บริษัทเทคโนโลยีสร้างเครื่องมือช่วยผู้รับข่าวแยกแยะข้อเท็จจริงจากข้อมูลบิดเบือน

Loading

Manchetes africanas 2 abril: Twitter e Facebook querem combater “fake news” sobre Covid-19 ในยุคที่ข่าวสารข้อมูลต่างๆ ดูเหมือนจะท่วมท้นจากแหล่งที่หลากหลายโดยเฉพาะจากสื่อออนไลน์และจากการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาดบิดเบือนทั้งจากเจตนาหรือจากความไม่จงใจก็ตาม การหาข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือได้จึงเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น ดังที่คุณจอห์น เกเบิ้ล ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของเว็บไซต์ Allsides.com ได้ตั้งข้อสังเกตว่าโดยธรรมชาติแล้วเราทุกคนล้วนมีอคติหรือความลำเอียงอยู่ในตัว คือมีความโน้มเอียงที่จะคิดหรือเชื่อตามข้อมูลที่ได้รับ ตามประสบการณ์ที่เคยสัมผัส และจากการตีความทำความเข้าใจเรื่องต่างๆ รวมทั้งจากสิ่งที่เราอาจไม่รู้หรือไม่เข้าใจด้วย และเรื่องนี้จะยิ่งเป็นปัญหาโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สำคัญหรือสำหรับเรื่องสำคัญบางอย่างซึ่งมีข่าวสารข้อมูลให้เลือกมากมายและบางครั้งข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ถูกต้องเสมอไปไม่ว่าจะเป็นผลจากเจตนาการเผยแพร่ข้อมูลที่ปิดเบือนหรือก็ตาม คุณจอห์น แซนด์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเรียนรู้และผลกระทบของ Knight Foundation ชี้ว่าในขณะนี้ 80% ของคนอเมริกันมีความกังวลว่าข้อมูลที่ถูกบิดเบือนจะส่งผลต่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นได้ และจากปัญหาซึ่งมาจากข่าวปลอมหรือจากการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนหรือแม้กระทั่งข้อมูลที่จงใจถูกเลือกมาอย่างไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่ตรงกับบริบทที่ควรจะเป็นนั้น ขณะนี้ก็มีธุรกิจด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ อย่างน้อยสองรายที่พยายามให้เครื่องมือเพื่อช่วยให้ผู้รับสารสามารถเปรียบเทียบและแยกแยะข้อมูลเหล่านี้ได้ดีขึ้น คุณฮาร์ลีน คอร์ ซีอีโอของ Ground News เป็นตัวอย่างหนึ่งของความพยายามช่วยให้ผู้รับข่าวสารตัดสินใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นถูกต้องหรือถูกบิดเบือนหรือไม่ โดย Ground News เป็นแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์ที่อาจจะเรียกว่าเป็นแพลตฟอร์มแห่งแรกของโลกซึ่งช่วยเปรียบเทียบเนื้อหาของการรายงานข่าวด้วยการประมวลแหล่งที่มาของการรายงานเรื่องเดียวกันให้ผู้รับสารได้เปรียบเทียบ ทั้งยังมีการจำแนกและระบุจุดยืนของแต่ละสื่อให้ผู้รับสารได้พิจารณาประกอบด้วยตั้งแต่แนวซ้ายจัดจนถึงขวาจัด ตัวอย่างเช่น Ground News จัดให้นิตยสาร The New Yorker…

