าเป็นความผิดของสหภาพยุโรปที่สั่งซื้อวัคซีนของไฟเซอร์จำนวนมาก ทั้งที่เป็นวัคซีนที่ผูกขาดและเป็นอันตราย แอนตันยังบอกด้วยว่าตนทำงานให้กับบริษัทโฆษณาชื่อ Fazze ซึ่งมีงบประมาณจำนวนมากสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 รวมทั้งวัคซีนของบริษัทต่าง ๆ ที่ผ่านการรับรองให้ใช้ในยุโรป แต่กราสเซ็ต บอกว่าตนได้ตอบปฏิเสธไปทางอีเมล์พร้อมทั้งได้แสดงหลักฐานเป็นอีเมล์ตอบโต้กับแอนตันให้ทางสำนักข่าวเอพีดูด้วย อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวเอพีระบุว่า เว็บไซต์ของบริษัท Fazze…

สกัดข่าวปลอม Google สร้างเครื่องมือใหม่ ให้ผู้ใช้ร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง

Loading

  Google สร้างเครื่องมือใหม่ ให้ผู้ใช้ร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง   ผลกระทบจากข่าวปลอมบนเว็บไซต์และโซเชียล ทำให้ Google ในฐานะผู้นำ Search engine ออกมาพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยผู้ใช้ตรวจสอบ Fake news หรือข่าวลวงบนออนไลน์ที่เปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วมแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากเรื่องที่แต่งขึ้นได้ ล่าสุด Google ได้แบ่งปันเคล็ดลับในการตรวจสอบข้อมูลที่เป็นเท็จ ที่เปิดให้ทุกคนเข้าถึงได้ ผ่านโครงการ GNI University Verification Challenge ร่วมกับนักศึกษาวารสารศาสตร์ทั่วเอเชีย รวมถึงสำนักข่าวต่างๆ พร้อมเผยเคล็ดลับสังเกตข้อมูลปลอม ข่าวลวงบนโซเชียล แบบง่ายๆ ที่ทำได้เอง ผ่าน 5 เครื่องมือนี้   1. ตรวจสอบข้อเท็จด้วย Fact Check Explorer หากไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่ถูกส่งต่อกันมาบนโซเชียลเป็นเรื่องจริงหรือจ้อจี้ ให้ลองค้นหาด้วย Fact Check Explorer เครื่องมือตรวจสอบข้อเท็จจริง มากกว่า 100,000 รายการ จากผู้เผยแพร่ที่เชื่อถือได้ทั่วโลก แค่เข้าไปเช็คที่ Fact Check Explorer https://toolbox.google.com/factcheck/explorer  …

“ดีอีเอส” จ่อ ออกร่างประกาศกระทรวงฯ แก้ปัญหาข้อมูลเท็จท่วมโซเชียล

Loading

  “ชัยวุฒิ” รมว.ดีอีเอส เรียกประชุม คกก.ป้องกันฯ การเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางโซเชียลฯ นัดแรก ไฟเขียว เตรียมออกร่างประกาศกระทรวงฯ หลักเกณฑ์เก็บ Log files หนุน พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ตามทันยุคโซเชียล วันที่ 20 พ.ค. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า วันนี้ (20 พ.ค.64) ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ ครั้งที่ 1/2564 โดยที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานด้านการปรับปรุงกฎหมายลำดับรองตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อปรับปรุงประกาศกระทรวงฯ ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ใช้บังคับมานานเพื่อให้ทันสมัย สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่เป็นสากล และสามารถพิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานทั้งในโซเชียลมีเดีย และดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ โดยคณะทำงานอยู่ระหว่างการพิจารณา (ร่าง) ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่องหลักเกณฑ์การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. …. และแนวทางการกำกับดูแลและการลงทะเบียนผู้ใช้งาน Social Media โดยดูจากแนวทางของต่างประเทศเป็นต้นแบบ คาดว่า จะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายนนี้ และจะรับฟังความคิดเห็น จากผู้เกี่ยวข้องต่อไป สำหรับสรุปผลการดำเนินงานด้านการป้องกันปราบปรามของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม…

