ว่าด้วย Fake News 2

Loading

การโพสต์ภาพพร้อมข้อความจากเพจ DAYRAJCHANSHARE ว่า นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ปลอมใบ สด.9 (ใบสำคัญทหารกองเกิน) ระบุว่า “โป๊ะแตก ธนาธร สด.9 ปลอม ลองไปตรวจสอบว่า สำเนาใบ สด.9 ที่ไอ้ตี๋ให้ใว้กับกองหนังสือเดินทาง ตอนทำพาสสปอร์ตนั้น มีต้นขั้วหรือเปล่า”  ต่อมาผู้บัญชาการทหารบกได้ยืนยันข้อเท็จจริง กรณีนี้จึงกลายเป็นการแพร่กระจาย Fake News ในสื่อสังคมออนไลน์ เป็นรูปแบบ mal-information คือเป็นข่าวสารลวงที่สร้างขึ้นจากข้อมูลจริงบางส่วน โดยจงใจนำมาใช้ใส่ร้าย โจมตี สร้างความเสียหาย หรือทำลายฝ่ายที่ตกเป็นเป้าหมาย เมื่อนำความเป็น Fake News ที่ประจักษ์ชัดจากเพจดังกล่าวมาพิจารณาเปรียบเทียบว่าละเมิดหรือไม่ต่อกฎหมายและระเบียบราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งกับการรักษาความปลอดภัยของทางราชการและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนขัดกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560  ดังนี้ จึงขอเสนอข้อสังเกตโดยเรียงตามลำดับประโยคเฉพาะย่อหน้าแรกที่เพจ DAYRAJCHANSHARE เผยแพร่ไว้ เนื้อความแรก คือ “โป๊ะแตก ธนาธร สด.9 ปลอม” เห็นว่าจงใจแพร่กระจายข้อมูลเป็นสาธารณะบนสื่อสังคมออนไลน์ โดยเสนอให้ผู้รับรู้ข้อมูลพิจารณาความน่าเชื่อถือเอาเอง  แต่ด้วย สด.9…

ว่าด้วย Fake News

Loading

  Fake News เป็นศัพท์นิยมขณะนี้เกี่ยวกับพฤติกรรมใส่ร้ายหรือหลอกลวงด้วยข่าวสาร การรายงานหรือนำเสนอด้วยข้อมูลเท็จ หรือการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารสำหรับใช้โจมตีหรือทำลายฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะกระทำเป็นการเฉพาะเจาะจงที่ตัวบุคคล กลุ่มบุคคล หรือมุ่งให้เกิดความล่มสลายต่อเนื่องแบบโดมิโนในระบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรือการทหารก็ได้ ในอดีตการสร้างเรื่องราวใส่ร้ายหรือการหลอกลวงด้วยข้อมูลข่าวสารเสมือนจริงเช่นเดียวกับ Fake News คือ การบ่อนทำลาย ซึ่งนับเป็นวิธีที่ยากลำบากต่อการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยหรือคุ้มครองป้องกัน แต่มีจุดอ่อนที่ต้องดำเนินการด้วยระยะเวลายาวนาน ที่อาจเป็นเหตุให้บรรดาเป้าหมายตรวจสอบพบก่อนที่การบ่อนทำลายจะบรรลุผล     ปัจจุบันการคุ้มครอง ป้องกัน และเผชิญกับ Fake News นับเป็นความยากลำบากที่ยิ่งทวีมากขึ้น เนื่องมาจากการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารผ่านระบบเทคโนโลยีการสื่อสารในขณะนี้เป็นไปอย่างไร้ขอบเขตและรวดเร็ว ถึงแม้นานาประเทศพยายามที่จะให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อให้แยกแยะและต่อต้าน Fake News ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเท็จ ข่าวสารลวง และข้อมูลข่าวสารที่ถูกบิดเบือนเหล่านั้น อย่างเช่น องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จัดทำ “Journalism, ‘Fake News’ and Disinformation” และเผยแพร่รายละเอียดผ่านทาง https://en.unesco.org คู่มือของ UNESCO ดังกล่าวนำเสนอข้อมูลและแนวการอบรมสำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเข้ามาศึกษา ฝึกอบรม ประกอบการเรียนการสอน…