แก้ไขปัญหา “ข่าวปลอม” ต้องทำให้ถูกวิธี

Loading

Written by Kim บริษัทผู้ประกอบธุรกิจสื่อสังคม (social media) ของสหรัฐฯถูกกดดันอย่างหนักให้ดำเนินการบางอย่างเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิด (misinformation)[1] บนแพลตฟอร์มของพวกเขา ตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2016  บริษัท Facebook และ YouTube ตอบสนองด้วยการใช้กลยุทธ์ “ต่อต้านข่าวปลอม” ซึ่งดูเหมือนจะมีประสิทธิภาพพร้อมกับการเคลื่อนไหวประชาสัมพันธ์อย่างชาญฉลาด: ทั้งสองบริษัทแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเต็มใจที่จะดำเนินการและนโยบายดังกล่าวมีความสมเหตุสมผลต่อสาธารณะ[2]           กลยุทธ์ที่ฟังดูสมเหตุสมผลมิได้หมายความว่าจะใช้การได้ แม้แพลตฟอร์มต่าง ๆ กำลังมีความก้าวหน้าในการต่อสู้กับข้อมูลที่ผิด แต่การวิจัยเมื่อไม่นานมานี้โดยผู้เขียนทั้งสองและนักวิชาการคนอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่า กลยุทธ์หลายอย่างของพวกเขาอาจไม่มีประสิทธิภาพ – และทำให้เรื่องราวเลวร้ายลง นำไปสู่ความสับสน ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความจริง (truth) บริษัทสื่อสังคมจำเป็นต้องตรวจสอบให้เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า ข้อกังวลที่เกิดขึ้นในการทดลองเหล่านี้ตรงประเด็นกับวิธีการที่ผู้ใช้ประมวลข่าวสารบนแพลตฟอร์มของพวกเขาหรือไม่           แพลตฟอร์มต่าง ๆ ใช้กลยุทธ์ให้ข้อมูลข่าวสาร (information) เพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งที่มาของข่าว (news’s source) โดย YouTube มีกล่องข้อความ (information panel) ปรากฎขึ้นเพื่อแจ้งผู้ใช้เมื่อมีการสืบค้นเนื้อหาที่ผลิตโดยองค์กรที่ได้รับทุนจากรัฐบาลหรือหัวข้อซึ่งก่อให้เกิดการโต้แย้ง ส่วน Facebook มีตัวเลือกบริบท (context) ที่ให้ข้อมูลภูมิหลังเกี่ยวกับแหล่งที่มาของบทความในแหล่งป้อนข่าว (news feed)[3] กลยุทธ์หรือชั้นเชิงประเภทนี้เข้าใจได้ง่ายเพราะเป็นแหล่งข่าวจากสำนักพิมพ์กระแสหลัก ซึ่งได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี แม้ยังไม่สมบูรณ์มากนัก แต่ก็มีมาตรฐานการบรรณาธิการ (แก้ไข) และการรายงานที่ดีกว่าเว็บไซต์ที่คลุมเครือ ซึ่งถักทอ (ผลิต) เนื้อหาโดยไม่เปิดเผยคุณลัษณะของผู้เขียน           การวิจัยล่าสุดของผู้เขียนทั้งสองทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของวิธีการประเภทนี้ ผู้เขียนทั้งสองได้ทำการทดลองกับชาวอเมริกันเกือบ 7,000…

อังกฤษเรียกข่าวโควิด-19 ระบาดมากับ 5G “ข่าวปลอมไร้สาระแต่อันตราย!”

Loading

ทางการอังกฤษระบุว่า ข่าวลือในลักษณะทฤษฎีสมคบคิด ที่ระบุว่าเครือข่ายโทรคมนาคมความเร็วสูง 5G มีความเกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 นั้น เป็นข่าวปลอม และเป็นอันตรายอย่างยิ่ง รัฐมนตรีประจำคณะรัฐบาลอังกฤษ ไมเคิล โกว์ฟ กล่าวว่า ข่าวดังกล่าวไร้สาระ แต่ก็มีอันตรายแฝงมาด้วย หลังจากที่มีเสาส่งสัญญาณ 5G บางแห่งถูกเผาและทำลาย ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา และพนักงานของบริษัทโทรคมนาคมบางแห่งถูกข่มขู่คุกคาม ในแถบตอนกลางและตอนเหนือของอังกฤษ ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ เสาส่งสัญญาณแห่งหนึ่งที่เมืองเบอร์มิงแฮม ของบริษัท BT ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของอังกฤษ ถูกเผาเสียหายเมื่อไม่กี่วันก่อน หลังจากมีข่าวลือแพร่สะพัดว่า เชื้อโควิด-19 อาจเกี่ยวข้องกับสัญญาณอินเทอร์เน็ต 5G แม้ว่าเสาดังกล่าวที่ถูกเผาจะส่งสัญญาณเฉพาะ 2G 3G 4G แต่ไม่ใช่ 5G ก็ตาม ผอ.สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษ กล่าวว่า ข่าวปลอมที่ว่านี้ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ มารองรับ แต่กลับมีคนเชื่อจริงจัง และสร้างปัญหาต่อระบบสื่อสารในยามที่ต้องการใช้เพื่อติดต่อกรณีเร่งด่วน ซึ่งรวมถึง เครือข่ายโทรศัพท์ที่บรรดาเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินและบุคลากรทางการแพทย์ต้องใช้ในช่วงที่กำลังเิกดการระบาดของโคโรนาไวรัสในขณะนี้ด้วย ————————————————- ที่มา : VOA Thai / 6 เมษายน 2563…