ฮ่องกงเอาจริง หาช่องสู้เฟกนิวส์

Loading

  นางแคร์รี แลม ผู้บริหารเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของจีนกล่าวในการแถลงข่าววันที่ 4 พ.ค.ว่ากำลังดำเนินการออกกฎหมายว่าด้วยข่าวลวง เพื่อจัดการกับข้อมูลอันเป็นเท็จ ข้อมูลที่สร้างความเกลียดชังและการโกหกภายใต้ทิศทางของรัฐบาลจีน ฮ่องกงบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับสมบูรณ์ในปี 2563 พร้อมยังผลักดันให้ผู้รักชาติได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในการบริหารฮ่องกง การยกเครื่องสถานีวิทยุโทรทัศน์ฮ่องกง (RTHK) ครั้งใหญ่ ซึ่งเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร โดยแต่งตั้งข้าราชการใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ด้านสื่อสารมวลชนถูกมองว่าเป็นสัญญาณว่ารัฐบาลจะควบคุมสื่อในไม่ช้า และจะตามมาด้วยภาคส่วนอื่นเช่นการศึกษา โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาข้อมูลว่ารัฐบาลต่างๆ จัดการกับประเด็นนี้อย่างไร โดยยืนยันจะจัดการอย่างจริงจังเพราะข่าวลวงสร้างความเสียหายกับคนจำนวนมาก โดยยังไม่มีกรอบเวลาในการออกกฎหมาย.   ————————————————————————————————————————————– ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์    / วันที่เผยแพร่  5 พ.ค.2564 Link : https://www.thairath.co.th/news/foreign/2084413?utm_source=PANORAMA_TOPIC

ออสเตรเลียปะทะจีน กรณีโพสต์ปลอมประเด็นอาชญากรรมสงคราม

Loading

Scott Morrison headshot, as Australia Prime Minister, graphic element on gray ความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียและจีนตึงเครียดขึ้น หลังรัฐบาลกรุงปักกิ่งทวีตข้อความพร้อมภาพที่กล่าวหาว่าอีกฝ่ายก่ออาชญากรรมสงครามในอัฟกานิสถาน นายกรัฐมนตรี สก็อตต์ มอร์ริสัน แห่งออสเตรเลีย เรียกร้องให้รัฐบาลจีนลบทวีตและภาพที่ถูกตัดต่อให้ดูเหมือนว่า นายทหารออสเตรเลียรายหนึ่งทำการฆาตกรรมเด็กคนหนึ่งในอัฟกานิสถาน หลังจากที่มีรายงานออกมาเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า กองกำลังพิเศษของออสเตรเลียได้ทำการสังหารผู้คนไปอย่างน้อย 39 รายในประเทศตะวันออกกลางนี้อย่างผิดกฎหมาย รายงานข่าวระบุว่า จ้าว ลี่เจียน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนเป็นผู้โพสต์ภาพดังกล่าวพร้อมข้อความที่ระบุว่า “ไม่ต้องกลัว เรามาเพื่อมอบสันติให้ท่าน” สื่อออสเตรเลียรายงานว่า ข้อความและภาพที่ทวีตออกมานี้เป็นการอ้างอิงมาจากข่าวลือที่ไม่มูลและกล่าวหาว่า กองกำลังทหารของออสเตรเลียใช้มีดสังหารวัยรุ่นชาวอัฟกัน 2 ราย ขณะที่ การสอบสวนกรณีนี้ไม่พบหลักฐานว่าเกิดเหตุเช่นนั้นเลย อย่างไรก็ดี การสอบสวนชี้ว่า มี “หลักฐานที่เชื่อถือได้” ว่า กองกำลังออสเตรเลียทำการสังหารผู้คนอย่างผิดกฎหมายจริงในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2005 และ 2016 Chinese Foreign Ministry spokesman Zhao Lijian attends a news…