รัฐบาลควรแจ้งจุดเสี่ยงต่อโควิด-19 เพื่อลดเฟคนิวส์ ลดความตื่นตระหนกของประชาชน

Loading

ความวุ่นวายในสัปดาห์นี้สำหรับวิกฤตการระบาดโควิด-19 ในประเทศไทยก็คือ เมื่อกระทรวงสาธารณสุข ออกมาแถลงประจำวันต่อความคืบหน้าของสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย แล้วไม่ยอมระบุจุดที่มีการติดเชื้อว่าเกิดขึ้นที่ไหน ยกตัวอย่างเมื่อวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งพบผู้ป่วยเพิ่ม 6 ราย มี 2 รายเป็นเจ้าหน้าที่ในสนามบินสุวรรณภูมิ ในขณะที่อีก 4 รายไม่ระบุพิกัด (คนหนึ่งบอกแต่เพียงว่าเป็นชายชาวสิงคโปร์ เจ้าของร้านอาหารในกรุงเทพฯ) ซึ่งหลังจากนั้น ในโซเชียลมีเดียก็ว่อนไปด้วยข้อมูลข่าวสารการปิดอาคาร สำนักงาน ห้างร้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตึก All Season ธนาคาร TMB สาขาราชปรารภ หรือประกาศจาก SCG มาบตาพุด และอื่นๆ อีกมากมาย (ซึ่งบางประกาศไม่ได้ระบุโดยตรงว่าพนักงานหรือบุคคลในนั้นติดเชื้อ) ทั้งที่เป็นประกาศอย่างเป็นทางการจากภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานที่หรือบริษัทนั้นๆ และข่าวจากบุคคลทั่วไป เช่นเดียวกันกับในวันที่ 12 มีนาคม ที่กระทรวงสาธารณสุขแถลงความคืบหน้าสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 11 ราย จากการตรวจสอบพบว่า มีการดื่มเหล้าแก้วเดียวกัน สูบบุหรี่มวนเดียวกัน และพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งก่อนหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขจะแถลง ก็มีข่าวว่อนในโซเชียลมีเดียแล้วว่า กลุ่มคนที่ติดเชื้อเหล้านั้น ติดเชื้อมาจากการไปเที่ยวร้านเหล้าที่ทองหล่อ หลังจากการแถลงของกระทรวงสาธารณสุข…

รัสเซียตอกสหรัฐ กล่าวหาตั้งบัญชีปลอมปั่นข่าวโควิด-19

Loading

แฟ้มภาพ ตำรวจรัสเซียเดินตรวจตราที่จัตุรัสแดงในกรุงมอสโก กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียตอกกลับสหรัฐจงใจให้ข้อมูลเท็จ ด้วยการกล่าวหาว่ารัสเซียอยู่เบื้องหลังขบวนการปล่อยข่าวปลอม รวมถึงกระพือทฤษฎีสมคบคิดว่าไวรัสโควิด-19 เป็นอาวุธชีวภาพของสหรัฐเพื่อโจมตีจีนและทำลายภาพลักษณ์ของสหรัฐในสายตาชาวโลก รายงานเอเอฟพีเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 กล่าวว่า การตอบโต้ของกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียมีออกมาภายหลังเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐกล่าวโทษรัสเซียว่าเกี่ยวโยงกับบัญชีโซเชียลมีเดียปลอมหลายพันบัญชี ทั้งทวิตเตอร์, เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม ในภาษาต่างๆ ที่พยายามเผยแพร่คำเตือนเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ข้อมูลที่สื่อออกมาต้องการทำลายภาพลักษณ์ของสหรัฐ แต่กำลังส่งผลกระทบต่อความพยายามต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสนี้ทั่วโลก ฟิลิป รีกเกอร์ รักษาการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐด้านยุโรปและยูเรเซีย กล่าวว่า เจตนาของรัสเซียคือการหว่านความบาดหมางและบ่อนทำลายสถาบันและพันธมิตรของสหรัฐจากภายใน รวมถึงผ่านการรณรงค์โน้มน้าวใส่ร้ายแบบซ่อนเร้นและบีบบังคับ ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับไวรัสโคโรนา รายงานของสหรัฐกล่าวว่า คำกล่าวหาที่แพร่สะพัดทางออนไลน์เมื่อไม่สัปดาห์ที่แล้วมา รวมถึงคำกล่าวหาที่ว่า ไวรัสโคโรนาเป็นแผนการของสหรัฐเพื่อทำสงครามเศรษฐกิจกับจีน, ไวรัสนี้เป็นอาวุธชีวภาพที่ผลิตโดยซีไอเอ หรือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่โลกตะวันตกเป็นผู้นำในการผลักดันสารต่อต้านจีน แม้แต่ปัจเจกชนที่เป็นอเมริกัน อาทิ บิล เกตส์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ที่บริจาคเงินหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อโครงการสุขภาพทั่วโลก ก็ยังถูกกล่าวหาผิดๆ ว่าเกี่ยวข้องกับไวรัสนี้ด้วย เมื่อวันเสาร์ สำนักข่าวทาสส์ของทางการรัสเซีย อ้างคำกล่าวมาเรีย ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ปฏิเสธคำกล่าวหาของสหรัฐ โดยระบุว่า เป็นการให้ข่าวเท็จโดยเจตนา เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐที่เฝ้าสังเกตความเคลื่อนไหวทางออนไลน์ตรวจพบการรณรงค์ให้ข้อมูลเท็จตั้งแต่กลางเดือนมกราคม ภายหลังทางการจีนประกาศว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยไวรัสโคโรนาที่อู่ฮั่นเป็นรายที่ 3 เอเอฟพีอ้างรายงานฉบับหนึ่งที่จัดเตรียมสำหรับศูนย์ความเกี่ยวพันทั่วโลกของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐว่า บัญชีออนไลน์หลายพันบัญชี ที่ก่อนหน้านี้เคยเผยแพร่ข้อความสนับสนุนรัสเซียในเหตุการณ์ใหญ่ๆ เช่นสงครามในซีเรีย,…

โซเชียลมีเดีย สื่อป่วนโลก : เฟค นิวส์ ข่าวป่วนเมือง

Loading

วิกฤติไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเชื่อว่า ต้นตอของเชื้อโรคมาจากสัตว์ได้สร้างความตื่นตระหนกและเชื้อโรคได้ลุกลามไปหลายประเทศจนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศทำให้ประชาชนทั้งโลกต่างอยู่ในภาวะเตรียมรับมือและหาวิธีป้องกันตัวเอง รวมทั้งหามาตรการยับยั้งการแพร่กระจายของโรคอย่างเข้มข้น สิ่งที่แพร่ออกไปพร้อมๆกันกับเชื้อไวรัสโคโรน่าคือ ข่าวปลอม ที่ถูกสร้างด้วยน้ำมือของมนุษย์เอง ซึ่งไม่เพียงสร้างความสับสนวุ่นวายต่อสังคมและรัฐบาลของประเทศที่ได้รับผลกระทบแล้วยังเป็นการเพิ่มภาระให้กับภาครัฐที่ต้องมานั่งแถลงข่าวการจับผู้ปล่อยข่าวปลอมไม่เว้นแต่ละวันต้องเสียเงินเสียทอง เสียเวลาแก้ข่าวและบั่นทอนความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาของภาครัฐอยู่ไม่น้อย ข่าวปลอมจากโซเชียลมีเดีย มิใช่เกิดเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น การปล่อยข่าวปลอมผ่านสื่อโซเชียลเกิดขึ้นกับหลายประเทศในโลกและเกิดขึ้นได้ในทุกสถานการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีความอ่อนไหวต่อการเกิดความรุนแรง เพราะข่าวปลอมสามารถทำให้คนบริสุทธิ์ต้องสังเวยชีวิตดังที่เกิดขึ้นมาแล้วในประเทศอินเดียซึ่งมีผู้ถูกรุมประชาทัณฑ์จนเสียชีวิตจากข่าวลือผ่านโซเชียลมีเดียและมีผู้ถูกเผาทั้งเป็นจากการเผยแพร่ข่าวลือผ่านโซเชียลมีเดียในประเทศเม็กซิโก เป็นต้น ในช่วงที่ไวรัสโคโรน่ากำลังแพร่ระบาดมีการเผยแพร่ข่าวปลอมผ่านสื่อโซเชียลต่างๆในประเทศไทยจำนวนมาก เป็นต้นว่า ข่าวการเดินทางของคนจีน 5 ล้านคนมายังประเทศไทยที่มีสื่อนำเสนอและเผยแพร่ต่อทางโซเชียลมีเดีย การแพร่ข่าวการติดเชื้อของผู้คนตามสถานที่ต่างๆโดยคิดเอาเองว่า เป็นความจริงหรือแชร์ต่อจากเพื่อน การแพร่ข่าวตลาดที่เชื่อว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค ข่าวและรูปแสดงการกินสัตว์แปลกๆ หรือแม้แต่การแนะนำให้กินสมุนไพรเพื่อรักษาอาการติดเชื้อไวรัส ซึ่งข่าวสารเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข่าวปั้นน้ำเป็นตัวที่มาจากโซเชียลมีเดียทั้งสิ้น ข่าวปลอมที่ถูกแพร่ออกมาจากโซเชียลมีเดียในขณะที่โลกอยู่ในภาวะวิกฤติได้สร้างความแตกตื่น รวมทั้งสร้างความเชื่อที่ผิดต่างๆแก่ผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่ผู้คนยังขาดความรู้ ขาดวิจารณญาณและใช้สื่อโซเชียลด้วยความคึกคะนองหรือต้องการสร้างเครดิตจากยอดไลค์แก่ตัวเองโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา ยิ่งจะทวีความสับสนให้กับผู้คนที่บริโภคข่าวผ่านโซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดาย โซเชียลมีเดียจึงเป็นสื่อตัวแม่ที่ช่วยกระพือข่าวปลอมไปยังทุกมุมโลกด้วยระยะเวลาเพียงแค่เสี้ยววินาที สิ่งน่ารังเกียจเป็นอย่างยิ่งที่ไม่น่าเกิดขึ้นในสถานการณ์วิกฤติก็คือ การใช้โซเชียลมีเดียเพื่อหวังผลทางการเมือง ทั้งจากตัวนักการเมืองเองและพลพรรคที่สนับสนุนกลุ่มการเมืองโดยใช้ความมีชื่อเสียงของตัวเองในการเผยแพร่ข่าว ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่าความเห็นที่ไร้ความสร้างสรรค์ต่างๆจะออกมาจากปากของนักการเมืองที่มักถูกเรียกว่า ผู้ทรงเกียรติและชอบอ้างตัวเองอยู่เสมอว่ามาจากประชาชน เพราะแทนที่นักการเมืองเหล่านี้จะให้คำแนะนำที่สร้างสรรค์หรือให้กำลังใจต่อรัฐบาลหรือประชาชน แต่กลับเพิ่มความเลวร้ายของสถานการณ์ให้มากขึ้นไปอีกด้วยการฉกฉวยสถานการณ์ปล่อยข่าวด้านลบเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและพรรคพวก ซึ่งในที่สุดจะไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายใดเลย เพราะนอกจากการกระทำดังกล่าวจะประจานความไม่เอาไหนของตัวเองแล้วยังบั่นทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลภายใต้สถานการณ์อ่อนไหว รวมถึงลดทอนความน่าเชื่อถือของสถาบันผู้แทนราษฎรของประเทศไทยอีกด้วย ไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่โซเชียลมีเดียถูกนำมาใช้ในการเผยแพร่ข่าวปลอมในภาวะวิกฤติ ประเทศต่างๆล้วนแต่เผชิญปัญหาการเผยแพร่ข่าวปลอมไม่แพ้กัน เป็นต้นว่า พม่าประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของเรากำลังผจญกับปัญหาข่าวปลอมจากสื่อโซเชียลอยู่เช่นกัน ด้วยความเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกับจีนจึงทำให้ผู้คนในพม่าสนใจเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรน่าเป็นพิเศษและมีการเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับการรักษาไวรัสโคโรน่ากันอย่างกว้างขวาง เช่น การแพร่ข่าวว่าหัวหอมมีสรรพคุณช่วยป้องกันไวรัสได้ เพราะพบว่า มีคนป่วยใกล้ตายนำหัวหอมวางไว้ใกล้ตัวขณะนอนแล้วเห็นผลในการรักษาหรือการแพร่ข่าวว่าการดื่มสุราสามารถป้องกันไวรัสโคโรนาได้ เป็นต้น การระบาดของข่าวปลอมไม่ได้สร้างความเสียหายต่อมนุษย์เฉพาะในยุคของการเบ่งบานของข้อมูลข่าวสารเช่นในปัจจุบันเท่านั้น ในยุคที่มนุษย์เริ่มใช้เครื่องพิมพ์เมื่อหลายร้อยปีก่อน มีการเผยแพร่ข่าวสารที่ผิดๆและสร้างความหายนะให้กับมนุษย์ผู้บริสุทธิ์อย่างมากมาย เพราะทันทีที่การพิมพ์ได้เริ่มขึ้นปัญหาความขัดแย้งก็เริ่มปรากฏในชั่วเวลาไม่นาน การแพร่กระจายของสิ่งพิมพ์ นอกจากจะทำให้ความรู้ของผู้คนเพิ่มอย่างรวดเร็วแล้ว การเผยแพร่สิ่งพิมพ์ได้นำไปสู่เหตุการณ์น่าเศร้าสลด…